ธนาคารนครหลวงไทย
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (Siam City Bank Public Company Limited (SCIB)) เป็นอดีตธนาคารไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ในชื่อ "ธนาคารนครหลวงแห่งประเทศไทย"[1] โดยคณะบุคคลของรัฐบาลร่วมกับสมาชิกในราชวงศ์ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1,000,000 บาท มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทย มีตราสัญลักษณ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นรูป “พระมหามงกุฎ” ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ธนาคารนครหลวงไทย" จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนใช้ชื่อว่า "ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)" เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2537 และใช้ชื่อนี้ต่อมาจนควบรวมกับธนาคารธนชาตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ก่อตั้ง | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 |
---|---|
เลิกกิจการ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (70 ปี) |
สาเหตุ | รวมกิจการเข้ากับธนาคารธนชาต (ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทยธนชาต) |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 1101 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร |
เว็บไซต์ | www.scib.co.th |
ธนาคารนครหลวงไทย มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทย กระทั่งวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นเหลือต่ำกว่าร้อยละ 50 จึงมีผลให้ธนาคารนครหลวงไทย พ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ[2]
การควบรวมกิจการธนาคารศรีนคร
แก้ภายหลังการควบรวมกับธนาคารศรีนครในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545[3] ธนาคารได้นำหุ้นกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ธนาคารมีขนาดของสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ธนาคารมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 21,128 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมจำนวน 410,132 ล้านบาท สินเชื่อจำนวน 255,693 ล้านบาท เงินฝากจำนวน 340,039 ล้านบาท มีจำนวนพนักงาน 6,956 คน และสาขา 405 สาขาทั่วประเทศ มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 47.58 % ส่วนที่เหลืออีก 52.42 % เป็น Free Float ในตลาด หุ้นของธนาคารมีมูลค่าตลาดเท่ากับ 32,115 ล้านบาท
การขายกิจการ
แก้วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ขายหุ้นธนาคารที่ถืออยู่ ทั้งหมดให้กับ ธนาคารธนชาต จำนวน 1,005.33 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 47.58 ของหุ้นที่ออกจำหน่าย และเรียกชำระแล้ว และต่อมาธนาคารธนชาตได้เข้าซื้อหุ้นจากการทำคำเสนอซื้อเพิ่มเติม อีกจำนวน 1,106.35 ล้านหุ้น ทำให้ธนาคารธนชาตเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีสัดส่วน การถือหุ้นในธนาคารทั้งสิ้น 2,111.68 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 99.95 ของจำนวนหุ้น ทั้งหมด เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ธนาคารได้ถอนหุ้นสามัญ ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ธนาคารมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 21,128 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมจำนวน 404,182 ล้านบาท สินเชื่อจำนวน 272,205 ล้านบาท เงินฝากจำนวน 270,640 ล้านบาท มีจำนวนพนักงาน 6,809 คน และสาขา 422 สาขาทั่วประเทศ
ในปี พ.ศ. 2554 ธนาคารนครหลวงไทย ได้ควบรวมกิจการเข้ากับธนาคารธนชาต (ปัจจุบันเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554[4][5]
รายพระนามและชื่อประธานกรรมการ
แก้- พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (พ.ศ. 2484-2487)
- พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) (พ.ศ. 2487-2489)
- พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) (พ.ศ. 2489-2492)
- หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ (พ.ศ. 2492-2495)
- หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร (พ.ศ. 2495-2498)
- พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) (พ.ศ. 2498-2501)
- ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (พ.ศ. 2501-2503)
- พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) (พ.ศ. 2503-2506)
- พลโท กฤษณ์ สีวะรา (พ.ศ. 2506-2509)
- พลโท อ่อง โพธิกนิษฐ (พ.ศ. 2509-2512)
- พลตำรวจโท พจน์ เภกะนันทน์ (พ.ศ. 2512-2514)
- นายบัญญัติ สุชีวะ (พ.ศ. 2514-2517)
- พลตำรวจเอก พิชัย กุลละวณิชย์ (พ.ศ. 2517-2519)
- พลเอก ประลอง วีระปรีย (พ.ศ. 2519-2521)
- พลเรือเอก สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์ (พ.ศ. 2521-2523)
- หม่อมราชวงศ์แหลมฉาน หัสดินทร (พ.ศ. 2523-2525)
- พลเอก ไพจิตร สมสุวรรณ (พ.ศ. 2525-2527)
- นายเฉลิม เชี่ยวสกุล (พ.ศ. 2527-2529)
- ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช (พ.ศ. 2529-2531)
- พลอากาศเอก พิสุทธิ์ ฤทธาคนี (พ.ศ. 2531-2533)
- นายเพรา นิวาตวงศ์ (พ.ศ. 2533-2536)
- นายไมตรี ตันเต็มทรัพย์ (พ.ศ. 2536-2538)
- นายอมร จันทรสมบูรณ์ (พ.ศ. 2538-2540)
- นายพนัส สิมะเสถียร (พ.ศ. 2540-2542)
- นายอังคณี วรทรัพย์ (พ.ศ. 2542-2544)
- พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ (พ.ศ. 2544-2547)
- นายสมพล เกียรติไพบูลย์ (พ.ศ. 2547-2551)
- นายสาธิต รังคสิริ (พ.ศ. 2551-2554)
อ้างอิง
แก้- ↑ พัฒนาการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียน ที่ 2/2548 เรื่อง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารนครหลวงไทยสิ้นสภาพ
- ↑ "ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-03. สืบค้นเมื่อ 2012-01-12.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2011-09-13.
- ↑ "TBANK ควบ SCIB "เราจะโต"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-14.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันปิดบริการแล้ว)
ก่อนหน้า | ธนาคารนครหลวงไทย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ธนาคารศรีนคร | ธนาคารนครหลวงไทย (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554) |
ธนาคารธนชาต |