อ่อง โพธิกนิษฐ
พลเอก อ่อง โพธิกนิษฐ (17 มีนาคม พ.ศ. 2456 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2512) เป็นนายทหารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ เช่น แม่ทัพภาคที่ 1[2] และกองทัพภาคที่ 3[3], ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[4], ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก[5], ราชองครักษ์พิเศษ และสมาชิกวุฒิสภา
อ่อง โพธิกนิษฐ์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า | |
ดำรงตำแหน่ง 12 กันยายน พ.ศ. 2503 – 30 กันยายน พ.ศ. 2506 | |
ก่อนหน้า | พลตรี ขุนเสนาทิพ |
ถัดไป | พลตรี บุญชัย บำรุงพงศ์ |
แม่ทัพภาคที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 – 30 เมษายน พ.ศ. 2512 | |
ก่อนหน้า | พลโท อรรถ ศศิประภา |
ถัดไป | พลโท สำราญ แพทยกุล |
แม่ทัพภาคที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2512 | |
ก่อนหน้า | พลโท สำราญ แพทยกุล |
ถัดไป | พลโท เกรียงไกร อัตตะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 มีนาคม พ.ศ. 2456 |
เสียชีวิต | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (56 ปี) |
คู่สมรส | บรรทม ศิริพร (สมรส 2478) |
บุตร | 8 คน |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนปทุมคงคา โรงเรียนนายร้อยทหารบก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2512 |
ยศ | พลเอก[1] |
บังคับบัญชา | โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กองทัพภาคที่ 1 กองทัพภาคที่ 3 |
ผ่านศึก | กบฏบวรเดช สงครามมหาเอเซียบูรพา สงครามเกาหลี |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พลเอก อ่อง โพธิกนิษฐ[6] เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2455 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2456) ณ บ้านสระดอนท้าว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของอ่าง และจั่น โพธิกนิษฐ
เมื่ออายุได้ 3 ขวบ พระยาไชยเยนทร์ฤทธิรงค์ (อึ่ง โพธิกนิษฐ) ผู้เป็นลุงได้ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
พลเอก อ่อง โพธิกนิษฐ ได้สมรสกับ บรรทม ศิริพร บุตรของ ร้อยเอก หลวงศรีสัตรสมบูรณ์ (ทองสุก ศิริพร) และเขียน ศรีสัตรสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2478 มีบุตรธิดา ดังนี้
- เบญจรรณ คเนจร ณ อยุธยา
- มิลลิกา สิงหกุล
- พันเอกหญิง จีระพันธ์ ไทยวัฒน์
- สุภาภรณ์ โพธิกนิษฐ
- เพ็ญนภา ศิริสุขะ
- วิสุทธิ์พร โพธิกนิษฐ
- ร้อยเอก วรพจน์ โพธิกนิษฐ
- พลโท รังสรรค์ โพธิกนิษฐ
การศึกษา
แก้พลเอก อ่อง โพธิกนิษฐ จบการศึกษาดังนี้
- พ.ศ. 2470 – โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครราชสีมา (ปัจจุบันคือโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย)
- พ.ศ. 2473 – โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา
- พ.ศ. 2476 – โรงเรียนนายร้อยทหารบก (หลักสูตรพิเศษ 4 ปี) เลขประจำตัว 3955
- พ.ศ. 2496 – วิทยาลัยเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา รัฐแคนซัส (หลักสูตรประจำ)
- พ.ศ. 2503 – สำเร็จหลักสูตรทำความคุ้นเคยกับอาวุธใหม่ ค่ายบลิส รัฐเท็กซัส
- พ.ศ. 2504 – วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 3
การทำงาน
แก้การรับราชการ
แก้พลเอก อ่อง รับราชการที่กองทัพบก เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น[6]
- พ.ศ. 2495 – ผู้บังคับกองพัน กรมผสมที่ 21 (อิสระ-เกาหลี) (ปัจจุบันคือกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์)
- พ.ศ. 2502 – ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2503 – ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- พ.ศ. 2507 – ผู้บัญชาการวิทยาลัยทหารบก
- พ.ศ. 2509 – แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3
- พ.ศ. 2512 – แม่ทัพกองทัพภาคที่ 1
ยศทหาร
แก้- พ.ศ. 2477 – ร้อยตรี
- พ.ศ. 2480 – ร้อยโท
- พ.ศ. 2486 – ร้อยเอก
- พ.ศ. 2489 – พันตรี
- พ.ศ. 2493 – พันโท
- พ.ศ. 2496 – พันเอก
- พ.ศ. 2499 – พลจัตวา
- พ.ศ. 2502 – พลตรี
- พ.ศ. 2509 – พลโท
- พ.ศ. 2512 – พลเอก (หลังถึงแก่อนิจกรรม)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลโท อ่อง โพธิกนิษฐ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทย สากลและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[10]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[12]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[14]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[15]
- พ.ศ. 2488 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[16]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[17]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2496 – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2496 – เหรียญซิลเวอร์สตาร์[6]
- พ.ศ. 2496 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นลีเจียนแนร์[6]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์[19]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญครัวร์เดอร์แกรร์ ประดับใบปาร์ม[19]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณด้านการบริการ ชั้นที่ 3[20]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๑๕๕๙, ๒๘ เมษายน ๒๕๑๓
- ↑ กองทัพภาคที่ 1, อดีตท่านแม่ทัพภาคที่ 1 เก็บถาวร 2016-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ กองทัพภาคที่ 3, ทำเนียบผู้บังคับบัญชา
- ↑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ทำเนียบอดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ↑ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ,อดีตผู้บังคับบัญชา เก็บถาวร 2023-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 ปีย์ มาลากุล, ม.ล. (2512). พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พุทธศักราช 2512. โรงพิมพ์พระจันทร์. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "อ่อง" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๑๖๙๗, ๑๔ เมษายน ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๒๑๑๗, ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๘, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๑๔๗๖, ๒ ตุลาคม ๒๔๘๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๐๘, ๒๔ กันยายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๑ ง หน้า ๑๓๙๒, ๓๑ มีนาคม ๒๔๙๖
- ↑ 19.0 19.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๗๙๖, ๒๖ มิถุนายน ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๒๑๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๐๖