ธนาคารศรีนคร

ธนาคารศรีนคร เป็นธนาคารพาณิชย์ เปิดดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ในอดีตใช้ชื่อว่า ธนาคารสิงขร[2] โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด ณ อาคารเลขที่ 84 ถนนยุคล 2 ตำบลจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร

ธนาคารศรีนคร
ชื่อเดิมธนาคารสิงขร
ประเภทธนาคารพาณิชย์
อุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัย
ก่อตั้ง21 สิงหาคม พ.ศ. 2493
เลิกกิจการ1 เมษายน พ.ศ. 2545
สาเหตุแปรสภาพรวมกับธนาคารนครหลวงไทย
สำนักงานใหญ่84 ถนนยุคล 2 แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
อุเทน เตชะไพบูลย์
เลขทะเบียน0105493000546[1]
ทุนจดทะเบียน5,943 ล้านบาท[1]

คณะผู้ก่อตั้งประกอบด้วย พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) นายอื้อจือเหลียง นายอุเทน เตชะไพบูลย์ พระยาจินดารักษ์ นายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และสำนักงานรัฐมนตรี โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้น เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของประชาชนให้เป็นปึกแผ่น และนำเงินออมเหล่านั้นมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สร้างสรรค์ เป็นต้นว่า ให้กู้ยืมแก่กิจการอุตสาหกรรม, พาณิชยกรรมทั้งในและต่างประเทศ, ภาคเกษตรกรรม และวิสาหกิจอื่น ๆ

คณะกรรมการชุดแรกประกอบด้วยแก้ไข

 
พระยาโทณวณิกมนตรี ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร
  • พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) ประธานกรรมการ
  • นายอื้อจือเหลียง รองประธานกรรมการ
  • นายอุเทน เตชะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ
  • พระยาจินดารักษ์ กรรมการ
  • นายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กรรมการ
  • นายโชวกุงเคียม กรรมการ
  • ขุนเศรษฐภักดี กรรมการ
  • นายแต้คายซิว กรรมการ
  • นายเหียเจี๊ยะเซ็ง กรรมการ

การดำเนินกิจการแก้ไข

แรกเริ่มดำเนินการ ธนาคารศรีนคร เป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 4 คูหา มีพนักงาน 58 คน มีบริการเงินฝาก 2 ประเภท คือ ประเภทกระแสรายวัน และประเภทฝากประจำ มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท

กิจการของธนาคารรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ธนาคารจึงได้ดำเนินการขยายกิจการสาขา โดยเปิดสาขาสามแยกขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 และในเดือนธันวาคมปีนั้น ก็ได้เปิดสาขาอีก 3 แห่งคือ สาขาบางลำภู, สาขาบางรัก และสาขาประตูน้ำ ในปีต่อ ๆ มาได้เปิดเพิ่มอีกหลายสาขาทั่วกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ 2512 ธนาคารได้ขยายกิจการสาขาไปยังส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก โดยได้เริ่มเปิดสาขาหาดใหญ่ เป็นสาขาแรกในส่วนภูมิภาค และได้ขยายกิจการสาขาตามจังหวัดต่าง ๆ อีกมากกว่า 177 สาขาทั่วประเทศ

ในปี พ.ศ. 2513 คณะกรรมการธนาคารได้เริ่มโครงการขยายกิจการธนาคารให้กว้างขวางขึ้น โดยได้จัดซื้อที่ดินบริเวณสวนมะลิ จำนวน 3 ไร่ เพื่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ และได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ซึ่งธนาคารได้กระทำพิธีเปิดอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่อย่างเป็นทางการ ณ อาคารเลขที่ 2 ถนนเฉลิมเขตร์ 4 สวนมะลิ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2519 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) เป็นองค์ประธานในพิธี สำนักงานใหญ่ของธนาคารเป็นอาคารสูง 16 ชั้น

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ธนาคารศรีนคร ได้ยุบรวมกิจการเข้ากับธนาคารนครหลวงไทย (ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทยธนชาต)[3] ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2545[4]

สัญลักษณ์ของธนาคารแก้ไข

ตั้งแต่เริ่มกิจการ ธนาคารศรีนครได้ใช้ตราสัญลักษณ์เป็นภาพประตูสวัสดิโสภามีวงกลมล้อมรอบ มีชื่อธนาคารเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[ต้องการอ้างอิง] ภายหลังเปลี่ยนเป็นรูปสามเหลี่ยมครอบตรามีรูปประตูเป็นรูปคล้ายบ้าน ด้านล่างมีคำว่า ธนาคารศรีนคร เป็นสีฟ้า ซึ่งเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2530

คำขวัญเดิมของธนาคารคือ "เมียคือศรีบ้าน ธนาคารคือศรีนคร" และคำขวัญสุดท้ายก่อนปิดกิจการคือ "บริการเพื่อท่าน สร้างสรรค์เพื่อสังคม"

ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 "บริษัท ธนาคารศรีนคร จำกัด". dataforthai.com.
  2. เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งมังกรโพ้นทะเลคืนถิ่น เก็บถาวร 2021-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2530 – โดยทางเว็บไซต์ผู้จัดการ 360 องศา. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564. ISSN 0857-5223.
  3. "ข้อมูลธนาคาร – ธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน)". Siam City Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2009.
  4. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน). เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๓๑ ง. หน้า ๗. ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๕.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

  • วิรัตน์ แสงทองคำ (2005). สุปราณี คงนิรันดรสุข (บ.ก.). The Fall of Thai Banking. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ. หน้า 20–73. เลขเรียกหนังสือ 332.1 ISBN 974-93531-4-5.


ก่อนหน้า ธนาคารศรีนคร ถัดไป
  ธนาคารศรีนคร
(21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 – 1 เมษายน พ.ศ. 2545)
  ธนาคารนครหลวงไทย