กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก

กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก (อักษรย่อ: กบ.ทบ.[7]; อังกฤษ: Directorate of Logistics[8]) เป็นกรมฝ่ายเสนาธิการซึ่งรับผิดชอบด้านการส่งกำลังบำรุงทางทหารแห่งกองทัพบกไทย[9] โดยมีเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกคนปัจจุบันคือ พลโท[10] อภิชัย บุญช่วยเหลือ[11] รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกคนปัจจุบันคือ พลตรี ชาครีย์ ภัทรพงศ์กุล[12]

กรมการสารวัตรทหารบก
กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
ประเทศ ไทย
บทบาทการส่งกำลังบำรุงทางทหาร[1]
กองบัญชาการกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
คำขวัญถูกต้อง ตรงความต้องการ งานสุจริต คิดรอบคอบ ส่งมอบทันเวลา[2]
สัญลักษณ์นำโชคพระสีห์พ่าห์ทรงศร ประทับยืนบนสิงห์เหนือเมฆ[3]
วันสถาปนา6 สิงหาคม พ.ศ. 2495; 71 ปีก่อน (2495-08-06)[4]
ปฏิบัติการสำคัญความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[5]
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกพลโท อภิชัย บุญช่วยเหลือ[6]
ผบ. สำคัญพลเอก​ ชัยมนตรี​ โพธิ์​ทอง

ผลงานสำคัญ แก้

ในปี พ.ศ. 2557 ทางเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก ได้รับมอบหมายหน้าที่จำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้มานานจนล้าสมัย ไม่สามารถซ่อมแซม หรือเสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้การได้ ซึ่งรวมถึงอาหาร, เครื่องแต่งกาย, เชื้อเพลิง, สัตว์, ยานพาหนะ, อาวุธ, กระสุน, วัตถุระเบิด, เครื่องจักรกล และเครื่องมือต่าง ๆ ตามระเบียบกองทัพบก[13]

กระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2561 กรมส่งกำลังบำรุงทหารบกได้มีผลงานจัดหายุทโธปกรณ์สำคัญ ได้แก่ การจัดหาปืนเล็กยาว เอเค 104 จากประเทศรัสเซีย, ปืนกลเบา ไอดับเบิลยูไอ เนเกฟ จากประเทศอิสราเอล, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง มี-17 จำนวน 2 ลำ จากประเทศรัสเซีย, เครื่องบินลำเลียง เออัดส์ กาซา เซ-295 จำนวน 1 ลำ จากประเทศสเปน และปืนต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง–ไกล เวแอล-ไมกา จำนวน 1 ระบบ จากประเทศฝรั่งเศส รวมถึงเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการส่งกำลังบำรุงทางทหาร จากกองทัพบกสหรัฐรัฐวอชิงตัน สหรัฐ[14]

สิ่งสืบทอด แก้

กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก เป็นเจ้าของโครงการติดตั้งหินอ่อนรอบแท่นพระบรมรูป 7 รัชกาล ณ อุทยานราชภักดิ์ ประจำปีงบประมาณ 2558 โดยการกำหนดราคากลางเป็นไปตามระเบียบและเงื่อนไขที่กรมบัญชีกลางกำหนด[15]

รายนามเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก แก้

  1. พลตรี สุรจิต จารุเศรนี (8 กันยายน พ.ศ. 2495 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2497)
  2. พลตรี จิตติ นาวีเสถียร (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2500)
  3. พลตรี สุรกิจ มัยลาภ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2500 – 30 กันยายน พ.ศ. 2504)
  4. พลตรี เสริม ณ นคร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 – 30 กันยายน พ.ศ. 2509)
  5. พลตรี สิทธิ จิรโรจน์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 – 30 กันยายน พ.ศ. 2511)
  6. พลตรี ประลอง วีระปรีย (1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 – 30 กันยายน พ.ศ. 2515)
  7. พลตรี เฉลิม โพธิพรรค (1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 – 30 กันยายน พ.ศ. 2518)
  8. พลตรี อุดม ติตถะสิริ (20 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2522)
  9. พลตรี วิจิตร จิตตเสวี (3 ตุลาคม พ.ศ. 2522 – 30 กันยายน พ.ศ. 2524)
  10. พลตรี วิชิต วิชิตสงคราม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 – 30 กันยายน พ.ศ. 2527)
  11. พลตรี ชัชชม กันหลง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 – 30 กันยายน พ.ศ. 2531)
  12. พลตรี ชินศักดิ์ ร่วมทอง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534)
  13. พลตรี ประพิณ ล้อมสมบูรณ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2536)
  14. พลตรี พัฑฒะนะ พุธานานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 – 30 กันยายน พ.ศ. 2537)
  15. พลตรี พิภพ อินทราวุธ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 30 กันยายน พ.ศ. 2538)
  16. พลตรี อนันต์ อมรัชกุล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2539)
  17. พลตรี นคร จินดาวัฒนะ (3 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543)
  18. พลตรี โสภณ ศีลพิพัฒน์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546)
  19. พลตรี บดินทร์ ลักษมีวาสิน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2550)
  20. พลตรี ชวลิต ศรีศิลปนันทน์ (1 เมษายน พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
  21. พลตรี ศุภกร สงวนชาติศรไกร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2556)
  22. พลตรี สมชาย ยังพิทักษ์ (1 เมษายน พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
  23. พลโท สมชาย ยังพิทักษ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
  24. พลโท ธนเดช เหลืองทองคำ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560)
  25. พลโท รุจน์ อ่อนน้อมพันธุ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561)
  26. พลโท ชัยมนตรี โพธิ์ทอง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 31​ มีนาคม​ พ.ศ.​ 2564)
  27. พลโท​ ภูวนารถ​ ชมพูบุตร​ (1 เมษายน​ พ.ศ.​ 2564​ –​ 30 กันยายน พ.ศ. 2565)​
  28. พลโท​ เทวมิตร พลภักดี (1 เมษายน​ พ.ศ.​ 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566)
  29. พลโท​ อภิชัย บุญช่วยเหลือ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

อ้างอิง แก้

  1. พ.ศ.
  2. "กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก - คำขวัญกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-03. สืบค้นเมื่อ 2020-03-08.
  3. "เครื่องหมายราชการกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-03. สืบค้นเมื่อ 2020-03-08.
  4. ผบ.ทบ.ชี้อย่ามโนข่าวระเบิด จับตา 'กลุ่มมาสเตอร์มาย' ดิสเครดิตรบ.
  5. ทหารตบเท้าพรึ่บ งัด'อภิสิทธิ์' ยันใช้ต่อจีที 200 - ไทยรัฐออนไลน์
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 21 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  7. 2540.pdf พ.ศ. 2540 - KM การจัดองค์ความรู้ รร.กสร.ศสร.[ลิงก์เสีย]
  8. "หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม (Ministry of Defence)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-03-08.
  9. 2557.pdf ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการควบคุมสินทรัพย์จากการพัสดุ พ.ศ. 2557[ลิงก์เสีย]
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 5 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 21 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอน 55 ง พิเศษ หน้า 10 วันที่ 11 มีนาคม 2564
  13. ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ. 2557[ลิงก์เสีย]
  14. สิริกิติ์ - กองทัพบก[ลิงก์เสีย]
  15. เปิดเอกสารกองทัพบกใช้งบ 11.9 ล. จ้างวิธีพิเศษฐานหินอ่อนพระบรมรูป 7 รัฐกาลราชภักดิ์

แหล่งข้อมูลอื่น แก้