สิทธิ จิรโรจน์
พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ (25 เมษายน พ.ศ. 2463 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย
สิทธิ จิรโรจน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2523 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | ประเทือง กีรติบุตร |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
ถัดไป | ประจวบ สุนทรางกูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 เมษายน พ.ศ. 2463 เขตภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (89 ปี) โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | คุณหญิงจวบ จิรโรจน์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย กองอาสารักษาดินแดน |
ยศ | พลเอก นายกองใหญ่[1] |
ประวัติ
แก้พล.อ.สิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2463 ที่ตำบลบางหว้า อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรชายของนายทองดีและนางสร้อย จิรโรจน์ จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดรางบัวและโรงเรียนวัดนวลนรดิศ โรงเรียนเทคนิคทหารบก (รุ่นเดียวกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี 3 สมัยและประธานองคมนตรีในรัชกาลปัจจุบัน) โดยเรียนดีเคยสอบได้ที่ 1 โรงเรียนเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 21 และวิทยาลัยการทัพบกรุ่นที่ 5
การทำงาน
แก้ชีวิตราชการทหารบกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 เริ่มตั้งแต่เป็นผู้บังคับหมวด แล้วผ่านขึ้นมาเรื่อย ๆ เป็นผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เจ้ากรมส่งกำลังบำรุง เจ้ากรมยุทธการทหารบก ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก รองเสนาธิการทหารบก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เสนาธิการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม[2]
พล.อ.สิทธิได้รับฉายาว่า "เปาบุ้นจิ้น" อันเนื่องจากเป็นนายทหารที่ซื่อตรงตลอดชีวิตราชการ
ชีวิตการเมือง เริ่มด้วยการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2516 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2523 จนถึง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลที่มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (คณะรัฐบาลชุดที่ 42[3] และ 43)[4]
ซึ่งในระหว่างการดำรงตำแหน่งนี้ พล.อ.สิทธิได้มีนโยบายจัดระเบียบสังคมจนเป็นที่กล่าวขานอย่างมาก โดยเฉพาะการสั่งปิดสนามม้าด้วยเหตุผลว่า เป็นอบายมุข[5]
พล.อ.สิทธิ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)[6] ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ให้ตรวจสอบทรัพย์สินของนักการเมืองในรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย 25 คน รวมทั้ง พล.อ. ชาติชายด้วย แม้ต่อมา คตส.จะมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ของนักการเมืองหลายคนตกเป็นของแผ่นดิน แต่ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า คำสั่งของ คตส.ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 เนื่องจากคำสั่งยึดทรัพย์เป็นอำนาจของฝ่ายตุลาการ ไม่ใช่อำนาจของ คตส. จึงไม่อาจยึดทรัพย์ใครได้เลยสักคน
ชีวิตส่วนตัว พล.อ.สิทธิ สมรสกับคุณหญิงจวบ จิรโรจน์ มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน เป็นหญิง 3 ชาย 1
พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ที่โรงพยาบาลมงกุฏวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ 89 ปี[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[14]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[15]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[16]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานยศนายกองใหญ่
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายประเทือง กีรติบุตร พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งพลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแทน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับที่ 22,036 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 (เป็นปฏิวัติโดยแท้ เรื่อง ให้อายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน)
- ↑ พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ด้วยโรคชรา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๓ ง หน้า ๒๒๔๕, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๐ สิงหาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1972.