ชัชชม กันหลง
พลเอก ชัชชม กันหลง (5 กันยายน พ.ศ 2476 - 22 กันนายน พ.ศ. 2567) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, อดีตเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก, อดีตสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)[1] และอดีตราชองครักษ์พิเศษ[2]
ชัชชม กันหลง | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 16 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (54 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กันยายน พ.ศ. 2476 |
เสียชีวิต | 5 กันยายน พ.ศ. 2567 (90 ปี) |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.อ. ชัชชม กันหลง จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5 รุ่นเดียวกับ พล.อ. สุจินดา คราประยูร, พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี และพล.อ. วิโรจน์ แสงสนิท[3] และเขายังเป็นนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 30 (รุ่นเดียวกันกับนายสนิท วรปัญญา)[4]
การทำงาน
แก้พล.อ. ชัชชม กันหลง รับราชการในกองทัพบก จนได้รับตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาด้านการทหาร ในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)[5] ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2535
พล.อ. ชัชชม กันหลง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพล.อ. สุจินดา คราประยูร ซึ่งมี พล.อ. สุจินดา เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ[6]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พล.อ. ชัชชม กันหลง ถึงแก่อนิจกรรมวันที่ 22 กันนายน พ.ศ. 2567 สิริอายุ 90 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[9]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ https://mgronline.com/politics/detail/9490000036887
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ บิ๊กสุระดมแกนนำรสช.สังสรรค์ใหญ่วันที่ 18 มี.ค.นี้
- ↑ นักศึกษา วปอ.รุ่น 30[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓