วิโรจน์ แสงสนิท
พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท เป็นประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2]
วิโรจน์ แสงสนิท | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด [1] | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2539 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2478 จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา |
คู่สมรส | คุณหญิงลักขณา แสงสนิท |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
ประวัติ
แก้พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2478 ที่ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์[3] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5 หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 18 และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 31
พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท สมรสกับ คุณหญิง ลักขณา แสงสนิท ประธานคณะกรรมการมูลนิธิคุณหญิงลักขณา แสงสนิท และบุตร มีบุตรชาย 3 คน ได้แก่
- พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด รองประธานกรรมการ มูลนิธิคุณหญิงลักขณา แสงสนิทและบุตร
- นาย ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง[4]รองประธานกรรมการ มูลนิธิคุณหญิงลักขณา แสงสนิท เพื่อโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา อดีตอธิบดีกรมสรรพากร และอธิบดีกรมสรรพสามิต
- นาย ธีรลักษ์ แสงสนิท ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
การทำงาน
แก้พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท รับราชการทหาร เคยมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ ในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[5] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[6] ซึ่งจัดตั้งหลังการรัฐประหารของ รสช. พ.ศ. 2534 และเป็นสมาชิกวุฒิสภา[7] ในระหว่างปี พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2543 (2 สมัย) จนได้รับตำแหน่งสูงสุด คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในปี พ.ศ. 2538 ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2539 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา
พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท ได้เข้าสู่งานการเมืองหลังเกษียณอายุราชการโดยร่วมงานกับพรรคชาติไทย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค และที่ปรึกษาพรรคชาติไทย และเขายังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทย ลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544
ในปี พ.ศ. 2546[8] ดำรงตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน) จนถึงปัจจุบัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[11]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[12]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[16]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/081/6.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 13 กันยายน 2566
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ วุฒิสมาชิก ชุดที่ 7[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษ, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๕๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๖๓, ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕