ฉัตร หนุนภักดี
พลตำรวจโท ฉัตร หนุนภักดี (1 เมษายน 2447 - 25 ตุลาคม 2517) เป็นนายตำรวจชาวไทย เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธร อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502 และอดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นบิดาของพลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคุณหญิงวรรณี คราประยูร ภริยาของพล.อ. สุจินดา คราประยูร อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตนายกรัฐมนตรี[1] และเป็นปู่ของพล.อ. ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ฉัตร หนุนภักดี | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2447 |
เสียชีวิต | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2517 (70 ปี) |
ประวัติ
แก้พลตำรวจโทฉัตร เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2447 ที่ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในบรรดาพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 6 คนของขุนไกรนารายณ์ (กลับ หนุนภักดี) กับนางมาลัย ไกรนารายณ์ สมรสกับนางประยงค์ หนุนภักดี (สกุลเดิม:วิชิตกลชัย) บุตรีของ หลวงวิชิตกลชัย กับนางวิชิตกลชัย (สายหยุด วิชิตกลชัย) มีบุตร-ธิดาทั้งสิ้น 7 คนคือ
- ประยงค์ฉัตร ผุดผาด
- พยอม เศรษฐบุตร
- พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี
- คุณหญิงวรรณี คราประยูร
- เด็กหญิงต้อย หนุนภักดี
- ณรงค์ศักดิ์ หนุนภักดี
- อัครฉัตร หนุนภักดี
การศึกษา
แก้พล.ต.ท. ฉัตรจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ต่อมาได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปัจจุบัน) เมื่อปี 2467 วิชาปืนกลและขว้างลูกระเบิด เมื่อปี 2469 และวิชาการบินมัธยม เมื่อปี 2470
รับราชการตำรวจ
แก้หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก พลตำรวจโทฉัตรได้เป็นนักเรียนทำการนายร้อยประจำกรมทหารบกราบที่ 4 และได้รับพระราชทานยศนายร้อยตรีเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2467 [2] ต่อมาจึงได้ย้ายมาประจำการที่กรมอากาศยานทหารบก (กองทัพอากาศ ในปัจจุบัน) เมื่อปี 2469 และได้เลื่อนยศเป็นร้อยโทประจำกรมอากาศยานทหารบกเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2472[3] จากนั้นจึงโอนย้ายมารับราชการเป็นตำรวจและได้รับพระราชทานยศ ร้อยตำรวจเอก เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2482[4] ต่อมาได้รับพระราชทานยศ พันตำรวจตรี เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2484[5] ได้รับพระราชทานยศ พันตำรวจโท เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2492[6] ได้รับพระราชทานยศ พันตำรวจเอก เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2496[7] ยศ พลตำรวจจัตวา เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2498[8] ยศ พลตำรวจตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2501[9] และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2506[10]
โดยพล.ต.ท. ฉัตรได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2507 ก่อนเกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลตำรวจโท ฉัตร หนุนภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[13]
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[14]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[15]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[16]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[17]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[18]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[19]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[20]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[21]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจโท ฉัตร หนุนภักดี ป.ม., ต.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 19 ธันวาคม 2517. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน ศ.ส. การพิมพ์. 2554. p. 1.
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศ (หน้า 126)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า 381)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า 2264)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๕๑, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๘๔๙, ๙ มีนาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๑, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๐, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๙๐, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๔๑, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๘๓ ง หน้า ๒๕๖๔, ๑๘ ตุลาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๕๓, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕