แถบ นีละนิธิ
ศาสตราจารย์ แถบ นีละนิธิ[1] (1 กรกฎาคม 2450 – 10 สิงหาคม 2523) อดีตราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน, อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และอดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แถบ นีละนิธิ | |
---|---|
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มิถุนายน 2512 – 3 มิถุนายน 2514 | |
ก่อนหน้า | ประภาส จารุเสถียร |
ถัดไป | อรุณ สรเทศน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 |
เสียชีวิต | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2523 (73 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์ แถบ นีละนิธิ หรือที่รู้จักในนามของ ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ เกิดเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 เป็นบุตรของพระราชสุภาวดี (สิน นีละนิธิ) กับนางนวล ราชสุภาวดี
การศึกษา
แก้ศาสตราจารย์ แถบ นีละนิธิ เข้าเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทัศน์ และชั้นมัธยมศึกษา (ม.8) ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่ออายุ 17 ปี ได้เข้าสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงของกระทรวงธรรมการเพื่อไปศึกษาต่อที่ วิทยาลัยของเทศบาลนครพอร์ตสมัท (Portsmouth Municipal College) ประเทศอังกฤษ สาขาวิทยาศาสตร์ 2 ปี หลังจากนั้น จึงได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล เป็นเวลา 3 ปี จนได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมีมาตรฐานชั้นสูง เมื่อปี พ.ศ. 2472 และเข้าศึกษาต่ออีก 1 ปี ขั้น Honours School จนได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 2473 ซึ่งนับเป็นคนไทยคนแรกที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และสามารถจบด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาเคมี หลังจากนั้น ได้รับทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา โดยสำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมี เมื่อปี พ.ศ. 2474 และใช้เวลาต่อมาอีกเพียง 2 ปี ก็สำเร็จปริญญาเอก (Ph.D.) สาขาอินทรีย์เคมี จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 2476
การทำงาน
แก้หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลแล้ว ศ.ดร.แถบ ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาเคมีที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาเคมี เมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2479
เมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2492 ท่านได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ และวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ศ.ดร.แถบ ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้น เมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2500 และได้รับตำแหน่งรองอธิการบดีด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง
ต่อมา พ.ศ. 2506 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขยายระดับการศึกษาโดยจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยขึ้น ท่านได้รับตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นคนแรกด้วย
บั้นปลาย
แก้ศ.ดร.แถบ นีละนิธิ หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านยังคงดำรงตำแหน่งรักษาการอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นท่านที่ 8 เมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2512 โดยท่านดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้น ยังได้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยติดต่อกัน 3 วาระ รวมเป็นเวลา 6 ปี
ท่านถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2523
ผลงานและเกียรติประวัติ
แก้เมื่อเริ่มเข้ารับราชการ ท่านเป็นผู้จัดทำหลักสูตรปริญญาบัณฑิตทางเคมี และเป็นผู้สอนเอง นับว่าเป็นอาจารย์ต้นตำรับการผลิตวิทยาศาสตร์บัณฑิตคนแรกของประเทศ ขณะดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ท่านได้ริเริ่มขยายหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต เพื่อให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการเปิดวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาธรณีเคมีเทคนิค ขณะดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ท่านได้ร่วมกำหนดมาตรฐานและระเบียบต่างๆขึ้น รวมถึงจัดตั้งคณะบัณฑิตวิทยาลัยขั้นจัดการ และจัดตั้งหน่วยคอมพิวเตอร์ขึ้น ซึ่งหน่วยงานนี้เป็นผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นทางการแห่งแรกของประเทศไทย ผลงานหน้าที่อื่นๆ เช่น
- ศาสตราจารย์แห่งจุฬาลงกรรณ์มหาวิทยาลัย[2]
- กรรมการ สภามหาวิทยาลัย
- สมาชิกฝ่ายอุปนายก สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญ
- ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
- ผู้แทนประเทศไทย ในการประชุมยูเนสโก ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- ผู้แทนประเทศไทย ในการประชุมระหว่างประเทศ ทางด้านพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และศึกษาดูงานพลังงานปรมาณูที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกา
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยแห่งชาติ
- กรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาสหประชาชาติ ในการประชุมทางวิทยาศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก ครั้งที่ 9
เกียรติยศ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
สมัญญานาม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/D/024/1642.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/D/024/1642.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ http://memorandum.pn.psu.ac.th/looknote.php?&Did=00068
- ↑ http://lib3.dss.go.th/fulltext/thai_book/900child/925.93%E0%B8%AA46.pdf
- ทำเนียบคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2007-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สุภา พื้นนาค. 35 นักวิทยาศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: อักษรวัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 5, 2543
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "แถบ นีละนิธิ" ปรมาจารย์แห่งวิชาเคมีไทย เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | แถบ นีละนิธิ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จอมพล ประภาส จารุเสถียร | อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (4 มิถุนายน พ.ศ. 2512 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2514) |
ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์ |