คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 22

คณะรัฐมนตรีไทย

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 22 ของไทย (25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494)

คณะรัฐมนตรีแปลก 4
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 22 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494
วันแต่งตั้ง28 มิถุนายน พ.ศ.​ 2492
วันสิ้นสุด29 พฤศจิกายน พ.ศ.​ 2494
(2 ปี 154 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หัวหน้ารัฐบาลแปลก พิบูลสงคราม
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 21
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 23

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492[1]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้ลงนามในประกาศ

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 22 ของไทย แก้

ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[2]

  1. จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  2. หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  3. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  4. นายวรการบัญชา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  5. จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  6. นายพจน์ สารสิน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  7. พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  8. พันเอก น้อม เกตุนุติ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  9. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  10. พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  11. นายฟื้น สุพรรณสาร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  12. พลโท พระยาเทพหัสดิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  13. นายปฐม โพธิ์แก้ว เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  14. พลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  15. พลโท มังกร พรหมโยธี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  16. นายเลียง ไชยกาล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  17. พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  18. นายเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
  19. พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  20. พลตรี ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์ เป็น รัฐมนตรี
  21. นาวาเอก หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์) เป็น รัฐมนตรี
  22. พันเอก บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็น รัฐมนตรี
  23. หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) เป็น รัฐมนตรี
  24. ขุนคงฤทธิศึกษากร (ปาน คงฤทธิ์ศึกษากร) เป็น รัฐมนตรี
  25. ร้อยเอก ประเสริฐ สุดบรรทัด เป็น รัฐมนตรี
  26. นายเทพ โชตินุชิต เป็น รัฐมนตรี

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 22 ของไทย แก้

รัฐบาลแถลงนโยบายในสภาผู้แทนราษฎรมีการอภิปรายรวม 11 วัน และได้อภิปรายในวุฒิสภาอีก 3 วัน ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติ ให้ความไว้วางใจเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

นโยบายของรัฐบาลคณะนี้ปรากฏใน หนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2492 เล่ม 66 ตอน 39 หน้า 3422

การปรับปรุงคณะรัฐมนตรีคณะที่ 22 ของไทย แก้

คณะรัฐมนตรีมีการแต่งตั้งเปลี่ยนแปลงดังนี้

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 22 ของไทย แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากคณะบริหารประเทศชั่วคราวนำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยึดอำนาจการปกครอง และประกาศให้นำ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 กลับมาใช้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (จอมพล แปลก พิบูลสงคราม สมัยที่ ๓)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ลาออก โดยแต่งตั้ง จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และนายพจน์ สารสิน)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (จำนวน ๗ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายพจน์ สารสิน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แต่งตั้ง นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรีว่าการ ฯ แทน)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายร้อยตำรวจโท สงกรานต์ อุดมสิทธิ์ นายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พระมนูภาณวิมลศาสตร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเลียง ไชยกาล เป็นรัฐนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (นายพันตรำรวจตรี สงกรานต์ อุดมสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายปฐม โพธิแแก้ว นายเขมชาติ บุณยรัตนพันธุ์ นายเลียง ไชยกาล หลวงอรรถพรพิศาล นายเสมอ กัณฑาธัญ)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายพันตำรวจตรี สงกรานต์ อุดมสิทธิ์)
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ)
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (นายเสมอ กัณฑาธัญ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้