เสมอ กัณฑาธัญ เป็นอดีตรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสำรวจเหมือแร่วุลแฟรมในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อปี พ.ศ. 2492[1]

เสมอ กัณฑาธัญ
รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
ดำรงตำแหน่ง
11 มกราคม – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 ธันวาคม พ.ศ. 2457
อำเภอปากบ่อง จังหวัดลำพูน
เสียชีวิต26 มีนาคม พ.ศ. 2520
(62 ปี)

ประวัติ แก้

เสมอ กัณฑาธัญ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอนครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม[2] โดยเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวงหรือรัฐมนตรีลอย ต่อจากนั้นในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ดูแลเรื่องงานเหมืองแร่ นับเป็น ส.ส.จังหวัดแม่ฮ่องสอนคนที่ 2 ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี

หลังการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 24 นำโดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2494 นายเสมอ กัณฑาธัญ เป็นผู้อภิปรายซักถามประเด็นเรื่องการจัดตั้งพรรคการเมืองในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร[4] จนนำไปสู่การมีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498[5] ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับแรกของประเทศไทย

เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495

เสมอ กัณฑาธัญ มีบทบาทในการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาทิ เมื่อปี พ.ศ. 2498 เขาได้ประสานงานขอใช้เงินรายได้จากการจำหน่ายแสตมป์ช่วยการศึกษาและสาธารณสุข (ก.ศ.ล.) จากรัฐบาลจำนวน 100,000 บาท เพื่อสร้างเรือนคนไข้ให้โรงพยาบาลแม่ฮ่องสอน[6]

ในปี พ.ศ. 2506 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งประจำสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี[7]

อ้างอิง แก้

  1. "รายงานการสำรวจเหมืองแร่วุลแฟรมบ้านยาทิยะเพอ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-14.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายปฐม โพธิแแก้ว นายเขมชาติ บุณยรัตนพันธุ์ นายเลียง ไชยกาล หลวงอรรถพรพิศาล นายเสมอ กัณฑาธัญ)
  3. คณะที่ ๒๒ (๒๘ มิถุนายน ๒๔๙๒ – ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔)
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-14.
  5. พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอน 77 ก พิเศษ หน้า 1 28 กันยายน พ.ศ. 2498
  6. ประวัติโรงพยาบาลศรีสังวาลย์[ลิงก์เสีย]
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี