พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ)

อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 – 10 มกราคม พ.ศ. 2531) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคสัมมาชีพ-ช่วยชาวนา[1] เป็น 1 ใน 3 ทหารเสือวงการเกษตรของประเทศไทย ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเป็น 1 ใน 3 ของบูรพาจารย์ (พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และหลวงอิงคศรีกสิการ) ที่ร่วมกันก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พระช่วงเกษตรศิลปการ
(ช่วง โลจายะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระยาพนานุจร
ถัดไปเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2481
ก่อนหน้าเริ่มตำแหน่งใหม่
ถัดไปจรัด สุนทรศิล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กรกฎาคม พ.ศ. 2442
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
เสียชีวิต10 มกราคม พ.ศ. 2531 (88 ปี)
พรรคการเมืองพรรคสัมมาชีพ-ช่วยชาวนา[1]
คู่สมรสคุณหญิง สำอางค์ ไรวา

ประวัติ

แก้

พระช่วงเกษตรศิลปการ มีชื่อเดิมว่า ช่วง โลจายะ เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 ที่บ้านแซ่ ตำบลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของ ร.อ. หลวงศรีพลแผ้ว (ขาว โลจายะ)

ประวัติการศึกษา

แก้
  • ศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
  • ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยม 1 ถึง 3) ที่ โรงเรียนมัธยมวัดสุทัศน์          
  • ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยม 4 ถึง 8) ที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2459 เมื่อศึกษาจบแล้วได้สมัครเป็นครูสอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นเวลา 2 ปี
  • ได้รับทุนกระทรวงธรรมการ จากเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ไปเรียนวิชาช่าง (วิศวกรรมเครื่องกล) ณ ประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา (สหรัฐอเมริกา) แต่ระหว่างนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปสหรัฐอเมริกา  รัฐบาลเกรงจะเกิดอันตรายในการเดินทางของนักเรียนทุน จึงได้เปลี่ยนให้ฝากเรียนที่ประเทศฟิลิปปินส์ชั่วคราว เนื่องจากอยู่ในระหว่างสงครามทำให้สถานที่เรียนของพระช่วงเกษตรศิลปการอยู่ในสภาพทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ไม่ถูกหลักอนามัย นักศึกษาล้มเจ็บกันมาก ขณะนั้น หลวงอิงคศรีกสิการ (เอี้ยง จันทรสถิตย์) ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนสวนกุหลาบ กำลังศึกษาด้านการเกษตรปีที่ 2 อยู่ที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ที่ลอสบันยอส  จึงได้ชวนคุณพระช่วงเกษตรศิลปการ ให้ไปศึกษา ณ ที่เดียวกัน
  • พ.ศ. 2463 พระช่วงเกษตรศิลปการ ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 ที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ที่ลอสบันยอส   
  • พ.ศ. 2464 เมื่อสงครามโลกสงบลง รัฐบาลจึงได้ย้ายนักเรียนไทยไปศึกษาต่อที่สหรัฐ โดยพระช่วงเกษตรศิลปการได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐ ในสาขาวิชาสัตวบาล
  • พ.ศ. 2467 พระช่วงเกษตรศิลปการจบปริญญาตรีและปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่จบปริญญาโทด้านการเกษตร  ต่อจากหลวงอิงคศรีกสิการ ซึ่งจบปริญญาโทด้านการเกษตร จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล

การทำงาน

แก้

พ.ศ. 2467 หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทย ได้รับการบรรจุราชการครั้งแรกเป็นอาจารย์ประจำกระทรวงธรรมการ โดยเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม อำเภอบางสะพานใหญ่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ในสมัยนั้นอาจารย์ทุกคนและนักเรียนต้องทำงานอย่างหนัก ช่วยกันพัฒนาสถานที่ ปลูกสร้างอาคารด้วยตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่มีงบประมาณสนับสนุน พระช่วงเกษตรศิลปการได้รับยศ รองอำมาตย์เอก ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467[2]

พ.ศ. 2469 โรงเรียนได้ย้ายที่ตั้งไปยังอำเภอทับกวาง จังหวัดสระบุรี  พระช่วงเกษตรศิลปการจึงได้ย้ายไปทำงานยังที่ตั้งใหม่ และไปเริ่มต้นบุกเบิกใหม่ ทำงานหนัก ทั้งสอนหนังสือและงานภาคสนาม ในปีเดียวกัน พระช่วงเกษตรศิลปการได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงช่วงเกษตรศิลปการ ขณะที่มีอายุเพียง 27 ปี

พ.ศ. 2470 ท่านได้ริเริ่มจัดทำหนังสือพิมพ์กสิกร ฉบับปฐมฤกษ์ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470 โดยมีหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้อยู่ยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2471 เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการศึกษาของชาติครั้งใหญ่  ท่านได้ย้ายไปเป็นครูที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยม และปีเดียวกันนี้ ท่านได้สมรสกับคุณสำอางค์ ไรวา สุภาพสตรีในตระกูลคหบดี

พ.ศ. 2472 ย้ายไปอยู่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งเป็นผู้กำกับคณะช่วงเกษตร และเป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยม

พ.ศ. 2473 กระทรวงกลาโหมได้ขอตัวท่านไปช่วยราชการ โดยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกเสบียงสัตว์ และผู้อำนวยการสอนวิชากสิกรรมแก่นายทหาร

  • สอนวิชากสิกรรมแก่ทหารเกณฑ์ เพื่อเมื่อปลดประจำการแล้ว ทางราชการจะให้ที่ทำกินแก่ทหารเหล่านั้นแถบชายแดน เพื่อทำการเกษตรและเป็นรั้วของชาติไปด้วย
  • ช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งอยู่นี้ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายขณะนั้น ได้มอบพื้นที่กองเสบียงสัตว์ต่างของท่านที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ให้แก่กระทรวงกลาโหม

พ.ศ. 2475 ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระช่วงเกษตรศิลปการ

พ.ศ. 2476 กระทรวงเกษตรพาณิชยการ ได้ขอตัวท่านจากกระทรวงกลาโหม โดยโอนมาสังกัดกรมตรวจกสิกรรม (กรมเกษตร) แล้วส่งท่านไปก่อตั้งสถานีทดลองกสิกรรมภาคเหนือ ที่บ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  

พ.ศ. 2477 กระทรวงธรรมการ โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ตั้ง โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ (ปปก.- ประกาศนียบัตรประถมกสิกรรม) ที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอตัวคุณพระช่วงเกษตรศิลปการย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ  แต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่และหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคเหนือในเวลาเดียวกัน  ในเวลาต่อมาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมที่แม่โจ้ได้เปลี่ยนสถานะเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือ

พ.ศ. 2481 รัฐบาลมีนโยบายยุบโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม พระช่วงเกษตรศิลปการได้ผลักดันให้รักษาโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้ไว้ และจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น โดยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจัดตั้งกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกรมเกษตรและการประมง

พ.ศ. 2482–2492 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็น อธิบดีกรมเกษตรและการประมง โดยในระหว่าง 10 ปี มีผลงาน เช่น

  • พ.ศ. 2482 โดยการริเริ่มการก่อตั้งของ 3 บูรพาจารย์ คือ พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ หลวงอิงคศรีกสิการ รวมทั้งบุคคลสำคัญอีกหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์จรัด สุนทรสิงห์ อาจารย์เริ่ม บูรณฤกษ์ อาจารย์กวี วิสุทธารมณ์ เป็นต้น ได้ร่วมกันจัดตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขึ้นที่ทุ่งบางเขน โดยปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีฐานะเป็น กองหนึ่งของกรมเกษตร พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงเกิดขึ้น และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
  • พ.ศ. 2489 ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเกษตรและการประมง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง 1 ปี พระช่วงเกษตรศิลปการได้ร่วมคณะผู้แทนไทยไปประชุมองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่สหรัฐ ในฐานะผู้สังเกตการณ์ หลังการประชุมได้แวะไปเยี่ยมสถานศึกษาเดิมคือ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้มอบประกาศนียบัตรนักเรียนเก่าดีเด่นให้แก่ท่าน และการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ ท่านได้นำวัคซีนป้องกันโรครินเดอร์เปสต์กลับมาประเทศไทยด้วย วัคซีนชนิดนี้ได้ช่วยป้องกันชีวิตสัตว์เลี้ยงของประเทศไทยในสมัยนั้นไว้ไม่น้อยเลย

พ.ศ. 2491 ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเกษตรและการประมงนั้น ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2492–2495 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[3] หลังจากที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเกษตรและการประมงได้ 10 ปี ท่านดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการนานประมาณ 3 ปี ท่านได้สร้างผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหลายประการด้วยกัน เช่น

  • การออกพระราชบัญญัติควบคุมต้นสัก การสร้างป่าสงวนหลายแห่ง
  • ริเริ่มการปลูกป่าสนสามใบ บนภูเขาที่มีระดับความสูงโดยเริ่มทำการทดลองเพาะพันธุ์ต้นสนเมืองหนาวพันธุ์ต่าง ๆ ที่ดอยสุเทพ  
  • ทางแถบชายทะเล ริเริ่มการปลูกสนประดิพัทธ์ที่หาดแม่รำพึง จังหวัดระยอง และที่สวนสน หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสาจากต้นสนประดิพัทธ์นำมาใช้ประโยชน์เป็นเสาโปะ ใช้จับปลาในอ่าวไทยในสมัยนั้น
  • ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกปอกระเจา ในเขตพื้นที่น้ำท่วมนา เพื่อใช้ทำกระสอบข้าวสาร สมัยก่อนต้องสั่งซื้อปอจากต่างประเทศ

พ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพและภาคกลางทั้งหมด ทำให้พืชผักสวนครัวขาดแคลน ท่านได้แนะนำและส่งเสริมให้มีการปลูกถั่วงอก ในขณะนั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อน้ำท่วม จึงเป็นการเริ่มความนิยมการขายก๋วยเตี๋ยวเรือใส่ถั่วงอกและผักบุ้ง เพื่อให้ประชาชนได้รับอาหารครบหมู่

  • ดำเนินการสร้างเขื่อนเพชร ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นเขื่อนแรกของประเทศไทย ทำให้บริเวณรอบเขื่อนมีความอุดมสมบูรณ์  โดยเฉพาะที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และสร้างเขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดตาก เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศไทย
  • กรมเกษตร ผลงาน คือ
    • ส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์ข้าว และส่งเสริมการผลิตข้าวเป็นสินค้าออกที่สำคัญ
    • ขยายพันธุ์ลิ้นจี่ที่ฝาง โดยใช้เมล็ดพันธ์จากเมืองจีนเป็นการริเริ่มปลูกลิ้นจี่ที่ภาคเหนือ สมัยก่อนมีพันธุ์พื้นเมืองที่อัมพวา และบางขุนเทียน
    • ต่อยอดการปลูกมันสัมปะหลังนำมาใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์ แปรรูปเป็นแป้งมันสัมปะหลัง ซึ่งผลิตผลทั้งสองชนิดนี้เป็นสินค้าส่งออกของประเทศ
    • ก่อตั้งบริษัทฝ้ายไทย เพื่อตรึงราคาฝ้ายให้เกษตรกร
    • แนะนำให้ปลูก ถั่วเหลือง หลังปลูกข้าว หรือพืชไร่ เป็นการปรับดินให้มีปุ๋ยไนโตรเจนในดิน
    • ส่งเสริมการปลูกหอมหัวใหญ่ ปลูกพืชผักเมืองหนาวเช่นแครอท กะหล่ำปลี มะเขือเทศ บีทรูท เป็นต้น
    • ขยายพันธุ์ลำใยพันธุ์ดี
    • ส่งเสริมการปลูกใบยาสูบ
      • สมัยที่อยู่แม่โจ้ ได้สั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ยาสูบเวอร์จิเนียซึ่งมีเม็ดเล็กมาก จากสหรัฐอเมริกา ใส่ซองจดหมายส่งมาทางไปรษณีย์
      • คุณหญิงช่วงฯ ได้นำเมล็ดพันธุ์นี้มาผสมทรายละเอียดเกลี่ยเพื่อแบ่งเป็นส่วน ๆ นำไปเพาะในแปลงทดลองที่แม่โจ้ พบว่าขึ้นได้ดี จนศิษย์แม่โจ้รุ่นแรก ๆ เป็นเศรษฐียาสูบกันหลายคน
      • ได้สร้างโรงบ่มยาสูบที่แม่โจ้เป็นต้นแบบแห่งแรกในประเทศไทย
      • ระหว่างที่ท่านเป็นรัฐมนตรีเกษตรฯ ได้ขยายโรงงานยาสูบจากสะพานเหลือง ถนนพระราม 4 โดยจัดหาที่ดินของโรงงานยาสูบในปัจจุบัน ซึ่งพื้นที่บางส่วนได้ถูกแบ่งเป็น ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  • ดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานในตำแหน่งนี้ เช่น
    • ได้ให้องค์การป่าไม้นำรายได้จากสัมปทานป่าแม่อิง มาใช้เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    • สนับสนุนให้มีทีมรักบี้ โดยจ้างครูต่างประเทศมาฝึกสอน ทำให้ทีมรักบี้เกษตรศาสตร์ได้รางวัลชนะเลิศหลายครั้งจนมีชื่อเสียงมาก
    • กำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นวันเกษตรแห่งชาติ มีการประกวดพืชผล เช่นข้าวสายพันธุ์ปิ่นแก้วของเพชรบุรี ได้รางวัลชนะเลิศ ในปีแรก ทำให้มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ และยังมีการประกวดพืชพรรณอื่น ๆ ได้แก่ ข้าวโพด ผักสวนครัวต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมนี้ได้สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน
  • ท่านเป็นผู้มีคุณธรรม รักความซื่อสัตย์ ยุติธรรม อย่างยิ่งและจะไม่ยอมกระทำการใด ๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเด็ดขาด พ.ศ. 2495 เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ เมื่อท่านพ้นจากการเป็นรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้จัดการธนาคารเกษตร (ภายหลังควบรวมกิจการกับธนาคารมณฑล เป็นธนาคารกรุงไทย)

พ.ศ. 2483 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการค้า สมาคมพ่อค้าไทย ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

พ.ศ. 2499–2502 ได้รับแต่งตั้งเป็น ทูตวัฒนธรรม และผู้ดูแลนักเรียนไทย ในสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2503–2504 ครบเกษียณอายุราชการ จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย เป็นข้าราชการบำนาญ  ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ไร่เอสอาร์ ที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผลงานในช่วงที่ดูแลไร่เอสอาร์ ได้แก่

พ.ศ. 2518–2522 ภายหลังจากเกษียณอายุราชการ ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เป็นตำแหน่งสุดท้ายของการทำงาน ท่านเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง พรรคสัมมาชีพ-ช่วยชาวนา[1]

พระช่วงเกษตรศิลปการใช้ชีวิตบั้นปลายกับครอบครัวที่รัก และลูกหลานอยู่กันพร้อมหน้าอย่างอบอุ่น

  • ได้เล่นดนตรีไทยกับเพื่อนนักดนตรีไทยอย่างสนุกสนาน ตั้งชื่อวงว่า วงหนุ่มน้อย เพื่อนนักดนตรีไทย เช่น พระยามไหศวรรย์ เป็นต้น โดยนัดพบกันอาทิตย์ละครั้งสองครั้ง ณ บ้านไทยของท่านที่ ถนนลาดหญ้า
  • ในวันที่ 20 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเกิดของท่าน จะมีลูกศิษย์ที่รักและเคารพมาเยี่ยมท่านมิได้ขาด
  • หลังจากที่ท่านล่วงลับไปแล้ว ศิษย์แม่โจ้ยังมีการนัดกันทุกวันที่ 20 ของทุก ๆ เดือน ที่ภัตตาคารพงหลี ซึ่งประเพณีนี้ยังคงจัดอยู่จนทุกวันนี้แม้ท่านจะจากเราไปแล้ว

พระช่วงเกษตรศิลปการ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2531 สิริอายุได้ 88 ปี

รวมระยะเวลาในการรับราชการ รับใช้บ้านเมืองตั้งแต่เริ่มเป็นครูสอนในโรงเรียนสวนกุหลาบ พ.ศ. 2459 จนถึงตำแหน่งสุดท้าย คือ ทูตวัฒนธรรม และผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา จนเกษียณอายุราชการใน พ.ศ. 2502 เป็นเวลา 43 ปี  ด้วยคุณงามความดีของ พระช่วงเกษตรศิลปการ ที่มีต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวงการเกษตรของประเทศไทย ท่านได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบรรดาศิษย์รุ่นหลัง ๆ ได้สร้าง อนุสาวรีย์รูปเหมือนของพระช่วงเกษตรศิลปการเพื่อเป็นเกียรติประวัติ และเป็นที่สักการบูชาของชนชาวไทยต่อไป ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ณ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน อนุสาวรีย์รูปเหมือนของพระช่วงเกษตรศิลปการ เคียงคู่กับอนุสาวรีย์ของ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และ หลวงอิงคศรีกสิการ เป็นอนุสาวรีย์ 3 บูรพาจารย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดให้มีการวางพวงมาลา เพื่อระลึกถึงพระคุณของท่านทั้งสามในวันที่  2 กุมภาพันธ์ อันเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยทุกปี มาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้

สถานที่

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เกียรติคุณ

แก้

พ.ศ. 2494 เหรียญตรา และสายสะพายชั้นสูงจากประเทศสเปน จาก จอมพล ฟรันซิสโก ฟรังโก ประธานาธิบดีของสเปน

พ.ศ. 2506

  1. ใบประกาศเกียรติคุณ นิสิตเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
  2. โล่นิสิตเก่าดีเด่น สมาคมศิษย์เก่า คณะเกษตร มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ลอนบันยอส จาก เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์

พ.ศ. 2507 ได้รับพระราชทานปริญญา กสิกรรมและสัตวบาล ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทานปริญญา เทคโนโลยีการเกษตร ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์)  จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้

พ.ศ. 2527 โล่เกียรติคุณ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสผู้มีผลงานดีเด่นของประเทศ จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2527

ครอบครัว

แก้

พระช่วงเกษตรศิลปการ สมรสกับ คุณหญิงช่วงเกษตรศิลปการ (สำอางค์ ไรวา) เมื่อปี พ.ศ. 2471

มีบุตรธิดารวม 6 คน ได้แก่

  1. นางชื่นสุข โลจายะ
  2. แพทย์หญิงปานทิพย์ วิริยะพานิช
  3. ศ. เกียรติคุณ ดร.สิรินทร์ พิบูลย์นิยม
  4. ศ. นายแพทย์สมชาติ โลจายะ
  5. พ.ต.ท. สมชัย โลจายะ
  6. นายชวาล โลจายะ

อ้างอิง

แก้

เรียบเรียงโดย พญ.ปานทิพย์ วิริยะพานิช และ ศ.เกียรติคุณ ดร.สิรินทร์ พิบูลนิยม

  1. 1.0 1.1 1.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมืองพรรคสัมมาชีพ-ช่วยชาวนา
  2. พระราชทานยศ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๕๑๑, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๕๕๓๒, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๗๗, ๑๘ กันยาบน ๒๔๘๕


ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้