กรมประมง (อังกฤษ: Department of Fisheries) เป็น หน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา อาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

กรมประมง
Department of Fisheries
Seal of Department of Fisheries Thailand.png
ตราสัญลักษณ์กรมประมง
Seal of Department of Fisheries Thai original.png
ตรารูปแบบเดิม
Sign of Department of Fisheries Thai.png
เครื่องหมายราชการบนเครื่องแบบพนักงานราชการ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2476
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กรมรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. 2469
  • กรมการประมง พ.ศ. 2476
  • กรมประมง พ.ศ. 2496
สำนักงานใหญ่50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
งบประมาณประจำปี4,405,900,300 ล้านบาท (พ.ศ. 2563)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • เฉลิมชัย สุวรรณ​รักษ์[2], อธิบดี
  • มานพ หนูสอน, รองอธิบดี
  • ดร.​ ถาวร ทันใจ, รองอธิบดี
  • บัญชา สุขแก้ว, รองอธิบดี
  • ประพันธ์ ลีปายะกุล, รองอธิบดี
เอกสารหลัก
  •  ● พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2558
เว็บไซต์http://www.fisheries.go.th

ประวัติแก้ไข

เดิมกรมประมง จัดตั้งขึ้นมาตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า กรมรักษาสัตว์น้ำ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2469 สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่ในการดูแลการจับสัตว์น้ำ เพื่อเป็นอาหารภายในประเทศ และเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ รวมถึงกำหนดระยะเวลาในการอนุญาตจับสัตว์น้ำตามพระราชบัญญัติอากรน้ำ ร.ศ. 120 โดยมี ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำคนแรก[3]

ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ยุบรวมกระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม เป็นกระทรวงเกษตรพาณิชยการ จากนั้นได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม เปลี่ยนชื่อ 3 กระทรวงที่ยุบเป็น กระทรวงเศรษฐการ ซึ่งมีชื่อกรมการประมงอยู่ใน ราชการส่วนเกษตร[4] และย้ายมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ในปี พ.ศ. 2484[5] และมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเนื้อหาได้ปรับเปลี่ยนชื่อจากกรมการประมง เป็น "กรมประมง"[3]

หน่วยงานในสังกัดแก้ไข

ราชการบริหารส่วนกลาง[6]แก้ไข

  •  
    อาร์มเจ้าหน้าที่ตรวจการประมง กรมประมง
    สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองกฎหมาย
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองคลัง
  • กองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต
  • กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ
  • กองตรวจการประมง
  • กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง
  • กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง
  • กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ
  • กองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมง
  • กองประมงต่างประเทศ
  • กองแผนงาน
  • กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น
  • กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
  • กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
  • กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
  • กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
  • กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด
  • กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ
  • กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ
  • กองวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์น้ำ
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ราชกรบริหารส่วนภูมิภาคแก้ไข

  •  
    เรือตรวจประมงทะเล หมายเลข 605
    สำนักงานประมงจังหวัด
  • สำนักงานประมงอำเภอ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด 31 หน่วยงาน และสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง 15 หน่วยงาน และสถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำชายฝั่ง
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเล 5 หน่วยงาน
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 1 หน่วยงาน
  • ศูนย์วิจัยและตรวจสอบพันธุ์สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 3 หน่วยงาน
  • ศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ำ 5 หน่วยงาน
  • ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืด 7 หน่วยงาน และหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืด 10 หน่วยงาน
  • ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเล 5 หน่วยงาน
  • สถานีประมงน้ำจืด 14 หน่วยงาน
  • สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 5 หน่วยงาน
  • ส่วนตรวจการค้าสัตว์น้ำ 1 หน่วยงาน และด่านตรวจสัตว์น้ำ 6 หน่วยงาน

งานวันประมงน้อมเกล้าฯแก้ไข

งานประมงน้อมเกล้าฯ เป็นกิจกรรมการแสดงนิทรรศการของการประมงในประเทศไทย โดยเน้นไปที่ปลาสวยงามเป็นหลัก จัดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ณ บริเวณสวนอัมพร[7]

เรือแก้ไข

เรือสำรวจแก้ไข

  • เรือสำรวจประมงมหิดล เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2537 ทำหน้าที่สำรจและวิจัยทางทะเล สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเลลึก[8]

เรือตรวจประมงแก้ไข

  • เรือตรวจประมงทะเล 1001 (สมุย) ความยาว 100 ฟุต กินน้ำลึก 5 ฟุต ตรวจการณ์ฝั่งอ่าวไทย[9]
  • เรือตรวจประมงทะเล 1002 ความยาว 100 ฟุต กินน้ำลึก 5 ฟุต ตรวจการณ์ฝั่งทะเลอันดามัน [9]

อ้างอิงแก้ไข

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. เช็ก มติ ครม. แต่งตั้งครบทุกตำแหน่งที่นี่
  3. 3.0 3.1 ประวัติกรมประมง. "Department of Fisheries | กรมประมง". www4.fisheries.go.th.
  4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๗๖
  5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๘๔
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/047/16.PDF
  7. หน้า ๑๗๔, ๘๔ ปี สถาปนากรมประมง, วารสารพิเศษของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
  8. "เรือสำรวจประมงมหิดล". www.fisheries.go.th.
  9. 9.0 9.1 aof (2018-12-14). "กรมประมง เอาจริง! ปล่อยเรือตรวจประมงทะเล 2 ลำใหญ่ ป้อง IUU อ่าวไทย-อันดามัน". ประชาชาติธุรกิจ.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข