หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์)
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ นามเดิม ทองดี เรศานนท์ (10 มีนาคม พ.ศ. 2439 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) ผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตอธิบดีกรมเกษตรและกรมประมง พ.ศ. 2477 - 2479 และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2489-2501
หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) | |
---|---|
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 – 30 เมษายน พ.ศ. 2501 | |
ก่อนหน้า | ทวี บุณยเกตุ |
ถัดไป | หลวงอิงคศรีกสิการ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มีนาคม พ.ศ. 2439 ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา |
เสียชีวิต | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (67 ปี) โรงพยาบาลกลาง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร |
อนึ่ง ราชทินนาม "หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ" นั้น มาจาก
- สุวรรณ แปลว่า ทอง
- วาจก แปลว่า ผู้บอกกล่าว
- กสิ แปลว่า การเพาะปลูก
- กิจ แปลว่า งาน
ซึ่งมีความหมายโดยรวมว่า "พูดเรื่องการเกษตรให้เป็นเงินเป็นทอง"
การศึกษา
แก้- สำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่ จ.นครราชสีมา
- สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมที่ จ.บุรีรัมย์
- ได้รับเลือกเป็นนักเรียนหลวง ศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาที่ โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- สำเร็จการศึกษาชั้นอุดมศึกษาที่ แผนกครุศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฟิลิปปินส์
- ได้รับปริญญาเอก (กิตติมศักดิ์) จาก มหาวิทยาลัยโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ได้รับปริญญากสิกรรมและสัตวบาลดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทำงาน
แก้- พ.ศ. 2460 รับราชการครูโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวังพระนคร
- พ.ศ. 2461 รับราชการครูโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมพระประทน จ.นครปฐม
- พ.ศ. 2467 รับราชการครูโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
- พ.ศ. 2471 รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ
- พ.ศ. 2472 อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมทับกวาง จ.สระบุรี
- พ.ศ. 2477 อธิบดีกรมเกษตรและกรมประมง
- พ.ศ. 2479 ผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำกรมเกษตรและกรมประมง และผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการกรมเกษตร
- พ.ศ. 2482 ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- พ.ศ. 2489-2501 อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผลงาน
แก้- ริเริ่มจัดให้มีวันเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมาชมงาน และได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งต่อมาเป็นวันเกษตรแห่งชาติ
- ส่งเสริมวิทยาการเกษตรสมัยใหม่ โดยการเผยแพร่ความรู้ทางสื่อมวลชนต่างๆ เช่น สาสน์ไก่ วิทยาจารย์ หนังสือพิมพ์พักกสิกร และออกรายการทางวิทยุกระจายเสียง
- ริเริ่มให้มีการเลี้ยงไก่เป็นการค้า และสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคไข่ดังคำขวัญของท่านว่า "กินไข่วัน ละฟอง ไม่ต้องไปหาหมอ"
- จัดให้มีการสาธิตอาชีพเกษตรในมหาวิทยาลัยเช่นการเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา แพะ วัว กระต่าย ทำสวนผัก สวนผลไม้
- ส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงโคนม ทดลองเลี้ยงโคนมและผลิตนมสดที่เรียกว่า "นมเกษตร"
- ทดลองเลี้ยงปลาจีนเป็นครั้งแรก
- ทดลองปลูกพืชผักพันธุ์ใหม่ๆ เช่น มะเขือเทศ ถั่วลันเตา บร๊อกเคอรี่
- ริเริ่มปลูกพืชอาหารสัตว์เช่น ข้าวโพด ภายหลังได้พัฒนาข้าวโพดขึ้น และใช้ชื่อท่านเป็นชื่อพันธุ์ คือ ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 สุวรรณ 2
ชีวิตครอบครัว
แก้หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้สมรสกับ คุณเสงี่ยม ศรีเพ็ญ (ธิดาพระเลิศแหล่งตลุ ) มีบุตร 5 คน คือ
- นายพร เรศานนท์
- นายแพทย์ถวิล เรศานนท์
- นางเพ็ญศรี เอกก้านตรง
- นายพงษ์ เรศานนท์
- นางสาวเพ็ญพรรณ เรศานนท์
และมีบุตรกับ คุณเลื่อน วัฒนสุข (ธิดานายฉาก วัฒนสุข) อีก 2 คน คือ
- นายไพรวรรณ เรศานนท์
- นางสาวพรทิพย์ เรศานนท์
สถานที่
แก้- อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์
- สวน ๑๐๐ ปี หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[1]
- พ.ศ. 2494 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๓, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๕๐, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๔๗ ง หน้า ๑๒๑๐, ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๗๘, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๘๑๕, ๙ มีนาคม ๒๔๙๗