ทำนอง สิงคาลวณิช

ศาสตราจารย์พิเศษ ทำนอง สิงคาลวณิช (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2527)[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นอดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรคนแรก (ผู้ก่อตั้งกรมส่งเสริมการเกษตร)[2]

ทำนอง สิงคาลวณิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
เสียชีวิต17 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
คู่สมรสตระการ สิงคาลวณิช

ประวัติ

แก้

ทำนอง สิงคาลวณิช เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ที่ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรหลวงบำรุงราชนิยม (สูญ สิงคาลวณิช) และนางเทียบ บำรุงราชนิยม มีพี่น้อง 9 คน

ทำนอง สิงคาลวณิช สมรสกับนางตระการ สิงคาลวณิช (สกุลเดิม มิลินทสูต) บุตรของพระยาโภชากร (ตริ มิลินทสูต) และคุณหญิงชิต โภชากร มีบุตร 3 คน

ทำนอง สิงคาลวณิช ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์)

การทำงาน

แก้

ทำนอง สิงคาลวณิช รับราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรคนแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2518[3] จนกระทั่งได้รับการยกย่องโดยการสร้างอนุสาวรีย์บริเวณหน้ากรมส่งเสริมการเกษตร[4]

ทำนอง เป็นอาจารย์พิเศษในการจัดทำเอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[5]

ทำนอง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์พิเศษ ทำนอง สิงคาลวณิช ม.ว.ม., ป.ช. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2527. กรุงเทพ : บริษัทบพิธการพิมพ์. 2527.
  2. งานสถาปนาครบรอบ 52 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร
  3. สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมการเกษตร
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  5. เอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร เล่ม 1 : หน่วยที่ 1-7
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๘๘๑, ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑