สุพัฒน์ สุธาธรรม
ศาสตราจารย์พิเศษ สุพัฒน์ สุธาธรรม เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ศาสตราจารย์พิเศษ สุพัฒน์ สุธาธรรม ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | |
ก่อนหน้า | เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
ถัดไป | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2458[1] อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2527 |
คู่สมรส | นางมาลี สุธาธรรม |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติและหน้าที่การงานแก้ไข
ศ. (พิเศษ) สุพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 ที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร (ปัจจุบัน คือ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรชายของนายประสาน และนางผึ้ง สุธาธรรม มีพี่น้อง 4 คน โดย ศ. (พิเศษ) สุพัฒน์ เป็นบุตรคนที่ 3 จบการศึกษาจากโรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยา จากนั้นได้สอบชิงทุนจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้สำเร็จ ไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยริคเคียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2484 ได้ปริญญาโทด้านพาณิชยศาสตร์ และเข้าทำงานที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองเมื่ออายุได้เพียง 37 ปี
ด้านชีวิตส่วนตัวได้สมรสกับนางมาลี อุณหสุวรรณ บุตรีของหลวงประกอบธนกิจ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร มีบุตร 4 คน
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2508 และในปี พ.ศ. 2515 ได้ตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ต่อมาในปลายปีเดียวกัน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ต่อมาไม่นานก็เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2517 ได้ลาออกจากราชการเพื่อรับบำนาญ โดยที่ตัวของ ศ. (พิเศษ) สุพัฒน์ สุธาธรรม มิได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่ง[2]
หลังการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2519 จากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยพล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ศ. (พิเศษ) สุพัฒน์ สุธาธรรม ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร[3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้ง ในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[4][5]
ศ. (พิเศษ) สุพัฒน์ สุธาธรรม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ด้วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2527[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[9]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์สุพัฒน์ สุธาธรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-18. สืบค้นเมื่อ 2015-10-09.
- ↑ หน้า 10 บทความ–การ์ตูน, สุพัฒน์ สุธาธรรม : ขุนคลังหลัง 6 ตุลาคม 2519. "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,389: วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 แรม 3 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-10.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-10.
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ สุพัฒน์ สุธาธรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘๖, ๔ มกราคม ๒๕๐๖