ดำริ น้อยมณี
ดำริ น้อยมณี เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (ครม.40, 41) ในระหว่างปี พ.ศ. 2520 ถึงปี พ.ศ. 2523 และเป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ดำริ น้อยมณี | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 22 เมษายน พ.ศ. 2522 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศโท สิทธิ เศวตศิลา เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ สวัสดิ์ คำประกอบ พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ปรีดา กรรณสูต เกษม จาติกวณิช พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเอก พร ธนะภูมิ ประมวล กุลมาตย์ บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ |
ถัดไป | มีชัย ฤชุพันธุ์ เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ สมศักดิ์ ชูโต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มีนาคม พ.ศ. 2467 |
เสียชีวิต | 12 มกราคม พ.ศ. 2540 (72 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้ดำริ น้อยมณี เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และได้รับแต่งตั้งอีกครั้งในรัฐบาลคณะต่อมา นำโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[1] กระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 หลังการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2] กระทั่งเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในสภาผู้แทนราษฎร ขณะกำลังจะเริ่มประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร[3]
ในปี พ.ศ. 2525 เขาได้ร่วมก่อตั้งพรรคชาติประชาธิปไตย โดยมีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายดำริ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[7]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ การเมืองตำนานการเมือง พล.อ.เกรียงศักดิ์ เป็นนายกฯ คนนอกได้เพราะเสียง ส.ว.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๙ กรกฎาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๒๒, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑