สุธรรม ภัทราคม
ศาสตราจารย์พิเศษ สุธรรม ภัทราคม เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 2 สมัย เป็นอดีตประธานศาลฎีกา
สุธรรม ภัทราคม | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | เสมา รัตนมาลัย |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 | |
ถัดไป | รัตน์ ศรีไกรวิน |
ประธานศาลฎีกา | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 30 กันยายน พ.ศ. 2520 | |
ก่อนหน้า | จินดา บุณยอาคม |
ถัดไป | วิกรม เมาลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กันยายน พ.ศ. 2460 |
เสียชีวิต | 3 มกราคม พ.ศ. 2533 (72 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงชัดเจน ภัทราคม |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์พิเศษ สุธรรม ภัทราคม เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2460 จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับคุณหญิงชัดเจน ภัทราคม บุตรีพระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ มีบุตร-ธิดา 5 คน
ศาสตราจารย์พิเศษ สุธรรม ภัทราคม ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2533 โดยมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยากรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2533
การทำงาน
แก้ศาสตราจารย์พิเศษ สุธรรม ภัทราคม เป็นศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึงปี พ.ศ. 2520 ต่อมาในเดือพฤศจิกายนของปีเดียวกัน ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[1] และได้รับแต่งตั้งอีกวาระหนึ่งในรัฐบาลต่อมา[2] จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523[3]
ประสบการณ์
แก้- ประธานกรรมการเอไอเอ (พ.ศ. 2518–2524)
- ประธานกรรมการบางกอกสหประกันภัย (พ.ศ. 2525–2530)
- กรรมการธนาคารนครหลวงไทย (พ.ศ. 2513–2518)
- กรรมการธนาคารสหธนาคาร (พ.ศ. 2511–2517)
- กรรมการการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2525–2529)
- กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2525–2530)
- กรรมการเมืองไทยประกันชีวิต (พ.ศ. 2526–2531)
- กรรมการธนาคารมหานคร (พ.ศ. 2528–2531)
- กรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2524–2530)
- กรรมการไทยพัฒนาประกันภัย (พ.ศ. 2512–2519)
- กรรมการวิทยุการบินแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2523–2530)
- กรรมการบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (พ.ศ. 2519–2523)
- กรรมการองค์การแก้ว (พ.ศ. 2518–2524)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๓๐, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔