วงศ์ พลนิกร
วงศ์ พลนิกร (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2544) อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย 2 สมัย
วงศ์ พลนิกร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย |
เสียชีวิต | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2544 (82 ปี) |
คู่สมรส | แพทย์หญิง ประนอม พลนิกร |
ประวัติ
แก้วงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 ที่ตำบลดอนหมู อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต[1]
วงศ์ พลนิกร เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2544 สิริอายุรวม 82 ปี[2]
งานการเมือง
แก้อดีตเคยดำรงตำแหน่งข้าราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ วงศ์ลาออกจากกระทรวงการต่างประเทศมาสมัครลงเลือกตั้ง ขณะนั้นวงศ์เป็นปลัดกระทรวงอยู่ ก่อนเกษียณอายุลงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 ครั้ง
วงศ์ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชะมะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 40)[3] ต่อมา ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ เช่นเดียวกัน (ครม. 41)[4] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม. 43)[5]
วงศ์ พลนิกร เคยร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติประชาธิปไตย[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้วงศ์ พลนิกร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2528. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2528
- ↑ ใช่เพียงความทรงจำ : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายวงศ์ พลนิกร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ. วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2545 ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร. 2545
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙๒, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๘ ง หน้า ๑๑๗๑, ๕ เมษายน ๒๕๐๓