ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (เกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2476) เป็นอดีตประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) โดยลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562[3] เจ้าของโรงพยาบาลนนทเวช โดยถือหุ้นไว้ 1.37%

ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
ม.ว.ม., ป.ช., ป.ภ., ว.ป.ร.๔
เกิด22 มีนาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี)[1]
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งและเจ้าของกรุงเทพดุสิตเวชการ
เจ้าของบางกอกแอร์เวย์ส
เจ้าของบริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด
คู่สมรสวัลลีย์ ปราสาททองโอสถ (โปษยะจินดา)
บุตร5
ห้างปราสาททองโอสถ

นักธุรกิจ มหาเศรษฐีชาวไทย ผู้ก่อตั้งและเป็นเจ้าของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด กลุ่มการดูแลสุขภาพเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นเจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส

ประวัติแก้ไข

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เกิดเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของ หมอทองอยู่ (ช้างบุญชู) ปราสาททองโอสถ และ บุญรอด ปราสาททองโอสถ นายแพทย์ปราเสริฐสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแพทยศาสตร์บัณฑิตจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล [4]

อาชีพแก้ไข

เขาเป็นเจ้าของปราสาททองโอสถและกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มดูแลสุขภาพเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เขาเป็นประธานและประธานบริหารของกรุงเทพดุสิต และประธานบริหารและรองประธานของบางกอกแอร์เวย์ส[4]

ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ฟอบส์ ประเมินมูลค่าสุทธิ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. "รวยจริงเขาคือใคร! 10 รู้จัก ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย". thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 30 August 2018.
  2. "Forbes profile: Prasert Prasarttong-Osoth". Forbes. สืบค้นเมื่อ 30 August 2018.
  3. "ชี้แจงกรณี ก.ล.ต. ใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับกรรมการและผู้บริหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 2019-01-21.
  4. 4.0 4.1 {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔