รุ่งธรรม พุ่มสีนิล
รุ่งธรรม พุ่มสีนิล (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - ) เป็นนักคิดนักสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ ในรูปแบบเกมโชว์ ควิซโชว์ และเรียลลิตี้ อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ (Managing Director) ของ บริษัท มีมิติ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด ควบคู่กับการเป็นผู้อำนวยการสถานี ช่องวัน (ONE HD) โดยได้รางวัลจากรายการต่าง ๆ มากมายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะรายการแฟนพันธุ์แท้ ซึ่งในอดีตรุ่งธรรมเคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต (Vice President Production) ของ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
รุ่งธรรม พุ่มสีนิล | |
---|---|
เกิด | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2516 |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (การละคร) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ | นักสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ |
องค์การ | บริษัท มีมิติ จำกัด |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | สนันนาถ เกตุตรีกร |
บุตร | กำลังแผ่นดิน พุ่มสีนิล, จอมคน พุ่มสีนิล |
ประวัติแก้ไข
รุ่งธรรม พุ่มสีนิล หรือ รุ่ง เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ สาขาการละคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รุ่งธรรมสมรสกับสนันนาถ เกตุตรีกร ปัจจุบันมีบุตรสองคน คือ กำลังแผ่นดิน พุ่มสีนิล และจอมคน พุ่มสีนิล[1]
เข้าทำงานกับเวิร์คพอยท์แก้ไข
หลังจากเรียนจบ รุ่งธรรมเข้าทำงานที่ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2538 ในตำแหน่ง กำกับเวที / Co-Producer / Producer ตามลำดับ และเริ่มต้นทำรายการแฟนพันธุ์แท้ เมื่อ พ.ศ. 2543 ซึ่งถือเป็นรายการแรกที่รุ่งธรรมให้กำเนิดและกลายเป็นรายการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในระดับตำนานรายการหนึ่งของเขา ต่อจากนั้นก็เป็นรายการที่สร้างความฮือฮาทั้งในด้านรายได้และเรตติ้ง นั่นก็คือรายการ เกมทศกัณฐ์ ที่สร้างประวัติศาสตร์ว่าเป็นเกมโชว์ที่เรตติ้งสูงที่สุด เรียกได้ว่าสูสีกับละครหลังข่าวเลยทีเดียว
รุ่งธรรมดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต (Vice President Production) จนถึงปี พ.ศ. 2552 โดยเป็นผู้กำหนดทิศทางและควบคุมการผลิตรายการโทรทัศน์ที่เป็นรูปแบบ เกมโชว์ ควิซโชว์และเรียลลิตี้โชว์ ของเวิร์คพอยท์ โดยเป็นผู้รับผิดชอบสร้างสรรค์และให้กำเนิดรายการที่มีชื่อเสียงหลายรายการ จึงถือได้ว่าเขาคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังคำว่า "เจ้าพ่อเกมโชว์" ของเวิร์คพอยท์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั่นเอง
นอกจากนี้รุ่งธรรมยังเป็นผู้คิด รหัสลับอัจฉริยะ ซึ่งเป็นเกมในรายการอัจฉริยะข้ามคืนอีกด้วย โดยเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่าได้แนวคิดของเกมนี้มาจากความเชื่อของคนไทยในเรื่องการตีเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลจากความฝัน[2] และยังเป็นผู้คิดคอนเซ็ปท์และชื่อของรายการ SME ตีแตก อีกด้วย
ก่อตั้งเซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์แก้ไข
ปี พ.ศ. 2553 รุ่งธรรมก่อตั้ง บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ร่วมกับ วราวุธ เจนธนากุล โดย ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์ คือรายการแรกที่เซ้นส์ผลิต ซึ่งมีเรียลลิตี้ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ ช่วง will you marry me หรือ แต่งงานกันเถอะ ต่อมาบริษัทได้ผลิตรายการเพิ่มอีก 2 รายการ คือ 5 มหานิยม และ เกมเนรมิต ซึ่งทั้งหมดออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และหลังจากนั้นได้ขยายการผลิตรายการต่าง ๆ เป็นจำนวนกว่า 20 รายการ
ก่อตั้งมีมิติแก้ไข
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554 รุ่งธรรมได้ร่วมทุนกับบริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด ก่อตั้ง บริษัท มีมิติ จำกัด ขึ้น[3][4][5] มีจุดประสงค์ที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ให้กับวงการโทรทัศน์ไทย โดยเฉพาะรายการประเภทเกมโชว์ ควิซโชว์ และเรียลลิตี้ แต่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 จีเอ็มเอ็มทีวีได้โอนหุ้นในมีมิติให้บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ถือหุ้นแทน[6] ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 รุ่งธรรมได้รับโอนหุ้นมีมิติจากเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มาเพิ่มเพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจ[7]
ผลงานแก้ไข
พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553
|
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558
|
พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2563
|
หมายเหตุ 1: ชื่อรายการที่เป็นตัวหนา คือรายการที่ผลิตในนาม บริษัท มีมิติ จำกัด
รางวัลที่ได้รับแก้ไข
พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2548
|
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2556
|
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ คอลัมน์ a day with a view นิตยสารอะเดย์ ฉบับที่ 72
- ↑ อัจฉริยะข้ามคืน เกมของคนช่างคิด
- ↑ "ข้อมูล บริษัท มีมิติ จำกัด". dataforthai.com. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563. Check date values in:
|access-date=
(help) - ↑ "แจ้งการลงทุนของบริษัทย่อย" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
- ↑ เฟื่องวัฒนานนท์, สุรเชษฐ์ (2556). GRAMMY: Annual Report 2012. p. 50. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563. Check date values in:
|accessdate=, |year=
(help) - ↑ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (24 มิถุนายน 2558). "ที่ GRAMMY 017/2558" (PDF). grammy.listedcompany.com. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "รายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับ รายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน กรณีการเข้าลงทุนเพิ่มเติมในบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด" (PDF). เจดี พาร์ทเนอร์. 2017-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27. line feed character in
|title=
at position 51 (help)