วิทยสัประยุทธ์
วิทยสัประยุทธ์ เป็นรายการเกมโชว์ที่ริเริ่มขึ้นโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ[ต้องการอ้างอิง] เป็นรายการเกมโชว์เกี่ยวกับทางด้านวิทยาศาสตร์ ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เริ่มออกอากาศคืนวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554 และออกอากาศครั้งสุดท้ายวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ดำเนินรายการโดย ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ เดิมออกอากาศในเวลา 20.20-21.15 น. แต่ใน พ.ศ. 2555 ได้ย้ายเวลาออกอากาศเป็น 18.00-18.55 น.
วิทยสัประยุทธ์ | |
---|---|
ประเภท | เกมโชว์ |
พิธีกร | ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
การผลิต | |
ความยาวตอน | 55 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 5 |
ออกอากาศ | 5 มีนาคม พ.ศ. 2554 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 |
รูปแบบรายการ
แก้รูปแบบรายการเป็นการแข่งขันการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยทางรายการจะกำหนดโจทย์ให้แต่ละทีมประดิษฐ์อุปกรณ์ที่จะนำมาแก้ไข พร้อมทั้งนำเสนอระบบการทำงานของอุปกรณ์นั้นให้กับคณะกรรมการ
- ปีที่ 1 จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 สาย ได้แก่ สายภูผา (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สายแผ่นดิน (ภาคกลางและภาคตะวันออก) และสายมหาสมุทร (ภาคใต้และภาคตะวันออก) ซึ่งแต่ละสายจะมีโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม เพื่อหาแชมป์ประจำสาย โดยแชมป์และรองแชมป์ในแต่ละสาย รวมถึงโรงเรียนที่มีคะแนนสูงสุดของทั้ง 3 สาย 2 โรงเรียนมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงแชมป์ระดับประเทศ
- ปีที่ 2 จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 สาย โดยได้เพิ่มมาอีก 1 สายคือ สายแผ่นฟ้า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) แต่ในแต่ละสายจะมีโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันเหลือเพียง 8 ทีม โดยจะแตกต่างจากปีที่ 1 คือ จะมีเพียงแชมป์และรองแชมป์ในแต่ละสายเท่านั้น ที่จะมีมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงแชมป์ระดับประเทศ และคณะกรรมการจะเพิ่มมาอีก 1 ท่าน คือ ผู้เชียวชาญในแต่ละสาขาตามที่โจทย์กำหนดในแต่ละสัปดาห์ โดยของสายภูผาและสายแผ่นฟ้าการถ่ายทำในช่วงที่ประดิษฐ์อุปกรณ์การแข่งขันจะเปลี่ยนจากในห้องส่งไปถ่ายทำที่โรงเรียนแทน และตั้งแต่รอบชิงแชมป์ประจำสายแผ่นฟ้าเป็นต้นไปก็กลับมาถ่ายที่ห้องส่งตามเดิม แต่มีการถอดรหัสเพื่อรับโจทย์ด้วย โดยให้ใช้เวลา 6 ชั่วโมงในการถอดรหัสและการประดิษฐ์ ในรอบชิงแชมป์ระดับประเทศ ในการแข่งขันเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมด จำนวน 4 คู่ 8 โรงเรียน โรงเรียนที่ชนะจะได้รับ 1 คะแนน ส่วนที่โรงเรียนที่แพ้นั้นจะได้รับคะแนน 0 คะแนน โรงเรียนใดที่มีคะแนนสะสมมากกว่า 2 อันดับแรกไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่อันดับ 3 และ 4 ไปแข่งขันในรอบชิงอันดับ
ปี | สาย | แชมป์ประจำสาย | รองแชมป์ประจำสาย | รองแชมป์ระดับประเทศ | แชมป์ระดับประเทศ |
---|---|---|---|---|---|
ปีที่ 1 (พ.ศ. 2554) |
สายภูผา | โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จ.สุโขทัย | โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ | โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี | โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ |
สายแผ่นดิน | โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพมหานคร | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี | |||
สายมหาสมุทร | โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี | โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช | |||
ปีที่ 2 (พ.ศ. 2555) |
สายภูผา | โรงเรียนปัว จ.น่าน | โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จ.สุโขทัย | โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี | โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จ.ขอนแก่น |
สายแผ่นฟ้า | โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย (โครงการ วมว. มทส.) จ.นครราชสีมา | โรงเรียน ศรีกระนวนวิทยาคม จ.ขอนแก่น | |||
สายมหาสมุทร | โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี | โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร" จ.ระยอง | |||
สายแผ่นดิน | โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จ.เพชรบุรี | โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม |
16 อันดับการสัประยุทธ์
แก้อันดับ | โจทย์ |
---|---|
16 | ถล่มตึกด้วยประทัด หย่อนลูกไฟข้ามกำแพง |
15 | เหลาดินสอ 1,000 แท่งแข่งกับเวลา |
14 | ทลายกำแพงกระป๋องระยะไกลด้วยกระดาษ 1 แผ่น |
13 | หยุดไถลใกล้หน้าผา |
12 | ใช้หนังยางตัดของ |
11 | อาม่ายกรถ |
10 | จุดพลุระยะไกลด้วยไฟจากไม้ขีด |
9 | เรือกะละมัง พลังน้ำแข็งแห้ง |
8 | ส่งเสบียงขึ้นตึก |
7 | ส่งธิดาช้างเก็บมะพร้าว |
6 | แยกหมูเป็ดไก่ |
5 | ลากรถด้วยไฟ |
4 | ย้ายถังน้ำมันด้วยเชือก |
3 | ขนภูเขาแก้ว ขึ้นเขาลงห้วย |
2 | ดิ่งพสุธาจากตึก 6 ชั้น |
1 | ใช้ลม ชกมวย |
คณะกรรมการ
แก้- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด บัณฑิตโครงการ พสวท.และ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (5 มีนาคม 2554 - 23 กุมภาพันธ์ 2556)
- ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช บัณฑิตโครงการ พสวท.รองผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้และอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2 เมษายน 2554 - 23 กุมภาพันธ์ 2556)
- ดร.วิฑูร ชื่นวชิรศิริ บัณฑิตโครงการ พสวท.และ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (10 มีนาคม 2554 - 11 มิถุนายน 2554)
- อ.ราม ติวารี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (5 มีนาคม 2554)
- อ.สติยา ลังการ์พินธุ์ บัณฑิตโครงการ พสวท.และหัวหน้าโครงการบริหารโครงการพิเศษ สสวท. (10 กันยายน 2554 - 24 กันยายน 2554)
- ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (17 มีนาคม 2555 - 31 มีนาคม 2555 )
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (สิงหาคม - 8 กันยายน 2555)
- ดร.วรการ นียากร บัณฑิตในโครงการ พสวท. อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (15 กันยายน 2555)
รางวัลที่ได้รับ
แก้- รางวัลชนะเลิศประเภทสาขาเกมโชว์ยอดเยี่ยม จาก เวที ASIAN TELEVISION AWARDS 2011 ครั้งที่ 16 ประจำปี 2554 ณ ประเทศสิงคโปร์
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทรางวัลรายการส่งเสริมความรู้ทั่วไปดีเด่น จากชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ ครั้งที่ 26 ประจำปี 2554 ณ หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์[1]
- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 สาขารางวัลรายการส่งเสริมความรู้และการศึกษามณีเมขลาดีเด่นยอดนิยม[2]
- รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 4 สาขารางวัลรายการเด็กยอดเยี่ยม
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
- ↑ ประกาศผลรางวัลเมขลา ครั้งที่ 24
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์รายการวิทยสัประยุทธ์ เก็บถาวร 2012-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน