พิกัดภูมิศาสตร์: 37°30′N 14°00′E / 37.500°N 14.000°E / 37.500; 14.000

ซิซิลี (อังกฤษ: Sicily) หรือ ซีชีเลีย (อิตาลี: Sicilia; ซิซิลี: Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต

แคว้นซิซิลี

Regione Siciliana (อิตาลี)
ธงของแคว้นซิซิลี
ธง
ตราราชการของแคว้นซิซิลี
ตราอาร์ม
เพลง: Madreterra
ประเทศธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
เมืองหลักปาแลร์โม
การปกครอง
 • ประธานNello Musumeci (DB)
พื้นที่
 • ทั้งหมด25,711 ตร.กม. (9,927 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2019)[1] (ร้อยละ 8.3 ของอิตาลี)
 • ทั้งหมด4,969,147 คน
 • ความหนาแน่น190 คน/ตร.กม. (500 คน/ตร.ไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์[2]
 • ซิซิลี98%
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
ISO 3166 codeIT-82
จีดีพี (เฉลี่ย)89.2 พันล้านยูโร (2018)[3]
จีดีพีต่อหัว17,800 ยูโร (2018)[3]
เอชดีไอ (2019)0.845[4]
สูงมาก · อันดับที่ 21 จาก 21
ภูมิภาค NUTSITG
เว็บไซต์PTI.Regione.Sicilia.it

ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Statistiche demografiche ISTAT". Demo.istat.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2019. สืบค้นเมื่อ 16 June 2020.
  2. "Statistiche demografiche ISTAT". Demo.istat.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2012. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  3. 3.0 3.1 "Regional GDP per capita ranged from 30% to 263% of the EU average in 2018" (Press release). ec.europa.eu. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  4. "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้