หอมใหญ่
หอมใหญ่ | |
---|---|
หัวของหอมใหญ่ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Liliopsida |
อันดับ: | Asparagales |
วงศ์: | Amaryllidaceae |
วงศ์ย่อย: | Allioideae |
สกุล: | Allium |
สปีชีส์: | cepa |
ชื่อทวินาม | |
Allium cepa L. |
หอมใหญ่ หรือ หัวหอม เป็นพืชหัว (bulb) ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดีที่ค่าความเป็นกรด-เบสช่วง 6.0–6.8 อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 15–24 องศาเซลเซียส และมีความเค็มของดินปานกลาง เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับหอมแดง ต้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีลักษณะกลม มีเปลือกนอกบางๆหุ้มอยู่ เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลอ่อน ภายในเป็นกาบสีขาวซ้อนกัน ลักษณะของดอกมีสีขาว เป็นช่อ มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาว แทงออกจากลำต้นใต้ดิน [1] ช่วงเวลาในการเพาะปลูกและเก็บผลผลิต : ให้ผลผลิต 2 ครั้งใน 1 ปี คือ ช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน และในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์[2]
สรรพคุณ
แก้หอมใหญ่ช่วยลดการอุดตันไขมันในเส้นเลือด ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยเพิ่มไขมันชนิดดี (HDL: High-density lipoproteins) และช่วยทำหน้าที่ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน สารกำมะถันในหอมใหญ่ช่วยยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง เมื่อตำผสมกับเหล้าเล็กน้อยแล้วนำมาพอก จะลดการอักเสบอาการบวมได้
อ้างอิง
แก้- หนังสืออาหารเป็นยา ทางเลือกที่ไม่ต้องใช้ยา
- หนังสือผักพื้นบ้าน: อาหารที่ไม่ควรมองข้าม
- สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ ชรินดา สุขแสนชนานันท์ สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ สุภาภรณ์ ศิริโสภณา สายสุณีย์ ลิ้มชูวงศ์ . 2551. การลดความเครียดจากเกลือในรากหอมใหญ่ด้วยกลีเซอรอล บีเทน และโพรลีน[ลิงก์เสีย]. Proceedings นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 4