การปฏิวัติเฮติ (ฝรั่งเศส: révolution haïtienne; ครีโอลเฮติ: revolisyon ayisyen) คือการก่อการกำเริบที่ประสบความสำเร็จของทาสที่ปลดปล่อยตนเองจากการปกครองแบบอาณานิคมของฝรั่งเศสในแซ็ง-ดอแม็งก์ซึ่งปัจจุบันคือรัฐเอกราชเฮติ การลุกขึ้นต่อต้านเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1791[3] และสิ้นสุดใน ค.ศ. 1804 ด้วยเอกราชของอดีตอาณานิคม การปฏิวัตินี้มีผู้เข้าร่วมทั้งชนผิวดำ ชนสองเชื้อชาติ ชาวฝรั่งเศส ชาวสเปน ชาวอังกฤษ และชาวโปแลนด์ โดยอดีตทาสอย่างตูแซ็ง ลูแวร์ตูร์ ได้กลายเป็นวีรบุรุษผู้มีบารมีมากที่สุดของเฮติ การปฏิวัติเฮติเป็นการก่อการกำเริบของทาสเพียงครั้งเดียวที่นำไปสู่การก่อตั้งรัฐที่ปราศจากความเป็นทาส (แม้จะไม่ปราศจากแรงงานบังคับ)[4] และปกครองโดยอดีตเชลยและผู้ที่ไม่ใช่ชนผิวขาว[5] ในปัจจุบัน เหตุการณ์นี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโลกแอตแลนติก[6][7]

การปฏิวัติเฮติ
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติแอตแลนติก, สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส และสงครามนโปเลียน

ภาพเขียนแสดงเหตุการณ์ต่าง ๆ ระหว่างการปฏิวัติเฮติ
วันที่21 สิงหาคม ค.ศ. 1791 – 1 มกราคม ค.ศ. 1804
(12 ปี 4 เดือน 1 สัปดาห์ และ 4 วัน)
สถานที่
ผล

เฮติได้รับชัยชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
การสถาปนาจักรวรรดิเอกราชเฮติ
คู่สงคราม

ค.ศ. 1791–1793

ค.ศ. 1791–1793

ค.ศ. 1793–1798

ค.ศ. 1793–1798

ค.ศ. 1798–1801

ค.ศ. 1798–1801

ค.ศ. 1802–1804

ค.ศ. 1802–1804

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ค.ศ. 1791–1793

ค.ศ. 1793–1798

ค.ศ. 1798–1801

ค.ศ. 1802–1804

ค.ศ. 1791–1793

ค.ศ. 1793–1798

ค.ศ. 1798–1801

ค.ศ. 1802–1804

กำลัง
  • กองทัพประจำการ: 55,000 นาย
  • อาสาสมัคร: มากกว่า 100,000 นาย
  • 31,000 คน[1]
  • กองทัพประจำการ: 60,000 นาย
  • เรือรบและเรือฟริเกต 86 ลำ
ความสูญเสีย

เฮติ:

  • เสียชีวิต 200,000 คน[2]
  • สหราชอาณาจักร: เสียชีวิต 45,000 คน[2]
ฝรั่งเศส: เสียชีวิต 75,000 คน[2]
เจ้าอาณานิคมผิวขาว: 25,000 คน[2]
เฮติในช่วงต้นของการปฏิวัติเฮติใน ค.ศ. 1791

ผลกระทบของการปฏิวัติเฮติที่มีต่อสถาบันทาสนั้นเป็นที่สัมผัสได้ทั่วทวีปอเมริกา การสิ้นสุดของอำนาจปกครองของฝรั่งเศสและการเลิกทาสในอดีตอาณานิคมแซ็ง-ดอแม็งก์ตามมาด้วยการปกป้องและรักษาเสรีภาพที่อดีตทาสได้มา และด้วยความร่วมมือของชนผิวสีที่เป็นเสรีชนอยู่แล้ว พวกเขาก็ได้รับเอกราชจากชนผิวขาวยุโรป[8][9][10] การปฏิวัตินี้เป็นตัวแทนการก่อการกำเริบของทาสครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ครั้งที่สปาร์ตากุสเป็นผู้นำการลุกขึ้นต่อต้านสาธารณรัฐโรมันซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเมื่อเกือบ 1,900 ปีก่อน[11] และท้าทายความเชื่อที่มีมายาวนานของชาวยุโรปเกี่ยวกับสถานะและสมรรถภาพของชนผิวดำและความสามารถของทาสที่จะบรรลุและรักษาเสรีภาพของตนเอง ความสามารถในการจัดระเบียบโครงสร้างและการยืนหยัดของกลุ่มผู้ก่อการภายใต้แรงกดดันเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเรื่องราวที่สร้างความตกตะลึงและตื่นตระหนกแก่เจ้าของทาสในซีกโลกตะวันตก[12]

อ้างอิง

แก้
  1. Madiou, Thomas (1848). Histoire d'Haiti Volume 3 of Histoire d'Haïti [1492]. J. Courtois. p. 313.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Scheina. Latin America's Wars. Potomac Books. p. 1772.
  3. Adam Hochschild (2005). Bury the Chains. Houghton Mifflin. p. 257.
  4. https://www.brown.edu/Facilities/John_Carter_Brown_Library/exhibitions/haitian/pages/part7.html)
  5. Franklin W. Knight (February 2000). "The Haitian Revolution". The American Historical Review. 105 (1): 103–15. doi:10.2307/2652438. JSTOR 2652438.
  6. "Why Haiti should be at the centre of the Age of Revolution – Laurent Dubois". Aeon Essays (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.
  7. Joseph, Celucien L. (2012). "'The Haitian Turn': An Appraisal of Recent Literary and Historiographical Works on the Haitian Revolution". Journal of Pan African Studies. 5 (6): 37–55.
  8. Taber, Robert D. (2015). "Navigating Haiti's History: Saint-Domingue and the Haitian Revolution". History Compass. 13 (5): 235–50. doi:10.1111/hic3.12233.
  9. Bongie, Chris (2008). Friends and Enemies: The Scribal Politics of Post/colonial Literature. Liverpool, UK: Liverpool University Press. p. 45. ISBN 978-1846311420.
  10. Curtis Comstock, Sandra (2012). Incorporating Comparisons in the Rift: Making Use of Cross-Place Events and Histories in Moments of World Historical Change, a chapter in Anna Amelina, Beyond methodological nationalism: research methodologies for cross-border studies. Taylor and Francis. pp. 183–85. ISBN 978-0-415-89962-8.
  11. Vulliamy, Ed, บ.ก. (28 August 2010). "The 10 best revolutionaries". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  12. Philip James Kaisary (2008). The Literary Impact of the Haitian Revolution, PhD dissertation. University of Warwick. pp. 8–10.

บรรณานุกรม

แก้
ผลงานที่อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Baur, John. "International Repercussions of the Haitian Revolution." The Americas 26, no. 4 (1970).
  • Blackburn, Robin. "Haiti, Slavery, and the Age of the Democratic Revolution", William and Mary Quarterly 63.4, 633–674 (2006)
  • Censer, Jack Richard; Lynn Avery Hunt (2001). Liberty, Equality, Fraternity Exploring the French Revolution. Penn State University Press. ISBN 978-0-271-02088-4.
  • Fick, Carolyn. "The Haitian revolution and the limit of freedom: defining citizenship in the revolutionary era". Social History, Vol 32. No 4, November 2007
  • Garrigus, John D. (2006). Before Haiti Race and Citizenship in French Saint-Domingue. Macmillan. ISBN 978-1-4039-7140-1.
  • Geggus, David Patrick. The Impact of the Haitian Revolution in the Atlantic World. Columbia: University of South Carolina Press 2001. ISBN 978-1-57003-416-9
  • Girard, Philippe. "Black Talleyrand: Toussaint Louverture's Secret Diplomacy with England and the United States," William and Mary Quarterly 66:1 (Jan. 2009), 87–124.
  • Girard, Philippe. "Napoléon Bonaparte and the Emancipation Issue in Saint-Domingue, 1799–1803," French Historical Studies 32:4 (Fall 2009), 587–618.
  • Joseph, Celucien L. Race, Religion, and The Haitian Revolution: Essays on Faith, Freedom, and Decolonization (CreateSpace Independent Publishing Platform, 2012)
  • Joseph, Celucien L. From Toussaint to Price-Mars: Rhetoric, Race, and Religion in Haitian Thought (CreateSpace Independent Publishing Platform, 2013)
  • Koekkoek, René (2020) The Citizenship Experiment Contesting the Limits of Civic Equality and Participation in the Age of Revolutions. Studies in the History of Political Thought
  • Ott, Thomas O. The Haitian Revolution, 1789–1804. University of Tennessee Press, 1973.
  • Peguero, Valentina. "Teaching the Haitian Revolution: Its Place in Western and Modern World History". History Teacher 32#1 (1998), pp. 33–41. online.
  • Joseph Elisée Peyre-Ferry (2006). Journal des opérations militaires de l'armée française à Saint-Domingue 1802–1803 sous les ordres des capitaines-généraux Leclerc et Rochambeau. Les Editions de Paris-Max Chaleil. ISBN 978-2-84621-052-2.
  • Popkin, Jeremy D., You Are All Free: The Haitian Revolution and the Abolition of Slavery (New York: Cambridge University Press, 2010)
  • Jeffers, Jen (2016) "Freedom at All Cost: Remembering History's Greatest Slave Rebellion". The Raven Report.[ลิงก์เสีย]
  • Scott, Julius S. (2018). The Common Wind: Afro-American Currents in the Age of the Haitian Revolution. Verso Books. ISBN 9781788732475.
  • Manuel Barcia (June 2020). "From Revolution to Recognition: Haiti's Place in the Post-1804 Atlantic World". The American Historical Review. 125 (3). doi:10.1093/ahr/rhaa240.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้