ไมโครโพรเซสเซอร์
ไมโครโพรเซสเซอร์ (อังกฤษ: microprocessor) หมายถึงชิปที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

ชนิดแก้ไข
เราสามารถแบ่งไมโครโพรเซสเซอร์ตามสถาปัตยกรรมได้เป็น 2 ชนิด คือ
Reduced Instruction Set Computerแก้ไข
RISC (Reduced Instruction Set Computer) คือ ไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีคำสั่งน้อย แต่คำสั่งทำงานได้เร็ว เริ่มต้นพัฒนาด้วยความร่วมมือของ ไอบีเอ็ม มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ได้ คือ IBM 801, Stanford MIPS และ Berkeley RISC 1 และ 2 ไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดนี้ในยุคต่อมาได้แก่ SPARC ของ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และ PowerPC ของ โมโตโรล่า
Complex Instruction Set Computerแก้ไข
CISC (Complex Instruction Set Computer) เป็นสถาป้ตยกรรมของไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีคำสั่งมากกว่าและซับซ้อนกว่า ได้แก่ ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 เพนเทียมและเซเลรอนของอินเทลและ ไมโครโพรเซสเซอร์จากบริษัทเอเอ็มดี (AMD)
ตัวอย่าง ไมโครโพรเซสเซอร์แก้ไข
ไมโครโพรเซสเซอร์ที่รู้จักกันดีก็ได้แก่
- ยี่ห้อ Motorola 68030, 68040
- เครื่องแมคอินทอชรุ่นเก่าของบริษัทแอปเปิล
- เครื่องพีซี ได้แก่ Intel i486, Intel Pentium, Intel Celeron, AMD Athlon, AMD Sempron
รูปแบบโครงสร้างแก้ไข
โครงสร้าง แบบ RISC มีการทำงานที่เร็วกว่า CISC ใช้ เพียง 1-2 machine cycle เท่านั้น
อนาคตมีแนวโน้มที่จะเป็นไปใช้แบบ RISC แต่ ที่ยังใช้โครงสร้างแบบ CISC อยู่นั้นเพราะ ว่าถ้าเปลี่ยนเป็นแบบ RISC แล้ว โปรแกรมที่มีอยู่เดิมจะใช้งานไม่ได้ทันที ถ้าต้องการใช้ก็ต้องเป็นการจำลองการทำงานบนโครงสร้างที่ต่างออกไป ทำให้ประสิทธิภาพลดต่ำลง
อุปกรณ์ประเภทอื่นแก้ไข
นอกจาก Microprocessor แล้วยังมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง คือ Microcontroller ซึ่ง Microcontroller ก็คือ Microprocessor ที่รวมอุปกรณ์อื่นๆเข้าไปด้วย เช่น หน่วยความจำ (RAM), DMA, UART, Watch Dog, RTC, USB, I/O, etc. กล่าวคือเราสามารถนำ Microcontroller ไปใช้งานโดยต่ออุปกรณ์ภายนอกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งต่างจาก Microprocessor ที่ต้องต่ออุปกรณ์อื่นเป็นจำนวนมาก Microcontroller มีมากมายหลายตระกูล เช่น แบบCISC มี MCS-51, 68HCxx, Z80, เป็นต้น แบบ RISC มี PIC, AVR, ARM เป็นต้น โดยเฉพาะในตระกูล ARM มาแรงมากในปัจจุบัน เนื่องจากมี โครงสร้างแบบ RISC 16/32 bit,64 bit มีผู้ผลิตมากมายหลายเจ้า ARM ยังนิยมนำไปใช้ ใน อุปกรณ์มือถือระดับสูง เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (PDA) มี OS รองรับหลายรุ่น เช่น Windows CE เป็นต้น
รายการอ้างอิงแก้ไข
- Ray, A. K.; Bhurchand, K.M. Advanced Microprocessors and Peripherals. India: Tata McGraw-Hill.
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- Dirk Oppelt. "The CPU Collection". สืบค้นเมื่อ 2009-12-23.
- Gennadiy Shvets. "CPU-World". สืบค้นเมื่อ 2009-12-23.
- Jérôme Cremet. "The Cecko's CPU Library". สืบค้นเมื่อ 2009-12-23.
- "How Microprocessors Work". สืบค้นเมื่อ 2009-12-23.
- William Blair. "IC Die Photography". สืบค้นเมื่อ 2009-12-23.
- John Bayko (December 2003). "Great Microprocessors of the Past and Present". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-15. สืบค้นเมื่อ 2009-12-23.
- Wade Warner (22 Dec 2004). "Great moments in microprocessor history". IBM. สืบค้นเมื่อ 2009-12-23.
- Ray M. Holt. "theDocuments". World’s First Microprocessor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-31. สืบค้นเมื่อ 2009-12-23.
บทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ หรือเครือข่ายนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เทคโนโลยีสารสนเทศ |