วิลาศ จันทร์พิทักษ์

เภสัชกร วิลาศ จันทร์พิทักษ์ (เกิด 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2495) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 7 สมัย อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

วิลาศ จันทร์พิทักษ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(22 ปี 344 วัน)
ถัดไปสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังธรรม (2531–2539)
ประชาธิปัตย์ (2539–2567)

ประวัติ

แก้

วิลาศ เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่ ตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี[1]

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเมือง

แก้

เคยเป็น ส.ส. ปี พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2535/1, พ.ศ. 2535/2 (ในสังกัดพรรคพลังธรรม) , พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2544 (ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์) และเคยเป็น ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537[2] ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538[3]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ลงสมัครในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ที่เขตเก่าที่เป็นส.ส. มาตลอด คือ เขต 32 ซึ่งประกอบด้วยเขตภาษีเจริญ ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 30,321 เสียง แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ได้ย้ายไปลงเขต 28 ซึ่งประกอบด้วยเขตคลองสาน แทนนายปราโมทย์ สุขุม ส.ส. เก่าที่เลิกเล่นการเมืองไป แต่นายวิลาศไม่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้

ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 นายวิลาศลงเลือกตั้งในเขต 9 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยเขตบางกอกใหญ่, เขตธนบุรี, และเขตคลองสาน คู่กับ นางนันทพร วีรกุลสุนทร และ ทันตแพทย์สุรันต์ จันทร์พิทักษ์ น้องชาย ซึ่งได้รับเลือกตั้งหมดทั้ง 3 คน และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ด้วย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 31 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกหนึ่งสมัย

ในปลายปี พ.ศ. 2554 ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ในกรณีการทุจริตเรื่องถุงยังชีพ ในเหตุอุทกภัยปีเดียวกันนั้น นายวิลาศมีผู้มีบทบาทสำคัญมากคนหนึ่งในเรื่องการอภิปรายข้อมูล[4]

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 นายวิลาศ ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ให้ตรวจสอบการกระทำของนางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการตรวจการจ้างกรณีกระทำผิดกฎหมายและข้อสัญญาโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ เนื่องจากหลังจากสัญญาสิ้นสุดลงแต่การก้อสร้างยังไม่เสร็จสิ้นและไม่มีการขยายสัญญาอีก อีกทั้งยังมีการก่อสร้างอีกหลายรายการที่ก่อสร้างไม่ตรงแบบ[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง
  2. คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๗๕๒/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข [๑ นายอัมพล จันทรเจริญ ๒ นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ ๓ นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ๔ นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์]
  3. คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๖๓๑/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [นายมุข สุไลมาน นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์]
  4. 'ปชป.'แฉ'ศปภ.'ซื้อเรือช่วยน้ำท่วมแพง (ไทย)
  5. isranews (2022-11-16). "'วิลาศ' ยื่น ป.ป.ช.-สตง. สอบ 'ก่อสร้างรัฐสภาใหม่' 2 กรณี 'สร้างต่อหลังหมดสัญญา-ปูพื้นด้วยหินต่างชนิด'". สำนักข่าวอิศรา.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้