ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในเวลาต่อมาได้เป็นวิทยากรให้กับวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และเป็นผู้ร่างนโยบายและ เสนอแนวทางการเมือง นำการทหาร ซึ่งนำมาซึ่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เรื่องนโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ยุติสงครามกลางเมือง ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
เสียชีวิต | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (81 ปี) |
คู่สมรส | อรพิน ทรัพย์สุนทร (สัมฤทธิ์) |
บุพการี |
|
อาชีพ | นักการเมืองและนักเขียน |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เกิดที่ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรนายมี-นางเกต ทรัพย์สุนทร สมรสกับนางสาวอรพิน สัมฤทธิ์ มีบุตรด้วยกัน 1 คน นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นโลหิตในหัวใจตีบตัน เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2537 อายุ 81 ปี
นายประเสริฐ จบมัธยม 8 จากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเสริฐเป็นอักษรศาสตรบัณฑิตรุ่นที่ 1 และระหว่างศึกษาได้ดำรงตำแหน่งเป็นสาราณียกรของสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับผิดชอบการจัดทำหนังสือมหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับเลือกเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2479 [1]
การทำงาน
แก้เมื่อจบการศึกษา นายประเสริฐเข้ารับราชการเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นจึงลาออกไปสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จึงย้ายไปเป็นครูโรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร (วังจันทร์เกษม) และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[2] ในสมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ก่อนที่จะลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีส่วนในการยกเลิกพระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476
การร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
แก้เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ประเสริฐสมัครเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และได้รับคัดเลือกไปศึกษาสถาบันมาร์กซ์ เลนิน ที่ประเทศจีน ได้รับเลือกเป็นกรรมการกลางของพรรค ระดับล่าง และได้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพสากล 3 ครั้งระหว่าง พ.ศ. 2494-95
พ.ศ. 2494 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุมคณะกรรมการสันติภาพแห่งโลก ที่กรุงเบอร์ลิน
พ.ศ. 2495 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสันติภาพแห่งโลกที่กรุงปักกิ่ง และเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมประชุมสภาสันติภาพแห่งโลกที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
นายประเสริฐ ทราบว่า จะเกิดเหตุการณ์รุกทางการเมืองด้วยกำลังอาวุธ และแนวทางเปลี่ยนแปลงด้วยอาวุธ จากพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ด้วยความห่วงใยบ้านเกิด จึงขอเดินทางกลับเมืองไทยเพื่อจะได้มาแก้ปัญหาของชาติไม่ให้ถูกพรรคคอมมิวนิสต์รุกราน เมื่อ พ.ศ. 2501 และถูกจับในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ ในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถูกคุมขังอยู่เป็นเวลา 6 ปี ในระหว่างถูกคุมขังได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการปฏิวัติไทยโดยสันติตามระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ตลอดจนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์ ต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นแนวทางที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เห็นด้วย และมีคำสั่งให้ยกฟ้อง จากนั้นนายประเสริฐได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง ได้รับเชิญให้แสดงปาฐกแก่นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรหลายครั้ง
ก่อตั้งพรรคแรงงานประชาธิปไตย
แก้นายประเสริฐได้สนับสนุนให้ก่อตั้งศูนย์กรรมกรแห่งประเทศไทยขึ้น ผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายแรงงาน เมื่อปี พ.ศ. 2515 ส่งผลเกิดสหภาพแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายขึ้นในประเทศไทย พ.ศ. 2517 ได้ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งพรรคแรงงาน[3] ซึ่งต่อมาพรรคนี้ถูกยุบไป และได้จัดตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ในชื่อพรรคแรงงานประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2525 ซึ่งต่อมาเขารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค [4]
คำสั่ง 66/2523
แก้ในปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย นายประเสริฐได้เขียนบทความเรื่อง "ลัทธิประชาธิปไตย" ลงในนิตยสาร "ตะวันใหม่" ได้ผลักดันแนวคิดในรูปของแถลงการณ์และคำชี้แจงโดยผ่านทาง "ทหารประชาธิปไตย" เพื่อต่อสู้กับแนวคิดสังคมนิยมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2523 ขณะที่การต่อสู้รุนแรงมากขึ้น รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 66/2523 เรื่องนโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ โดยพลตรีชวลิต ยงใจยุทธ เจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็นผู้ร่าง โดยมีแนวคิดหลักมาจากแนวคิดของนายประเสริฐ มีการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างกว้างขวาง กองอาวุธพากันวางอาวุธและหันมาร่วมพัฒนาชาติไทย ส่งผลให้สงครามกลางเมืองซึ่งดำเนินติดต่อกันมา 17 ปี ยุติลง และนายทหารอีกหลายท่าน เช่น พลตรีระวี วันเพ็ญ พลเอกหาญ ลีลานนท์ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก พันเอกพิเศษชวัติ พิสุทธิพันธ์ พลโทประสิทธิ์ นวาวัฒน์ พันเอกมานะ เกษรศิริ
สภาปฏิวัติแห่งชาติ
แก้วันที่ 28-29 เมษายน พ.ศ. 2530 มีการประชุมผู้แทนประชาชนทั่วประเทศ จัดตั้งสภาปฏิวัติแห่งชาติ ขึ้นเป็นการสนับสนุนการปฏิวัติประชาธิปไตยของนายประเสริฐ และออกคำสั่ง สภาปฏิวัติแห่งชาติที่ 1/2532 เรื่องการโอนอำนาจจากรัฐสภามาสู่สภาปฏิวัติแห่งชาติ และแถลงการณ์สภาปฏิวัติแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ถูกจับกุมด้วยข้อหาทำลายความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมกับพวกรวม 14 คน
11 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องคดีสภาปฏิวัติตามศาลชั้นต้น
ได้รับการยกย่องเป็นครู
แก้นายประเสริฐ หรือ "ครูเสิด" มีลูกศิษย์ลูกหาอยู่มากมาย อาทิเช่น นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน นายวันชัย พรหมภา นายไพฑูรย์ เสนียวงศ์ ณ อยุธยา นายสัญชัย คงมงคล นายกฤษณะ พิมพกร นายสมพร มูสิกะ นายสมาน ศรีงาม นายวัลลภ เชยพร นายประเดิม บุตรดี เป็นต้น ศิษย์เอกครูเสริฐ คือ นายวันชัย พรหมภา ท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ แนวความคิดและหลักวิชา ทางการเมืองได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ได้บรรยายวิชาการเมือง บันทึกลงในยูทูปของ นายไพบูลย์ สถาปนาวิสุทธิ์ ( เจ้าของธุรกิจกุนแชียงปลากรายระดับโลก ที่ได้การยอมรับในมิติที่ 8 เส้นเวลาที่ 1254 ) ซึ่งเป็นศิษย์ของ นายวันชัย พรหมภา ท่านพยายามสืบทอดหลักวิชา ที่ได้ร่ำเรียนมาจาก ครูเสริฐ และได้รับความเคารพนับถือและยกย่องในแนวความคิดประชาธิปไตย โดยได้ถ่ายทอดแนวความคิด และหลักวิชา ต่าง ๆ ของครูเสริฐ ในการทำอำนาจอธิปไตยให้เป็นของประชาชน หรือเรียกทางวิชาการ ในหลักทฤษฎีทางการเมือง คือ การสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จให้ได้ในประเทศไทย เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ ศาสนา และ สถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างยั่งยืน สถาพร สืบไป [5] ครูประเสริฐ ได้รับการยกย่องจากบรรดาลูกศิษย์ และนักวิชาการ ว่าเป็นผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
อ้างอิง
แก้- ↑ "รายนามนายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2012-06-12.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนพิเศษที่ 193ง หน้า 290 วันที่ 18 กันยายน 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคแรงงานประชาธิปไตย ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 (ให้นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เป็นหัวหน้าพรรค แทนนายเสรี สุชาตะประคัลภ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-03-21.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ พรรคอธิปไตยฯ ทำบุญ-ยกย่อง "ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร" เป็นนักคิดแนวทาง ปชต. พร้อมจัดตั้งสภาประชาชน แก้ปัญหาวิกฤติประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- อาจิณ จันทรัมพร. นักเขียนไทย ใน "วงวรรณกรรม". กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550. 644 หน้า. ISBN 978-974-7352-77-1