อำเภอเมืองนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Nakhon Pathom |
![]() ที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม | |
![]() แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอเมืองนครปฐม | |
พิกัด: 13°49′11″N 100°3′57″E / 13.81972°N 100.06583°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | นครปฐม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 417.44 ตร.กม. (161.17 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 278,988 คน |
• ความหนาแน่น | 668.33 คน/ตร.กม. (1,731.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 73000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7301 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม เลขที่ 30 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 |
![]() |
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเมืองนครปฐมมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกำแพงแสนและอำเภอดอนตูม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนครชัยศรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามพราน และอำเภอบางแพ (จังหวัดราชบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง (จังหวัดราชบุรี)
ประวัติ
นครปฐมเป็นพื้นที่อู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้นนครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา จึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก
ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอเมืองนครไชยศรี มาตั้งที่องค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพระปฐมเจดีย์ ให้เป็น อำเภอเมืองนครปฐม[1] เนื่องจากเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดนครปฐม และลดฐานะอำเภอเมืองนครไชยศรี ลงเป็นอำเภอนครไชยศรี จนปัจจุบัน
- วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2454 ใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลในตำบลนครปฐม ตำบลพระปฐม ตำบลห้วยจรเข้ ตำบลบ่อพลับ ตำบลสนามจันทร์ อำเภอพระปฐมเจดีย์ มณฑลนครไชยศรี[2] เป็น สุขาภิบาลเมืองนครปฐม
- วันที่ 23 พฤศจิกายน 2456 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพระปฐมเจดีย์ เป็น อำเภอเมืองนครปฐม[3]
- วันที่ 23 พฤษภาคม 2469 โอนพื้นที่ตำบลหนองดินแดง และตำบลวังเย็น ของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มาขึ้นกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม[4]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2478 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองนครปฐม ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองนครปฐม[5]
- วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486 โอนพื้นที่ตำบลสระกะเทียม กับพื้นที่หมู่ 3,6–7,9–14 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านยาง และพื้นที่หมู่ 6–7,10–11 (ในขณะนั้น) ซึ่งอยู่เหนือคลองยางหรือคลองบางตาล ของตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มาขึ้นกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยให้ถือคลองยางหรือคลองบางตาล ตั้งแต่บ้านปลายน้ำติดต่อเขตตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง ถึงบ้านคลองขุดจรดเขตตำบลหนองดินแดง อำเภอเมืองนครปฐม เป็นเส้นแบ่งเขต[6]
- วันที่ 4 มีนาคม 2490 โอนพื้นที่หมู่ 10 บ้านตากแดด (ในขณะนั้น) ของตำบลบางแขม ไปตั้งเป็นหมู่ 15 บ้านตากแดด ของตำบลดอนยายหอม[7]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลถนนขาด แยกออกจากตำบลดอนยายหอม ตั้งตำบลมาบแค แยกออกจากตำบลตาก้อง ตั้งตำบลบ่อพลับ แยกออกจากตำบลนครปฐม ตั้งตำบลวังเย็น แยกออกจากตำบลหนองดินแดง ตั้งตำบลลำพยา แยกออกจากตำบลโพรงมะเดื่อ ตั้งตำบลธรรมศาลา แยกออกจากตำบลพระประโทน ตั้งตำบลหนองปากโลง แยกออกจากตำบลวังตะกู ตั้งตำบลห้วยจรเข้ แยกออกจากตำบลสนามจันทร์ ตั้งตำบลทุ่งน้อย แยกออกจากตำบลสามควายเผือก ตั้งตำบลสวนป่าน แยกออกจากตำบลสระกะเทียม[8]
- วันที่ 9 ธันวาคม 2490 โอนพื้นที่หมู่ 8,12,9,11,13,10 (ในขณะนั้น) ของตำบลพระประโทน ไปตั้งเป็นหมู่ 1–6 ของตำบลธรรมศาลา ตามลำดับ และโอนพื้นที่หมู่ 1,7,6,2,5,3,4 (ในขณะนั้น) ของตำบลธรรมศาลา ไปตั้งเป็นหมู่ 1–7 ของตำบลพระประโทน ตามลำดับ[9]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลหนองงูเหลือม แยกออกจากตำบลทัพหลวง[10]
- วันที่ 16 เมษายน 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลธรรมศาลา ในท้องที่บางส่วนของตำบลธรรมศาลา[11]
- วันที่ 10 สิงหาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลโพรงมะเดื่อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลโพรงมะเดื่อและบางส่วนของตำบลหนองดินแดง[12]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 จัดตั้งสุขาภิบาลดอนยายหอม ในท้องที่บางส่วนของตำบลดอนยายหอม[13]
- วันที่ 13 ตุลาคม 2524 โอนพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านหนองแก (ในขณะนั้น) ของตำบลโพรงมะเดื่อ ไปตั้งเป็นหมู่ 8 ของตำบลหนองงูเหลือม[14]
- วันที่ 4 ธันวาคม 2534 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครปฐมให้ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแขม ตำบลพระประโทน ตำบลสนามจันทร์ ตำบลบ่อพลับ ตำบลนครปฐม ตำบลหนองปากโลง ตำบลลำพยา และตำบลห้วยจรเข้[15]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลธรรมศาลา สุขาภิบาลโพรงมะเดื่อ และสุขาภิบาลดอนยายหอม เป็นเทศบาลตำบลธรรมศาลา เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ และเทศบาลตำบลดอนยายหอม ตามลำดับ[16] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 ยกฐานะจากเทศบาลเมืองนครปฐม เป็น เทศบาลนครนครปฐม[17]
- วันที่ 1 มิถุนายน 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลับ เป็น เทศบาลตำบลบ่อพลับ[18]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมาบแค เป็น เทศบาลตำบลมาบแค[19]
- วันที่ 1 มิถุนายน 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม เป็น เทศบาลเมืองนครปฐม[20]
- วันที่ 23 กันยายน 2562 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสามควายเผือก เป็น เทศบาลเมืองสามควายเผือก[21]
- วันที่ 11 มิถุนายน 2563 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตาก้อง เป็น เทศบาลตำบลตาก้อง[22]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองท้องที่
อำเภอเมืองนครปฐมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 ตำบล 217 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[23] |
---|---|---|---|---|
1. | พระปฐมเจดีย์ | Phra Pathom Chedi | –
|
26,445
|
2. | บางแขม | Bang Khaem | 10
|
12,816
|
3. | พระประโทน | Phra Prathon | 9
|
11,155
|
4. | ธรรมศาลา | Thammasala | 7
|
12,447
|
5. | ตาก้อง | Ta Kong | 10
|
6,873
|
6. | มาบแค | Map Khae | 11
|
8,678
|
7. | สนามจันทร์ | Sanam Chan | 6
|
13,921
|
8. | ดอนยายหอม | Don Yai Hom | 9
|
11,458
|
9. | ถนนขาด | Thanon Khat | 6
|
7,985
|
10. | บ่อพลับ | Bo Phlap | 8
|
15,697
|
11. | นครปฐม | Nakhon Pathom | 10
|
21,681
|
12. | วังตะกู | Wang Taku | 8
|
6,325
|
13. | หนองปากโลง | Nong Pak Long | 10
|
9,281
|
14. | สามควายเผือก | Sam Khwai Phueak | 6
|
11,687
|
15. | ทุ่งน้อย | Thung Noi | 7
|
5,847
|
16. | หนองดินแดง | Nong Din Daeng | 8
|
8,603
|
17. | วังเย็น | Wang Yen | 6
|
3,158
|
18. | โพรงมะเดื่อ | Phrong Maduea | 17
|
17,057
|
19. | ลำพยา | Lam Phaya | 9
|
13,256
|
20. | สระกะเทียม | Sa Kathiam | 14
|
7,134
|
21. | สวนป่าน | Suan Pan | 6
|
3,471
|
22. | ห้วยจรเข้ | Huai Chorakhe | 7
|
12,585
|
23. | ทัพหลวง | Thap Luang | 14
|
10,728
|
24. | หนองงูเหลือม | Nong Ngu Lueam | 11
|
10,401
|
25. | บ้านยาง | Ban Yang | 11
|
9,144
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเมืองนครปฐมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 28 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครนครปฐม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระปฐมเจดีย์ทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลบางแขม ตำบลพระประโทน ตำบลสนามจันทร์ ตำบลบ่อพลับ ตำบลนครปฐม ตำบลหนองปากโลง ตำบลลำพยา และตำบลห้วยจรเข้
- เทศบาลเมืองนครปฐม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครปฐม (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐมเดิม)
- เทศบาลเมืองสามควายเผือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามควายเผือกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลดอนยายหอม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลดอนยายหอม
- เทศบาลตำบลธรรมศาลา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลธรรมศาลา
- เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองดินแดงและตำบลโพรงมะเดื่อ
- เทศบาลตำบลบ่อพลับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อพลับ (นอกเขตเทศบาลนครนครปฐม)
- เทศบาลตำบลมาบแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบแคทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตาก้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาก้องทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางแขม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแขม (นอกเขตเทศบาลนครนครปฐม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพระประโทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระประโทน (นอกเขตเทศบาลนครนครปฐม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธรรมศาลา (นอกเขตเทศบาลตำบลธรรมศาลา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสนามจันทร์ (นอกเขตเทศบาลนครนครปฐม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนยายหอม (นอกเขตเทศบาลตำบลดอนยายหอม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลถนนขาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถนนขาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังตะกูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปากโลง (นอกเขตเทศบาลนครนครปฐม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองดินแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองดินแดง (นอกเขตเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังเย็นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพรงมะเดื่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำพยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำพยา (นอกเขตเทศบาลนครนครปฐม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระกะเทียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระกะเทียมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนป่านทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยจรเข้ (นอกเขตเทศบาลนครนครปฐม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทัพหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองงูเหลือมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยางทั้งตำบล
ภาพ
-
ภาพถ่ายองค์พระปฐมเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 5
-
พระปฐมเจดีย์ในปัจจุบัน
-
คลองเจดีย์บูชา
-
ถนนในอำเภอเมืองนครปฐม
-
วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
-
วัดพระประโทณเจดีย์
อ้างอิง
- ↑ "ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอพระปฐมและอำเภอเมืองนครไชยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ก): 378. วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456
- ↑ "ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาล ในตำบลนครปฐม ตำบลพระปฐม ตำบลห้วยจระเข้ ตำบลบ่อพลับ ตำบลสนามจันทร์ ท้องที่อำเภอพระปฐมเจดีย์ มณฑลนครไชยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 151–153. วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454
- ↑ "ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอพระปฐมและอำเภอเมืองนครไชยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ก): 378. วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลวังเย็นและตำบลหนองดินแดง ท้องที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มณฑลราชบุรี ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มณฑลนครชัยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 199. วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2469
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1666–1670. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดนครปฐม พุทธศักราช ๒๔๘๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (7 ก): 244–246. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (11 ง): 363–364. วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3194–3196. วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับอำเภอกุมภวาปี และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (107 ง): 3052–3061. วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2501
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลธรรมศาลา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (37 ง): 1132–1133. วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2506
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (64 ง): 2066–2067. วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2508
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (171 ง): 2793–2795. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (169 ง): 3433–3434. วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2524
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (211 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2534
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (110 ก): 6–9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15. วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
- ↑ "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลับ เป็น เทศบาลตำบลบ่อพลับ".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - ↑ "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลมาบแค เป็น เทศบาลตำบลมาบแค".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - ↑ "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม เป็น เทศบาลเมืองนครปฐม".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสามควายเผือก อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลเมืองสามควายเผือก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (ตอนพิเศษ 237 ง): 18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27. วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตาก้อง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลตำบลตาก้อง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 137 ง): 5–6. วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.