อำเภอกำแพงแสน
กำแพงแสน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม
อำเภอกำแพงแสน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kamphaeng Saen |
![]() อดีตสถานีรถไฟกำแพงแสน ในเส้นทางรถไฟสายใต้ ปัจจุบันมีฐานะเพียงที่หยุดรถ แต่ไม่มีรถไฟขบวนใดจอดรับส่งผู้โดยสาร ถูกยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2519 | |
คำขวัญ: เมืองเก่าโบราณ สถานผลิตนักบินประเทศ แหล่งบัณฑิตการเกษตร เขตพื้นดินเนื้อดี อนุสาวรีย์อินทรศักดิ์ศจี ปฐพีแห่งความร่มเย็น | |
![]() แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอกำแพงแสน | |
พิกัด: 13°59′2″N 99°59′38″E / 13.98389°N 99.99389°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | นครปฐม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 405.019 ตร.กม. (156.379 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 126,281 คน |
• ความหนาแน่น | 311.79 คน/ตร.กม. (807.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 73140, 73180 (เฉพาะตำบลกระตีบ ห้วยม่วง สระพัฒนา และหมู่ที่ 1, 3-5, 11, 14, 16, 22-23 ตำบลสระสี่มุม) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7302 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอกำแพงแสน หมู่ที่ 1 ถนนมาลัยแมน ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 |
![]() |
ที่ตั้งและอาณาเขตแก้ไข
อำเภอกำแพงแสนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง (จังหวัดสุพรรณบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางเลนและอำเภอดอนตูม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครปฐม และอำเภอบ้านโป่ง (จังหวัดราชบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่ามะกา (จังหวัดกาญจนบุรี)
ประวัติแก้ไข
ในอดีตอำเภอกำแพงแสนเป็น เมืองกำแพงแสน (มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-16) ซึ่งเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ สันนิษฐานว่าน่าจะมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเมืองนครไชยศรีมากกว่าจะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่อย่างอิสระ เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีขนาดเล็กและตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองนครไชยศรี ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองใหญ่ 2 เมือง คือเมืองอู่ทองและเมืองนครไชยศรี ปัจจุบันบริเวณเมืองเก่ากำแพงแสนเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อำเภอกำแพงแสนได้ตั้งขึ้นครั้งแรกที่วัดห้วยพระ ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม โดยใช้ชื่อว่า อำเภอกำแพงแสน ตั้งตามชื่อเมืองโบราณ ต่อมาเมื่อประสพภัยแล้งไม่สะดวกในการสัญจรเพราะในอดีตใช้เรือเป็นหลัก จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอใหม่จากวัดห้วยพระไปที่ชายทุ่งสามแก้ว ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอกำแพงแสน มาเป็น "อำเภอนาถอำนวย" หรือชาวบ้านเรียกตามชื่อหมู่บ้านว่า "อำเภอสามแก้ว" ตั้งอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2446[1][2] ก็ได้เปลี่ยนชื่อกลับเป็น "อำเภอกำแพงแสน"
ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกำแพงแสน จากที่ตั้งชายทุ่งสามแก้ว มาตั้งที่ว่าการอำเภอใหม่ริมคลองท่าสาร-บางปลา บริเวณบ้านยาง ติดถนนมาลัยแมน (ถนนนครปฐม-สุพรรณบุรี) หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งกระพังโหม[3] ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร และเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกำแพงแสนไปสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ ที่ดินที่ราษฎรได้บริจาคให้ริมถนนมาลัยแมน ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ตรงข้ามโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ส่วนที่ตั้งเดิมได้ใช้เป็นสำนักงานเทศบาลตำบลกำแพงแสน
- วันที่ 11 ตุลาคม 2446 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอสามแก้ว เป็น อำเภอกำแพงแสน[1]
- วันที่ 7 มีนาคม 2479 ตั้งตำบลทุ่งลูกนก แยกออกจากตำบลทุ่งขวาง[4]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลห้วยด้วน แยกออกจากตำบลห้วยพระ ตั้งตำบลห้วยขวาง แยกออกจากตำบลลำเหย ตั้งตำบลดอนรวก แยกออกจากตำบลดอนพุทรา ตั้งตำบลบ้านหลวง แยกออกจากตำบลดอนพุทรา[5]
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลกำแพงแสน ในท้องที่หมู่ 5–6 ของตำบลทุ่งกระพังโหม[6]
- วันที่ 8 กันยายน 2502 โอนพื้นที่ตำบลสระสี่มุม ตำบลกระตีบ และพื้นที่หมู่ 1-4, 6-10 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนข่อย อำเภอบางเลน มาขึ้นกับอำเภอกำแพงแสน[7]
- วันที่ 29 ธันวาคม 2502 โอนพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน ไปตั้งเป็นหมู่ 15 ของตำบลหินมูล อำเภอบางเลน[8]
- วันที่ 1 มกราคม 2509 แยกพื้นที่ตำบลสามง่าม ตำบลห้วยพระ ตำบลลำเหย ตำบลดอนพุทรา ตำบลบ้านหลวง ตำบลดอนรวก และตำบลห้วยด้วน ของอำเภอกำแพงแสน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอนตูม[9] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกำแพงแสน
- วันที่ 31 มกราคม 2510 ตั้งตำบลสระพัฒนา แยกออกจากตำบลสระสี่มุม[10]
- วันที่ 14 มีนาคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลสามง่าม ในท้องที่ตั้งกิ่งอำเภอดอนตูม หมู่ 1-15 ตำบลสามง่าม[11]
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2511 ตั้งตำบลทุ่งบัว แยกออกจากตำบลทุ่งขวาง[12]
- วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน เป็น อำเภอดอนตูม[13]
- วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลห้วยหมอนทอง แยกออกจากตำบลทุ่งขวาง[14]
- วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ตั้งตำบลห้วยม่วง แยกออกจากตำบลกระตีบ[15]
- วันที่ 12 กันยายน 2533 ตั้งตำบลกำแพงแสน แยกออกจากตำบลทุ่งกระพังโหม[16]
- วันที่ 23 พฤษภาคม 2534 ตั้งตำบลรางพิกุล แยกออกจากตำบลทุ่งบัว[17]
- วันที่ 15 มกราคม 2536 ตั้งตำบลหนองกระทุ่ม แยกออกจากตำบลทุ่งลูกนก[18]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2536 ตั้งตำบลวังน้ำเขียว แยกออกจากตำบลทุ่งกระพังโหม[19]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกำแพงแสน เป็น เทศบาลตำบลกำแพงแสน[20] ด้วยผลของกฎหมาย
การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข
การปกครองส่วนภูมิภาคแก้ไข
อำเภอกำแพงแสนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 204 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ทุ่งกระพังโหม | (Thung Kraphanghom) | 7 หมู่บ้าน | ||
2. | กระตีบ | (Kratip) | 8 หมู่บ้าน | ||
3. | ทุ่งลูกนก | (Thung Luk Nok) | 23 หมู่บ้าน | ||
4. | ห้วยขวาง | (Huai Khwang) | 21 หมู่บ้าน | ||
5. | ทุ่งขวาง | (Thung Khwang) | 10 หมู่บ้าน | ||
6. | สระสี่มุม | (Sa Si Mum) | 24 หมู่บ้าน | ||
7. | ทุ่งบัว | (Thung Bua) | 11 หมู่บ้าน | ||
8. | ดอนข่อย | (Don Khoi) | 16 หมู่บ้าน | ||
9. | สระพัฒนา | (Sa Phatthana) | 14 หมู่บ้าน | ||
10. | ห้วยหมอนทอง | (Huai Mon Thong) | 12 หมู่บ้าน | ||
11. | ห้วยม่วง | (Huai Muang) | 12 หมู่บ้าน | ||
12. | กำแพงแสน | (Kamphaeng Saen) | 12 หมู่บ้าน | ||
13. | รางพิกุล | (Rang Phikun) | 9 หมู่บ้าน | ||
14. | หนองกระทุ่ม | (Nong Krathum) | 11 หมู่บ้าน | ||
15. | วังน้ำเขียว | (Wang Nam Khiao) | 14 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไข
ท้องที่อำเภอกำแพงแสนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งกระพังโหมและตำบลกำแพงแสน
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระพังโหม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกระพังโหม (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระตีบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระตีบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลูกนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งลูกนกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยขวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งขวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่มุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระสี่มุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนข่อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระพัฒนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหมอนทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยม่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำแพงแสน (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรางพิกุลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระทุ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียวทั้งตำบล
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอไผ่นาท แขวงเมืองนครไชยศรี เป็นอำเภอบางปลา อำเภอนาถอำนวย หรืออำเภอสามแก้วสามแก้ว เป็นอำเภอกำแพงแสน อำเภอบางโทรัดเป็นอำเภอบ้านบ่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (28): 459. วันที่ 11 ตุลาคม 2446
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๘ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอไผ่นาท แขวงเมืองนครไชยศรี เป็นอำเภอบางปลา อำเภอสามแก้ว เป้นอำเภอกำแพงแสน อำเภอบางโทรัดเป็นอำเภอบ้านบ่อ หน้า ๔๕๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (29): 490. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2446
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (31 ง): 1805–1806. วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในจังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 3986. วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2479
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 22-23. วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2500
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบางเลน และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (87 ก): 389–391. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2502
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางเลน และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (120 ง): 2753–2755. วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2502
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (1 ง): (ฉบับพิเศษ) 9. วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2509
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (10 ง): 310–312. วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2510
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสามง่าม กิ่งอำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (25 ง): 919–920. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2510
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (15 ง): 442–444. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอสมเด็จ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองบัวแดง อำเภอบ้านแท่น อำเภอดอนตูม อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอป่าติ้ว พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (10 ก): 225–228. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 9-13. วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2531
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (178 ง): (ฉบับพิเศษ) 54-59. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 42-50. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2533
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (92 ง): 4810–4819. วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2534
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (5 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-74. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2536
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (139 ง): (ฉบับพิเศษ) 22-26. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2536
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542