กรมป่าไม้
กรมป่าไม้ (อังกฤษ: Royal Forest Department) เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ รักษา และจัดการทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ ซึ่งมีทั้งหมด 77 ล้านไร่ โดยในอดีต สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Royal Forest Department | |
เครื่องหมายราชการ (ประกาศใช้ พ.ศ. 2566) | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 18 กันยายน พ.ศ. 2439 |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | 61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
งบประมาณต่อปี | 1,933,376,700 บาท (พ.ศ. 2561)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
เว็บไซต์ | http://www.forest.go.th |
ประวัติ
แก้ประวัติป่าไม้ในประเทศไทย
แก้การทำป่าไม้ของประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นในสมัยที่มีการริเริ่มทำ ป่าไม้สัก เป็นสินค้าทางภาคเหนือ โดยป่าสักที่มีความสำคัญ จะอยู่ในเขต 5 นคร ได้แก่ นครเชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, และ น่าน โดยมีเจ้าผู้ครองนครคอยควบคุม โดยที่ผู้จะทำป่าไม้ในเขตนั้น จะต้องเสียเงิน ค่าตอไม้ ตามจำนวนต้นที่จะตัด นอกจากนั้น เจ้าผู้ครองนครจะยกป่าใดในท้องที่ ให้แก่ผู้ใดก็ได้ และเมื่อ เจ้าของป่าถึงแก่กรรมลง ป่าไม้นั้นก็จะเป็นทรัพย์สินอยู่ในกองมรดกด้วย ซึ่งไม่ได้มีการควบคุมการทำไม้ในทางวิชาการเลย เช่น การกำหนด จำนวนไม้ที่จะให้ตัดแต่ละครั้ง ขนาด ช่วงเวลาในการจะตัดออกที่ไม่มีความชัดเจน ทำให้ในเวลาต่อมา การอนุญาตทำป่าไม้ มีความไม่ชอบมาพากล และ เกิดกรณีพิพาท จนมีคำร้องทุกข์เป็นจำนวนมาก[2]
ทำให้ต้องมีการตรา พระราชบัญญัติ สำหรับผู้รักษาเมืองซึ่งจะทำสัญญากับชาวต่างประเทศ จุลศักราช 1236 (พ.ศ. 2417) โดยมีสาระสำคัญคือการทำป่าไม้ ระหว่างเจ้าเมือง หรือ ผู้ครองนคร กับชาวต่างประเทศนั้นจะต้องได้รับ สัตยาบันจากทาง กรุงเทพฯ ก่อน จึงจะมีผลใชับังคับได้ และ ห้ามไม่ให้เจ้าเมือง หรือ ผู้ครองนคร ออกใบอนุญาตแก่บุคคลเกินกว่า 1 คน ตามสัญญาทางพระราชไมตรีอังกฤษ เมื่อปี 2426 จึงได้ให้ความสำคัญในการควบคุมการทำป่าไม้ ทำให้ กระทรวงมหาดไทย ได้ว่าจ้าง Mr.Castensjold ชาวเดนมาร์กไปสำรวจการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ[2]
ต่อมาในปี 2438 รัฐบาลบริติชราชได้ให้ความช่วยเหลือในการส่งผู้ชำนาญการป่าไม้ โดยส่ง Mr. H. Slade มาสำรวจการทำป่าไม้ ในภาคเหนือ และได้ทำรายงานผลการสำรวจป่าไม้ ต่อกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2438 โดยในเวลานั้น ได้มีการชี้แจงข้อบกพร่องการทำป่าไม้ของไทยในเวลานั้น 2 ประการคือ[2]
1. กิจการป่าไม้ทั้งหมดที่มีในเวลานั้น อยู่ในการครอบครองของเจ้าผู้ครองนคร ซึ่งทำให้ ทางส่วนกลาง ไม่สามารถเข้ามาบริหารจัดการ หรือ ควบคุม การทำป่าไม้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีมาตรฐาน โดยเฉพาะเรื่องสัมปทานป่าไม้ ที่ยังมีปัญหาที่ว่า เมื่อเจ้าของสัมปทานเดิม หมดสัญญา ก็ยังปรากฏว่ายังไม่หยุดกิจการ รวมไปถึงการขออนุญาตการทำป่าไม้ ซึ่งการขอสัมปทาน ยังต้องมีการเสียค่าใช้จ่าย ทำให้ราคาต้นทุนของไม้สักในขณะนั้น มีราคาสูงขึ้น
2. ในช่วงต้น ที่มีการสำรวจป่าไม้สัก เพื่อกำหนดจำนวนไม้ที่อนุญาตให้ตัดฟัน และ เสนอให้ควบคุมการตัดไม้สักเพื่อใช้สอย โดยเสนอให้ใช้ไม้กระยาเลยแทน ต่อมาจึงได้พบอีกว่า ประชาชนได้ตัดต้นสักขนาดเล็กเพื่อใช้สอยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกินกำลังการทำป่าไม้ ซึ่งมีผลต่อทรัพยากรป่าไม้อย่างยิ่ง ซึ่งสถานการณ์ป่าไม้สักขณะนั้น ได้มีการตัดฟันไม้สักเกินกำลังป่า ถึงประมาณ 3 เท่าครึ่ง
และได้เสนอให้ทางส่วนกลางควรต้องเข้าจัดการป่าไม้เสียเอง และเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานที่ควบคุมและ บริหารป่าไม้ขึ้น ต่อมาจึงได้นำความกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยซึ่งก็ได้ทรงพระราชดำริเห็นชอบ และ พระราชทาน พระราชหัตถเลขาถึงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น โดยให้สังกัดอยู่ในกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน ร.ศ.115 (พ.ศ. 2439) และถือเป็นวันสถาปนากรมป่าไม้[2]
ประวัติการจัดตั้งกรม
แก้กรมป่าไม้ ได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ 18 กันยายน 2439 โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในสังกัด กระทรวงมหาดไทย โดยในระยะแรก รัฐบาลไทยได้ขอตัวเจ้าหน้าที่ป่าไม้จาก บริติชราช มาช่วยบริหารราชการกรมระหว่างปี 2439 ถึง 2466 ต่อมาในปี 2466 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาดรุพันธ์พิทักษ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ จึงเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรกที่เป็นคนไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา[2]
โดยกรมป่าไม้ ได้ย้ายสังกัดถึง 5 ครั้ง ได้แก่[2]:
- กระทรวงเกษตราธิการ ในปี 2464 ถึง 2477
- กระทรวงมหาดไทย ในปี 2475
- กระทรวงเศรษฐการ ในปี 2476 ต่อมาได้สังกัด ทบวงเกษตราธิการ ถึงปี 2478
- กระทรวงเกษตราธิการ ในปี 2478 หลังจากยกฐานะทบวงเกษตราธิการ ขึ้นเป็นกระทรวง และ สังกัดจนกระทั่งเปลื่ยนชื่อเป็น กระทรวงเกษตร และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับจนถึงปี 2545
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปี 2545 (แต่ได้แยกส่วนงานอุทยานแห่งชาติ การดูแลสัตว์ป่า ตั้งเป็นกรมใหม่ในชื่อ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และส่วนงานทรัพยากรทางทะเล เป็นกรมใหม่ในชื่อ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)[3]
ส่วนราชการภายใน
แก้ที่ | ส่วนราชการ | หน้าที่ |
---|---|---|
1 | สำนักบริหารกลาง | การบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ การเงินการบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานประชาสัมพันธ์ข้อมูลกิจกรรม ความรู้ ผลงานของกรม |
2 | กองการอนุญาต | ศึกษานโยบายเพื่อกำหนดแนวทาง กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการ และควบคุม บริหารจัดการเกี่ยวกับการอนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ โดยเฉพาะในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อการสร้างสวนป่าและปลูกป่าใช้สอย การทำไม้ การเก็บของป่า และอุตสาหกรรมไม้ |
3 | สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ | สำรวจ เก็บข้อมูลทรัพยากรป่าไม้ จัดทำแผนที่ป่าไม้ ข้อมูลภูมิสารสนเทศป่าไม้ กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อดำเนินการสำรวจรังวัดหมายแนวเขตพื้นที่เพื่อกำหนดเขตพื้นที่ป่าไม้และที่ดินป่าไม้เพื่อใช้อ้างอิงตามกฎหมาย ติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมาย จัดทำหนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์และอยู่อาศัยในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ การแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในเรื่องที่ดิน |
4 | สำนักจัดการป่าชุมชน | พัฒนางานด้านวนศาสตร์ชุมชน สนับสนุนให้ชุมชน องค์การต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารป่าชุมชน ป่าในเมือง และระบบวนเกษตร รวมทั้งศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดแผนงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน |
5 | สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า | ศึกษาวิจัย กำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันรักษาป่า การแก้ไขปัญหาไฟป่า การควบคุมไฟป่า และการปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ การพัฒนาบุคลากรและอาสาสมัครป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กำกับควบคุมการนำไม้และของป่าเคลื่อนที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ |
6 | สำนักแผนงานและสารสนเทศ | ศึกษาวิจัยเพื่อเสนอโครงการ นโยบาย แผนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรป่าไม้ จัดตั้งงบประมาณประจำปี จัดทำแผนและกิจกรรมตามแนวพระราชดำริและนโยบายที่เกี่ยวข้อง ประสานงานกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการพิเศษอื่น รวมทั้งองค์การต่างประเทศที่เกี่ยวกับป่าไม้ จัดทำระบบเก็บข้อมูลและเชื่อมเครือข่ายให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลของกรม และดำเนินงานเลขานุการของ "คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ" |
7 | สำนักวิจัยและพัฒนาป่าไม้ | ศึกษาวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดความรู้เชิงวิชาการด้านการป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ สถานการณ์เศรษฐกิจด้านป่าไม้ การตลาดไม้ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ มาตรฐานคุณภาพไม้และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ให้บริการตรวจสอบไม้และผลผลิตป่าไม้ |
8 | สำนักส่งเสริมการปลูกป่า | ดำเนินการด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพื้นที่ป่าไม้ การขยายพันธุ์ไม้เพาะชำกล้าไม้ ศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ เผยแพร่ความรู้ให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ ในเรื่องดังกล่าว สนับสนุนการปลูกป่าในที่ดินรัฐ การปลูกสวนป่าในที่ดินเอกชน การสหกรณ์สวนป่า และการปลูกป่าเศรษฐกิจทุกรูปแบบ ดำเนินงานเกี่ยวกับ "กฎหมายว่าด้วยสวนป่า" |
9–21 | สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 – 13 | ดูส่วน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ |
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้
แก้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาคของกรมป่าไม้ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่งานป้องกันการบุกรุกทำลายป่าไม้ งานจัดการที่ดินป่าไม้ งานวิจัยและพัฒนาด้านการป่าไม้ งานส่งเสริมการปลูกป่า จัดการป่าชุมชน รวมทั้งจัดทำแผนการบริหารในส่วนพื้นที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรม จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แบ่งการบริหารออกเป็น 13 พื้นที่[5] ดังนี้
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 (ตาก)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 (ขอนแก่น)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 (ราชบุรี)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 11 (สุราษฎร์ธานี)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 (นครศรีธรรมราช)
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา)
ทำเนียบเจ้ากรมและอธิบดี
แก้นับตั้งแต่ก่อตั้งกรม มีเจ้ากรมและอธิบดีกรมป่าไม้ทั้งสิ้น 34 คน (ไม่นับรักษาการอธิบดี)[6]
หมายเหตุ: ตัวเอียง รักษาการอธิบดี
เจ้ากรมป่าไม้ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. มร.เอช.เอ. เสลด (H.A. Slade) | 2439 - 2444 |
2. มร.ดับลิว.เอฟ.แอล ทอตเทนแฮม (W.F.L. Tottenham) | 2444 - 2447 |
3. มร.ดับลิว.เอฟ. ลอยด์ (W.F. Lloyd) | 2448 - 2466 |
อธิบดีกรมป่าไม้ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
4. พระยาดรุพันพิทักษ์ | 2467 - 2477 |
5. พระยาพนานุจร | 2478 - 2484 |
6. พันเอก เพียร สฤษฎ์ยุทธศิลป์ พิริยะโยธิน | 2484 - 2490 |
7. หม่อมเจ้าสืบศุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ | 2491 - 2492 |
8. หลวงสมานวนกิจ | 2493 - 2495 |
9. เทียม คมกฤส | 2495 - 2500 |
10. เฉลิม ศิริวรรณ | 2501 - 2503 |
11. วิเชียร กุญชร ณ อยุธยา | 2503 - 2507 |
12. ดุสิต พานิชพัฒน์ | 2507 - 2514 |
13. ตรี กกกำแหง | 2514 - 2516 |
14. ประดิษฐ วนาพิทักษ์ | 9 สิงหาคม 2516 - 15 กรกฎาคม 2520 |
15. ถนอม เปรมรัศมี | 15 กรกฎาคม 2520 - 14 ตุลาคม 2523 |
16. พงศ์ โสโน | 15 ตุลาคม 2523 - 30 กันยายน 2526 |
17. จำนงค์ โพธิสาโร | 1 ตุลาคม 2526 - 30 กันยายน 2528 |
18. ดร.ชำนิ บุณโยภาส | 1 ตุลาคม 2528 - 14 กันยายน 2531 |
ดร.เกษม จันทร์แก้ว | 15 กันยายน 2531 - 26 ตุลาคม 2531 |
ดร.ยุกติ สาริกะภูติ | 27 ตุลาคม 2531 - 30 กันยายน 2532 |
19. ไพโรจน์ สุวรรณกร | 1 ตุลาคม 2532 - 30 กันยายน 2534 |
20. ทิวา สรรพกิจ | 1 ตุลาคม 2534 - 30 พฤศจิกายน 2535 |
21. ผ่อง เล่งอี้ | 1 ธันวาคม 2535 - 21 มิถุนายน 2538 |
22. ร้อยตรี บรรณเลิศ รัชตกุล | 22 มิถุนายน 2538 - 27 มิถุนายน 2538 |
23. ยรรยงก์ ถนอมพิชัยธำรง | 11 กรกฎาคม 2538 - 23 มกราคม 2539 |
24. พยุง นพสุวรรณ | 24 มกราคม 2539 - 23 สิงหาคม 2539 (รักษาราชการ) 24 สิงหาคม 2539 - 30 กันยายน 2539 |
25. สถิตย์ สวินทร | 1 ตุลาคม 2539 - 25 เมษายน 2541 |
26. ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี | 4 พฤษภาคม 2541 - กันยายน 2545 |
27. วีรพันธุ์ ศรีบุญลือ | ตุลาคม 2545 - เมษายน 2546 |
28. ฉัตรชัย รัตนโนภาส | 7 กรกฎาคม 2546 - 30 กันยายน 2549 |
ไพศาล กุวลัยรัตน์ | กันยายน 2549 - พฤศจิกายน 2549 |
29. วิชัย แหลมวิไล | พฤศจิกายน 2549 - เมษายน 2551 |
30. สมชัย เพียรสถาพร | เมษายน 2551 - กันยายน 2553 |
31. สุวิทย์ รัตนมณี | กันยายน 2553 - ตุลาคม 2555 |
32. บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ | ตุลาคม 2555 - กรกฎาคม 2557 |
33. ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ | กรกฎาคม 2557 - กันยายน 2558 |
34. ชลธิศ สุรัสวดี | กันยายน 2558 - ตุลาคม 2560 |
สุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ | กุมภาพันธ์ 2561 - พฤศจิกายน 2561 |
35. อรรถพล เจริญชันษา | พฤศจิกายน 2561 - มกราคม 2566 |
36. สุรชัย อจลบุญ | มกราคม 2566-ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561". เล่ม 134 ตอนที่ 101ก หน้า 7 วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 http://www.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=404&Itemid=408 ประวัติกรมป่าไม้โดยสังเขป - กรมป่าไม้
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, "กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2551". เล่ม 125 ตอนที่ 63ก หน้า 10-18 วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551.
- ↑ หน่วยงานส่วนภูมิภาค. กรมป่าไม้. สืบค้นวันที่ 24 กรกฎาคม 2561.
- ↑ http://www.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=302&Itemid=409&lang=th พระนามและรายนามอธิบดีกรมป่าไม้ - กรมป่าไม้
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
แก้- Tinakrit Sireerat. “Looking North: Hokkaido’s Farms, Lanna’s Forrest, and the Colonial Nature of Knowledge in Nineteenth-Century Japan and Thailand.” Ph.D. diss., Cornell University, 2022.