คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council - NPKC) เป็นคณะนายทหารที่ก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก และ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ก่อตั้ง | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 |
---|---|
ยุติ | 21 เมษายน พ.ศ. 2535[1] |
ประเภท | คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง |
หัวหน้า | พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ |
บุคลากรหลัก | พลเอก สุจินดา คราประยูร (รองหัวหน้า) พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ (รองหัวหน้า) พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล (รองหัวหน้า) พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ (รองหัวหน้า) พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี (เลขาธิการ) |
รสช. ให้เหตุผลในการยึดอำนาจว่า[2]
- พฤติการณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวง รัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นรัฐบาล บุฟเฟ่ต์คาบิเนต ร่ำรวยผิดปกติ
- ข้าราชการการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต
- รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา
- การทำลายสถาบันทางทหาร
- การบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อขจัดภยันตรายที่มีต่อประเทศชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากรัฐบาลละเลยคดีลอบสังหารเชื้อพระวงศ์ โดยอ้างอิงคำสารภาพของ พันเอก บุลศักดิ์ โพธิเจริญ ส.ส. พรรคพลังธรรม จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งให้การซัดทอด พลตรีมนูญ รูปขจร (พลตรีมนูญกฤต รูปขจร)
ผู้บริหาร
แก้ภายหลังการยึดอำนาจ รสช. ได้แต่งตั้งให้บุคคล ดังนี้[3][4]
ตำแหน่ง | ชื่อ | ตำแหน่งทางทหาร |
---|---|---|
หัวหน้า | พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
รองหัวหน้า | พลเอก สุจินดา คราประยูร | ผู้บัญชาการทหารบก |
รองหัวหน้า | พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ | ผู้บัญชาการทหารเรือ |
รองหัวหน้า | พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล | ผู้บัญชาการทหารอากาศ |
รองหัวหน้า | พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ | อธิบดีกรมตำรวจ |
เลขาธิการ | พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี | รองผู้บัญชาการทหารบก |
โฆษก | พันเอก ประพาศ ศกุนตนาค | โฆษกคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ |
- พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ประธานกรรมการ
- พลเอก สุจินดา คราประยูร รองประธานกรรมการ
- พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ รองประธานกรรมการ
- พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล รองประธานกรรมการ
- พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองประธานกรรมการ
- พลเอก อรุณ ปริวัติธรรม
- พลเอก วิมล วงศ์วานิช
- พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท
- พลเรือเอก วิเชษฐ การุณยวนิช
- พลเรือเอก สมพงษ์ กมลงาม
- พลอากาศเอก สุเทพ เทพรักษ์
- พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ
- พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
- เจริญจิตต์ ณ สงขลา
- พลอากาศเอก พิศิษฐ์ ศาลิคุปต์
คณะกรรมการที่ปรึกษา
แก้- บุญชนะ อัตถากร ประธานที่ปรึกษา
- ประภาศน์ อวยชัย รองประธานที่ปรึกษา
- พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รองประธานที่ปรึกษา
- พลเอก ชัชชม กันหลง ด้านการทหาร
- พลเอก บรรจบ บุนนาค ด้านการทหาร
- พลเรือเอก ชาติ ดิษฐบรรจง ด้านการทหาร
- พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ด้านการทหาร
- อุกฤษ มงคลนาวิน ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
- อาสา สารสิน ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
- มีชัย ฤชุพันธุ์ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
- โกเมน ภัทรภิรมย์ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
- ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
- อมเรศ ศิลาอ่อน ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
- วีรพงษ์ รามางกูร ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
- ชวลิต ธนะชานันท์ ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
- อานันท์ ปันยารชุน ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
- พารณ อิศรเสนา ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
- สุธี สิงห์เสน่ห์ ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
- พลตำรวจเอก เภา สารสิน ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
- เกษม จาติกวณิช ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
- เสนาะ อูนากูล ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
- สมชัย วุฑฒิปรีชา ด้านสังคมจิตวิทยา
- พิชัย วาศนาส่ง ด้านสังคมจิตวิทยา
- ไพโรจน์ นิงสานนท์ ด้านสังคมจิตวิทยา
- นิเชต สุนทรพิทักษ์ ด้านสังคมจิตวิทยา
- สุวรรณ จันทร์สม ด้านสังคมจิตวิทยา
- อุทัย สุดสุข ด้านสังคมจิตวิทยา
- โกวิท วรพิพัฒน์ ด้านสังคมจิตวิทยา
- อาณัติ อาภาภิรม ด้านเทคโนโลยี
- สง่า สรรพศรี ด้านเทคโนโลยี
- วีระ ปิตรชาติ ด้านเทคโนโลยี
- ไพบูลย์ ลิมปพยอม ด้านเทคโนโลยี
- สุวิช ฟูตระกูล ด้านเทคโนโลยี
- สถาพร กวิตานนท์ ด้านเทคโนโลยี
- บดี จุณณานนท์ ด้านเศรษฐกิจและการคลัง (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- สมภพ โหตระกิตย์ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- ประเสริฐ นาสกุล ด้านการเมืองและการต่างประเทศ (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- ชัยเชต สุนทรพิพิธ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- อำนวย วีรวรรณ ด้านเศรษฐกิจและการคลัง (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- จรัส สุวรรณเวลา ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- สุธรรม อารีกุล ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- ณัฐ ภมรประวัติ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- ชูศักดิ์ ศิรินิล ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- ชาตรี เมืองนาโพธิ์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- เอี่ยม ฉายางาม ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- ชนะ กสิภาร์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- โกศล เพ็ชรสุวรรณ์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
- ไขศรี ศรีอรุณ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน
แก้รสช. ได้ออกคำสั่ง รสช. ฉบับที่ 26 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) มีพลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็นประธาน ทำการอายัติและตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ จำนวน 23 คน ผลการตรวจสอบทรัพย์สิน สรุปให้ยึดทรัพย์ของอดีตรัฐมนตรีจำนวน 10 คน
ในเวลาต่อมา ผู้ถูกยึดทรัพย์ได้ฟ้องคดีต่อศาลว่า คำสั่งของ รสช. และ คตส. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีคำพิพากษาในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2536 ว่าคำสั่งดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และให้เพิกถอนคำสั่งการยึดทรัพย์[6]
รายนามคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน
แก้- พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ ประธานกรรมการ
- สุธี อากาศฤกษ์ รองประธานกรรมการ
- มงคล เปาอินทร์
- ไพศาล กุมาลย์วิสัย
- สุชาติ ไตรประสิทธิ์
- พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
- อำนวย วงศ์วิเชียร
- พลเอก เหรียญ ดิษฐบรรจง
- ชัยเชต สุนทรพิพิธ กรรมการและเลขานุการ
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้แปรสภาพ เป็นสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
แก้สภาฯ ตั้งขึ้นหลังประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ตามมาตรา 18 ให้มีสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นกรรมการ ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ อาจแต่งตั้งกรรมการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินสิบห้าคน ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติคนหนึ่งซึ่งสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติแต่งตั้งเป็นรองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และให้เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นเลขาธิการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ให้สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติแต่งตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือไม่ได้เป็นกรรมการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เป็นรองเลขาธิการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติคนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้ ในกรณีที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำหน้าที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และในกรณีที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และรองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
อำนาจหน้าที่
แก้มีอำนาจหน้าที่ร่วมกับคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีจะแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเสนอแนะหรือให้ความคิดเห็นในเรื่องใดๆ ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่คณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดิน และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญการปกครองนี้ ในการประชุมร่วมกันของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองนี้ ให้ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
รายนามประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
แก้- พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
สิ้นสุด
แก้สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ตาม มาตรา 216 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2535
- ↑ "แถลงการณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญให้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ)
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญให้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เพิ่มเติม)
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
- ↑ คอลัมน์ กรองข่าวก้นตะกร้า, หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 24/9/48[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
- ↑ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2534 (มาตรา 216)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-07. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คณะปฏิวัติ (พลเรือเอก สงัด ชลออยู่) (20 ตุลาคม 2520) |
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – 21 เมษายน พ.ศ. 2535) |
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) |