บรรจบ บุนนาค
พลเอก บรรจบ บุนนาค (เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2468) เป็นทหารและนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน[1] และอดีตเสนาธิการทหารบก[2] อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
บรรจบ บุนนาค | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2468 ประเทศสยาม |
คู่สมรส | คุณหญิง อรนุช บุนนาค |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พลเอก บรรจบ บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2468 เป็นบุตรของมหาเสวกโท พระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) และคุณหญิงเจียน (สกุลเดิม อัตจุตพันธ์)[3] พลเอก บรรจบ บุนนาค สมรสกับคุณหญิงอรนุช[4] ธิดาพระยามานิตย์กุลพัทธ์ (มานิตย์ มานิตยกูล) มีบุตรชาย 2 คน ได้แก่
- พันตรี เอก บุนนาค
- นายบรรสาน บุนนาค, อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพเมียนมาร์ และเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น (เสียชีวิตแล้ว)
การศึกษา
แก้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต, โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง, โรงเรียนทหารช่างสหรัฐอเมริกา ณ วอชิงตัน ดี.ซี., โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 37, วิทยาลัยเสนาธิการทหารบก ณ รัฐแคนซัส, วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 11 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 22
พล.อ. บรรจบ เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นเดียวกับพล.อ. เทียนชัย สิริสัมพันธ์, พล.อ. หาญ ลีนานนท์ และพล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก[5]
การทำงาน
แก้ราชการทหาร
แก้พล.อ. บรรจบ บุนนาค เข้ารับราชการเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรเหล่าทหารช่าง เมื่อ พ.ศ. 2492 ดำรงตำแหน่งดังนี้
- ผู้บังคับหมวดกองพันทหารช่างที่ 2
- อาจารย์โรงเรียนทหารช่าง
- รองผู้บังคับการ กองพันทหารช่างที่ 6
- ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- นายทหารคนสนิทรองผู้บัญชาการทหารบก
- ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
- เสนาธิการกองพลทหารราบที่ 9
- ปลัดบัญชีทหารบก
- รองเสนาธิการทหารบก
- เสนาธิการทหารบก และเสนาธิการทหาร
ต่อมา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2535
ราชการพิเศษ
แก้พล.อ. บรรจบ บุนนาค ได้ตำแหน่งราชการทหารพิเศษ ได้แก่
- ราชองครักษ์เวร
- ราชองครักษ์พิเศษ
- เสนาธิการ กองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 4
- เสนาธิการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
- ประธานคณะเสนาธิการ กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
- กรรมการสภาทหารผ่านศึก
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
นอกจากนี้ พล.อ. บรรจบ บุนนาค ยังได้ดำรงตำแหน่งพิเศษ อาทิ สมาชิกวุฒิสภา, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
นายทหารพิเศษ
แก้พล.อ. บรรจบ บุนนาค ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษ ดังนี้
- กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
- กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
- กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
- กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กองพลนาวิกโยธิน
- กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ
- กองพันอากาศโยธินที่ 1 รักษาพระองค์
ยศทหาร
แก้พล.อ. บรรจบ บุนนาค ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลเอก เมื่อ พ.ศ. 2526, ได้รับอัตราจอมพล เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 และได้รับพระราชทานยศพลเรือเอก และ พลอากาศเอก เมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2535
สถานที่
แก้- อาคารพลเอก บรรจบ บุนนาค ค่ายบุรฉัตร[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเอก บรรจบ บุนนาค ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[11]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
- พ.ศ. 2525 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[14]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2519 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เวียดนามใต้ :
- สหรัฐอเมริกา :
- พ.ศ. 2519 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[15]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2526 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 2[16]
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นปินูโน
- มาเลเซีย :
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 2011-08-20.
- ↑ "สกุลบุนนาค" โดยชมรมสายสกุลบุนนาค โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช พฤศจิกายน 2542 ISBN 974-08-5189-4
- ↑ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพคุณหญิง อรนุช บุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
- ↑ พล.อ.เทียนชัย วิถีพรรคป่าหวาย สายป๋าเปรม
- ↑ ภาพข่าว เก็บถาวร 2019-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ฝ่ายกรรมวิธีข้อมูล กองพลทหารช่าง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, พฤษภาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘, ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๑๙๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
- ↑ AGO 1976-02 — HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS
- ↑ http://theme.archives.go.kr/viewer/common/archWebViewer.do?bsid=200200002590&dsid=000000000001&gubun=search