นายแพทย์ อุทัย สุดสุข เป็นอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

อุทัย สุดสุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2547
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มีนาคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ แก้

นายแพทย์ อุทัย จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต (พบ.) ปริญญาโทสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สม.) และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาธารณสุขดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

การทำงาน แก้

นายแพทย์ อุทัย สุดสุข รับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข[2] จนเกษียณอายุราชการ ต่อมาได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 32 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งในขณะนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งจำนวน 31 ที่นั่ง

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 นางอัญชลี เทพบุตร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้ลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้นายแพทย์อุทัย ได้เลื่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน แต่ก็ทำหน้าที่ได้ไม่นาน เขาก็ลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน

นายแพทย์ อุทัย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านสังคมจิตวิทยาในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)[3] ในปี 2534 ซึ่งมีพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ เป็นหัวหน้าคณะ และมีศาสตราจารย์ บุญชนะ อัตถากร เป็นประธานที่ปรึกษา ต่อมาเป็นวุฒิสมาชิกในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 6 ในปี 2535[4]

นายแพทย์ อุทัย ได้รับรางวัลนักวิชาการด้านสาธารณสุขดีเด่น เข้ารับพระราชทานรางวัลชัยนาทนเรนทร ประจำปี 2564[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. รายนามบุคคลและหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือก - สมาคมวิชาชีพสุขศึกษา
  2. อดีตบิ๊กสธ.แถลงจี้รัฐบาลลาออก
  3. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 26 หน้า 1 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
  5. วันอังคาร ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2564
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๘๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖