อัญชลี วานิช เทพบุตร
อัญชลี วานิช เทพบุตร (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต อดีตนายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นิพนธ์ พร้อมพันธุ์) เมื่อ พ.ศ. 2535 และอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2547 - เม.ย 2551
อัญชลี วานิช เทพบุตร | |
---|---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มกราคม พ.ศ. 2554 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[1] (0 ปี 192 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ |
ถัดไป | บัณฑูร สุภัควณิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2535–2566) |
คู่สมรส | ทศพร เทพบุตร |
ประวัติ
แก้อัญชลี (นามสกุลเดิม: วานิช; ชื่อเล่น: อ่อน) เป็นบุตรของนายเอกพจน์ – นางบุญรอด วานิช คหบดีในจังหวัดภูเก็ต [2]
อัญชลี จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2524 และปริญญาโทด้านกฎหมายพานิชย์นาวีและกฎหมายทั่วไป จากมหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา สมรสกับทศพร เทพบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์
เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาเคยทำกิจกรรมองค์การนักศึกษา และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักศึกษาร่วมรุ่นกับ สมคิด เลิศไพฑูรย์, อภิชาติ ดำดี, วสันต์ ภัยหลีกลี้, วิฑูรย์ นามบุตร, นพดล ปัทมะ, สุรพล นิติไกรพจน์ และบุญสม อัครธรรมกุล[3]
งานการเมือง
แก้อัญชลี วานิช เทพบุตร เข้าสู่งานการเมืองในปี พ.ศ. 2531 เป็นครั้งแรก ในสังกัดพรรคประชาชน[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายเรวุฒิ จินดาพล อดีตผู้ต้องหาแทนทาลัม ถึงสองครั้ง คือในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 และการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต สมัยแรกในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง 3 สมัยติดต่อกัน จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้มาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 25 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จนถึงในปี พ.ศ. 2547 ได้ลาออกจากตำแหน่งมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
อัญชลี ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ในการเลือกตั้งโดยตรงเป็นครั้งแรกของประเทศไทย จนกระทั่งหมดวาระการดำรงตำแหน่ง จึงได้กลับเข้ามามีบทบาทในการเมืองระดับชาติอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2552 เธอได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แทน กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ที่ลาออก เธอนับเป็นสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของไทย
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 5 และเธอได้รับเลือกในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคประชาธิปัตย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนพรรค[5][6]
กรณี สปก.4-01
แก้อัญชลี และสามี เคยเป็นข่าวเมื่อถูกสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ฟ้องร้องจากกรณีรับที่ดิน สปก.4-01 ที่บนภูเขาในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จำนวน 98 ไร่ เมื่อ พ.ศ. 2537 โดยไม่มีคุณสมบัติ เนื่องจากเป็นผู้มีฐานะดีและไม่ได้เป็นเกษตรกร[7] อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คำตัดสินของศาลจะออกมาเช่นนั้น ก่อนหน้ามีคดีความ สามีของ อัญชลี ได้ถือครองที่ดินนี้อยู่แล้วโดยมี ส.ค.1 เป็นเอกสารกรรมสิทธิ์ แต่เนื่องจาก ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ลาดเอียงจึงไม่สามารถนำไปเปลี่ยนเป็นโฉนดได้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (นางอัญชลี เทพบุตร)
- ↑ "ประวัติจากเว็บไซต์ส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-08. สืบค้นเมื่อ 2008-12-27.
- ↑ มติชน. (2552). สมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้ชายคิดบวก. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ "ชินวรณ์"นั่งเหรัญญิก ปชป. -"ชวนนท์"เกือบวืดตำแหน่งโฆษกพรรค[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ ฎีกาตัดสิน ให้สามีอัญชลี คาย'สปก.' เก็บถาวร 2007-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 8 มิถุนายน 2550
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
ก่อนหน้า | อัญชลี วานิช เทพบุตร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ | เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (4 มกราคม พ.ศ. 2554 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) |
บัณฑูร สุภัควณิช |