ทศพร เทพบุตร
ทศพร เทพบุตร เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นสามีของนางอัญชลี วานิช เทพบุตร
ทศพร เทพบุตร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | อัญชลี วานิช เทพบุตร |
ประวัติ
แก้ทศพร เทพบุตร เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเวสตัน แคนตั๊กกี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโท สาขาวิชาการตลาด จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
สมรสกับนางอัญชลี วานิช บุตรสาวคหบดีชาวภูเก็ต มีบุตร 1 คน
การทำงาน
แก้ทศพร เทพบุตร ทำธุรกิจส่วนตัว ต่อมาเข้าสู่งานการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ภรรยายังคงดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาจึงหลีกทางให้นางอัญชลี ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตแทน
เขายังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย[1]
กรณี ส.ป.ก. 4-01
แก้ทศพร เทพบุตร เคยเป็นถูกสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ฟ้องร้องจากกรณีรับที่ดิน สปก.4-01 ที่บนภูเขาในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จำนวน 98 ไร่ เมื่อ พ.ศ. 2537 โดยไม่มีคุณสมบัติ เนื่องจากเป็นผู้มีฐานะดีและไม่ได้เป็นเกษตรกร และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้คืนที่ดินดังกล่าว[2] อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คำตัดสินของศาลจะออกมาเช่นนั้น ก่อนหน้ามีคดีความ นาย ทศพร เทพบุตร ได้ถือครองที่ดินนี้อยู่แล้วโดยมี ส.ค.1 เป็นเอกสารกรรมสิทธิ์ แต่เนื่องจาก ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ลาดเอียงจึงไม่สามารถนำไปเปลี่ยนเป็นโฉนดได้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-02. สืบค้นเมื่อ 2013-11-10.
- ↑ ฎีกาตัดสิน ให้สามีอัญชลี คาย'สปก.' เก็บถาวร 2007-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 8 มิถุนายน 2550
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒