ณัฐ ภมรประวัติ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ณัฐ ภมรประวัติ (29 พฤศจิกายน 2471 – 16 กุมภาพันธ์ 2547) ท่านเคยเป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล อดีตกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์[1] ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2536 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานเด่นด้านพยาธิวิทยาของโรคตับ ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ เป็นชาวเชียงใหม่ เกิดในตระกูลแพทย์ประจำราชสำนัก เป็นบุตรคนแรกในจำนวน 2 คน ของหลวงอายุรกิจโกศล และท่านผู้หญิงยุภา อายุรกิจโกศล
ณัฐ ภมรประวัติ | |
---|---|
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม 2522 – 8 ธันวาคม 2534 | |
ก่อนหน้า | ศ.นพ.กษาน จาติกวนิช |
ถัดไป | ศ.นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี |
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล | |
ดำรงตำแหน่ง 2516–2522 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 |
เสียชีวิต | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (75 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
การศึกษา
แก้นายแพทย์ ณัฐ ภมรประวัติ เริ่มเข้าศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาศีกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่, โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[2] พ.ศ. 2495 จบปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ต่อมา พ.ศ. 2500 จบปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ( D.Sc.Med ) จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา และ พ.ศ. 2501 สอบได้เป็นผู้ชำนาญวิชาพยาธิวิทยา ของสหรัฐอเมริกา (Diplomate, American Board Of Pathology) และได้รับประกาศนียบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 21 ใน พ.ศ. 2522
ประวัติการทำงาน
แก้นายแพทย์ ณัฐ ภมรประวัติ เข้าทำงานที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใน พ.ศ. 2509 รับตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา ต่อมาใน พ.ศ. 2510 รับตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และหัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และใน พ.ศ. 2513–2516 ดำรงตำแหน่งรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาใน พ.ศ. 2516–2522 ดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ พ.ศ. 2517–2522 ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล และดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลระหว่าง พ.ศ. 2522–2534
รางวัลที่เคยได้รับ
แก้- พ.ศ. 2489 – 2490 - เหรียญรางวัลวิทยาศาสตร์ที่ 1 ปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2518 - เหรียญทองปาฐกถา สุด แสงวิเชียร
- พ.ศ. 2529 - ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2530 - ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่นครุฑทองคำ สมาคมข้าราชการพลเรือน
- พ.ศ. 2531 - Health for all Medal องค์การอนามัยโลก
- พ.ศ. 2536 - นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2536 มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2537 - บุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาบริหารการศึกษา คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
- พ.ศ. 2538 - Pasteur Medal จากองค์การยูเนสโก และสถาบันปาสเตอร์
- พ.ศ. 2539 - รางวัลมหิดลทยากร สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2542 - ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2545 - ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2546 - เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติพยาธิแพทย์อาวุโส ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาแพทยศาสตร์[6]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิจุฬาภรณ์" เป็นนิติบุคคล เล่ม 103 ตอนที่ 172 ง, วันที่ 7 ตุลาคม 2529
- ↑ "รายนามนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษารุ่น 6 จำนวน 59 คน". สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2014.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 103 ตอนที่ 12 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2, วันที่ 27 มกราคม 2529
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 98 ตอนที่ 206 ง ฉบับพิเศษ หน้า 44, วันที่ 17 ธันวาคม 2524
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 109 ตอนที่ 59 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2, วันที่ 5 พฤษภาคม 2535
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 101 ตอนที่ 134 ง ฉบับพิเศษ หน้า 14, วันที่ 29 กันยายน 2527
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 95 ตอนที่ 63 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2454, วันที่ 15 มิถุนายน 2521
บรรณานุกรม
แก้- สมบัติ จำปาเงิน (2000). นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๗. ชมรมเด็ก/องค์การของคุรุสภา. pp. 119–136. ISBN 974-298-055-1.
- "นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น: ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ณัฐ ภมรประวัติ". องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007.