อาณัติ อาภาภิรม
นายอาณัติ อาภาภิรม เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และอดีตผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)
อาณัติ อาภาภิรม | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ถัดไป | พินิจ จันทรสุรินทร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มกราคม พ.ศ. 2477 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงนภา อาภาภิรม |
ประวัติ
แก้อาณัติ สำเร็จการศึกษา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยโคโลราโด [1]
อาณัติ ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
แก้อาณัติ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (ครม.41)[2] และในรัฐบาลของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.42)[3] ต่อมาได้ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[4]
หลังจากนั้น ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2534
ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกครั้ง ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47)[5]
ปัจจุบัน อาณัติ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ "อาณัติ อาภาภิรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ 2013-08-17.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๓๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๔๑๓, ๒๗ เมษายน ๒๕๒๕