ไพโรจน์ นิงสานนท์
นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (2 สมัย) และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา
ไพโรจน์ นิงสานนท์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ |
ถัดไป | บุญพันธ์ แขวัฒนะ |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | บุญพันธ์ แขวัฒนะ |
ถัดไป | บุญพันธ์ แขวัฒนะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 เมษายน 2471 |
เสียชีวิต | 16 มีนาคม 2564 (92 ปี)[1] โรงพยาบาลรามาธิบดี[1] |
คู่สมรส | นางสุมาลี นิงสานนท์ (ชาย 1 หญิง 5 คน) |
ประวัติ
แก้ไพโรจน์ นิงสานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2471[1] เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวน 6 คน ของหลวงเจริญรถสิน (เจริญ นิงสานนท์) อดีตหัวหน้ากองคลังเงิน กรมรถไฟ กับนางตาบทิพย์ เจริญรถสิน (สกุลเดิม:แพทยานนท์) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต และสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ระดับปริญญาโทสาขาสาธารณสุขศาสตร์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสาธารณสุข จากมหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564 นางรสนา โตสิตระกูล เป็นประธานในการสวดพิธีอภิธรรมศพ
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ ให้พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
การทำงาน
แก้ไพโรจน์ นิงสานนท์ เคยรับราชการประจำกระทรวงสาธารณสุข เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข[2] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งมีนายบุญชนะ อัตถากร เป็นประธาน ต่อจากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี พ.ศ. 2534[3] และปี พ.ศ. 2535[4]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 นายไพโรจน์ ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "อาลัย! "นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์" อดีตรัฐมนตรีว่าการ สธ". กองบรรณาธิการ Hfocus. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564.
{{cite news}}
:|first=
ไม่มี|last=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ สปสช.ร่วมจุดตะเกียงหน้าบ้านนายกฯ 6 มิ.ย.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๘, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
ก่อนหน้า | ไพโรจน์ นิงสานนท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ (ครั้งแรก) บุญพันธ์ แขวัฒนะ (ครั้งที่ 2) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (2 มีนาคม พ.ศ. 2534 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 (ครั้งแรก) 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 - 22 กันยายน พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2)) |
บุญพันธ์ แขวัฒนะ |