ประพันธ์ ธูปะเตมีย์
พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ (7 เมษายน พ.ศ. 2470 – 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562) อดีต ผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ 10 ดำรงตำแหน่งช่วงปี 2525-2530 อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 และอดีตสมาชิกวุฒิสภาแบบแต่งตั้ง
ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 2526–2530 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ทะแกล้ว ศุศิลวรณ์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 เมษายน พ.ศ. 2470 |
เสียชีวิต | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (92 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิง วนิดา ธูปะเตมีย์ |
บุตร | พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ประจำการ | 2491-2530 |
ยศ | พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพอากาศไทย |
ประวัติ
แก้พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ เป็นบุตรของ ร้อยโท เจริญ และนางทุเรียน ธูปะเตมีย์ สมรสกับ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงวนิดา ธูปะเตมีย์ (สกุลเดิม รัตนพานิช) มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ พลอากาศตรีหญิง พันธ์นิดา ธูปะเตมีย์ ณ ลำปาง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ, พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ธร ธูปะเตมีย์ อดีตหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ถึงแก่อนิจกรรมเนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือด ณ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เมื่อวันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สิริอายุรวม 92 ปี
วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง เมรุ 1 ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ในการพระราชทานเพลิงศพ
การศึกษา
แก้พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดราชาธิวาส จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อด้านการทหาร ณ โรงเรียนเตรียมทหารบก และโรงเรียนนายร้อยทหารบก
- หลักสูตร Refresher Course, Pre CFS Course, Basic CFS Course และ Advance CFS Course ณ Central Flying School RAF South Cerney และ RAF Little Rissington สหราชอาณาจักร
- โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 5
- หลักสูตรเสนาธิการทหารอากาศสหรัฐ Air Command and Staff College, Maxwell Air Force Base Alabama USA
- วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 5
- หลักสูตร Logistics Development Course U.S. Army, Fort Lee Virginia USA
- หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 18
การทำงาน
แก้ราชการทหาร
แก้พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ รับราชการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2487 ในตำแหน่งนักเรียนนายร้อยทหารบก
จากนั้นได้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการจนมีความเจริญก้าวหน้าตามลำดับ โดยดำรงตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ นักบินประจำกอง, ครูการบิน, ผู้บังคับฝูงฝึกขั้นปลาย กองฝึก โรงเรียนการบิน, รองผู้บังคับกอง กองฝึก โรงเรียนการบิน, อาจารย์ฝ่ายวิชาการ กองวิชาการ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
ผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา, รองผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนเสนาธิการททหารอากาศ
ผู้บังคับการกองบิน 7, เจ้ากรมการเงินทหารอากาศ, เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายยุทธบริการ, รองเสนาธิการทหารอากาศ, รองผู้บัญชาการทหารอากาศ, ผู้บัญชาการทหารอากาศและรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ราชการพิเศษ
ท่านเคยเป็นนักบินหน่วยบินลำเลียงปฏิบัติร่วมรบกับสหประชาชาติในกรณีสงครามเกาหลี, ราชองครักษ์เวร ราชองครักษ์พิเศษ และตุลาการศาลทหารสูงสุด
วุฒิสภา
แก้พลอากาศเอก ประพันธ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7[1] และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[5]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[6]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[9]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[10]
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญสหประชาชาติเกาหลี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2527 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2527 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1[11]
- มาเลเซีย :
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๒๐๕๕, ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒๕, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๖ ง หน้า ๘๑๙๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.