คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 10 ของมหาวิทยาลัย และเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ในมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่แรกที่มีการเริ่มใช้หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตร Double Degree/หลักสูตรตรีควบโท ในประเทศไทย มีชื่อเสียงในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ (นานาชาติ) และผลิตงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Thammasat School of Engineering
สถาปนา19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (34 ปี)
คณบดีรศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล[1]
ที่อยู่
ศูนย์รังสิต
เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ศูนย์พัทยา
เลขที่ 39/4 หมู่ 5 ถนนชลบุรี–ระยอง ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
สี  สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์www.engr.tu.ac.th

ประวัติคณะ แก้

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีดำริที่จะจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ดังมีหลักฐานปรากฏในข้อเสนอแผนดำเนินการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนาคม พ.ศ. 2521 ความว่า "25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 สภาการศึกษามีหนังสือ ที่ สร.0411 (1) แจ้งว่าได้ส่งเรื่องไปยังมูลนิธิฟอร์ดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอความช่วยเหลือในการจัดสอนทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปริญญาตรี และช่วยในการวางแผนก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่รังสิตและวังหน้า" หลังจากปี พ.ศ. 2511 ก็ได้มีการพัฒนาที่ดินมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รังสิตมาโดยลำดับ และได้มีการจัดส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อต่างประเทศทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ แต่ในช่วง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มหาวิทยาลัยประสบภาวะวิกฤตการณ์ทางด้านการเมือง จึงทำให้โครงการต่าง ๆ ต้องชงักงันไป

ในปี พ.ศ. 2531 สมัยศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เสนอโครงการจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในช่วงการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 6 โดยผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 และจัดส่งให้ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2531 ขณะเดียวกันได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 พิจารณาเรื่องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ยกฐานะวิทยาลัยในหลายจังหวัดขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยและได้มีมติ "ให้ทบวงมหาวิทยาลัยรับไปพิจารณาเสนอจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วน"

เมื่อข้อเสนอโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 6 ของทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2531 และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2532 แล้ว ทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ไปยังสำนักงาน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่าง ๆ โดยต้องให้สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. พิจารณาเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งในที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2532 และได้ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะฯ ให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา จากนั้นสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีได้ส่งไปยังสำนักราชเลขาธิการเพื่อโปรดเกล้าลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงถือว่าวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เป็นวันจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้เริ่มดำเนินการเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยในด้านการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ในช่วงการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2533–2534 (2 ปีสุดท้ายของแผน) เพื่อให้มีส่วนในการผลิตวิศวกรสาขาต่าง ๆ ออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ อันเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงกำหนดให้วันนี้เป็นวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเป็น คณะที่ 10 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งที่ 9 ในมหาวิทยาลัยของรัฐโดยเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา 2533 เป็นต้นมา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา การดำเนินงาน
2533 เปิดรับนักศึกษา 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
2534 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
2536 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
2538 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
2539 เปิดรับนักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งน็อตติ้งแฮมประเทศอังกฤษ 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
2540 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
2545 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
เปิดรับนักศึกษา หลักสูตรปริญญาโท 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และสาขาวิชาเคมี
เปิดรับนักศึกษา หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
เปิดหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2549 เปิดรับนักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
2551 เปิดหลักสูตรปริญญาตรี–โท วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ (Engineering and Business Management) และหลักสูตรปริญญาโท–เอก วิศวกรรมทางการแพทย์ (Medical Engineering)
2554 เปิดหลักสูตรควบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตและวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (Integrated Program of Bachelor and Master of Engineering in Industrial Electrical Engineering)
2556 เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) (Automotive Engineering Program)
2557 เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Bachelor of Engineering Program in Software Engineering) 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ได้ขยายการเรียนการสอน และให้บริการศูนย์ฝึกอบรม สัมมนาในภูมิภาค มีนโยบายที่จะพัฒนาศูนย์การศึกษาภูมิภาคอย่างจริงจัง เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา และนำความเป็นเลิศทางวิชาการ วิธีคิดและวิถีของความเป็นธรรมศาสตร์ไปสู่ชุมชนภาคภาคตะวันออกอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2557 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัท สยามกลการ จำกัด ในการสร้างอาคารปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ เป็นจำนวนเงิน 68 ล้านบาท และอาคารสนับสนุนการเรียนการสอน (หอพัก) เป็นจำนวนเงิน 30 ล้านบาท อีกทั้งบริษัทสยามกลการยังได้บริจาคเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในอาคารปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ และทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ที่มีผลการเรียนดี   

หน่วยงานและหลักสูตร แก้

ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรทั้งภาคปกติ และโครงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[2]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
บัณฑิตศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ (หลักสูตรพหุวิทยาการ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ (หลักสูตรพหุวิทยาการ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน และโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ (TEP–TEPE) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (สองสถาบัน)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (สองสถาบัน)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สองสถาบัน)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (สองสถาบัน)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (สองสถาบัน)
โครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (TU–PINE) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและบริหารการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ

รายนามคณบดี แก้


ลำดับที่ 1 ศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธิ์  คูวัฒนาชัย

ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 – 14 มกราคม พ.ศ. 2536

รักษาการในตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ 15 มกราคม พ.ศ. 2536 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536

รองศาสตราจารย์ สถาพร  เกตกินทะ          

รักษาการในตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2537

ลำดับที่ 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมนึก  ประภารธนาธร

รักษาราชการในตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2537

ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2537 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540

ลำดับที่ 3 รองศาสตราจารย์ ดร.จิรศิริพงศ์  เจริญภัณฑารักษ์

ดำรงตำแหน่งคณบดี สมัยที่ 1 ตั้งแต่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2543 

ดำรงตำแหน่งคณบดี สมัยที่ 2 ตั้งแต่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 

รักษาการในตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 – 2 กันยายน พ.ศ. 2545

ลำดับที่ 4 รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์  บุญญภิญโญ

ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ 2 กันยายน พ.ศ. 2545 – 2 กันยายน พ.ศ. 2548

ลำดับที่ 5 รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุยา  วีสกุล

ดำรงตำแหน่งคณบดี สมัยที่ 1 ตั้งแต่ 2 กันยายน พ.ศ. 2548 – 2 กันยายน พ.ศ. 2551

รักษาการในตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 – 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ดำรงตำแหน่งคณบดี สมัยที่ 2 ตั้งแต่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 – 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ลำดับที่ 6 รองศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์  วังศกาญจน์

ดำรงตำแหน่งคณบดี สมัยที่ 1 ตั้งแต่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554 – 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ดำรงตำแหน่งคณบดี สมัยที่ 2 ตั้งแต่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 – 29 กันยายน พ.ศ. 2560

ลำดับที่ 7 รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร  เจียศิริพงษ์กุล

รักษาการแทนตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ดำรงตำแหน่งคณบดี สมัยที่ 1 ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. "รายนามผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-11. สืบค้นเมื่อ 2013-10-18.
  2. "หลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2013-10-18.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้