นภาเดช ธูปะเตมีย์

พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ (ชื่อเล่น: ป้อง) เป็นนายทหารอากาศชาวไทย อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศไทย คนที่ 28[1][2]

นภาเดช ธูปะเตมีย์
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565
(0 ปี 332 วัน)
ก่อนหน้าพลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ
ถัดไปพลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565
(0 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ
ถัดไปพลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 มกราคม พ.ศ. 2505 (62 ปี)
คู่สมรสปัญญดาว ธูปะเตมีย์
บุตรกนกนันท์ ธูปะเตมีย์
บุพการี
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21
โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รุ่นที่ 28
โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 71
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 58
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ชื่อเล่นป้อง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพอากาศไทย
ยศ พลอากาศเอก
บังคับบัญชากองทัพอากาศไทย
กองบิน 23
ฝูงบิน 103

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

นภาเดชเกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของพลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศไทย คนที่ 10 และคุณหญิงวนิดา ธูปะเตมีย์

การศึกษา

แก้

นภาเดชจบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21 จากนั้น เข้าสู่โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รุ่นที่ 28

การทำงาน

แก้

โดยดำรงตำแหน่งเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ เอฟ 5 และเอฟ 16 เป็นผู้บังคับฝูงบิน 103 ผู้ช่วยทูตทหารอากาศประจำปักกิ่ง ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้บังคับการกองบิน 23 รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ กระทั่ง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ[3][4][5]

ในช่วงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ นภาเดชกำลังพิจารณาจัดหาเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่รุ่นเก่าที่ล้าสมัย โดยเสนอเครื่องบินขับไล่เอฟ-35 เพื่อมาทดแทนเอฟ-5 และเอฟ-16 มีการริเริ่มตั้งโครงการในแผนงบประมาณของกองทัพอากาศในปี พ.ศ. 2566 เมื่อมีความต้องการและผลิตมากขึ้นทำให้ราคาลดต่ำลง ด้วยกลไกของการตลาดและการเมือง[6][7][8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   สิงคโปร์ :
    • พ.ศ. 2565 –   เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[13]

อ้างอิง

แก้
  1. "รู้จัก 21 ข้อเด่น "บิ๊กป้อง" "พล.อ.อ.นภาเดช ธูปปะเตมีย์"ผบ.ทอ.คนใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-23. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
  2. เปิดโผ‘ปลัดกห.-ผบ.ทอ.-ทร.’ วรเกียรติ-นภาเดช-ธีรกุล ‘สุพจน์’จากกองทัพผงาดสมช.
  3. พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ ๒๘[ลิงก์เสีย]
  4. เปิดปูม “พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปเตมีย์” ผบ.ทอ.ส้มหล่น ไอดอล “พ่อทัพฟ้า”
  5. ฟัง "บิ๊กป้อง" ย้อนอดีต โชว์อนาคต นำทัพฟ้า สู่กองทัพคุณภาพ ไร้แตกแยก
  6. กองทัพอากาศเปิดแผนเตรียมซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35 เชื่อผู้ที่เข้าใจจะสนับสนุน เพราะซื้อเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
  7. ถอดรหัส ‘ยุทธการ F35’ ของ ‘บิ๊กป้อง 9 G’ ย้อนตำนาน Snowy กับแผนจัดทัพฟ้า และอนาคต Top 5 เสืออากาศ/รายงานพิเศษ
  8. ผบ.ทอ. เปิดแผนซื้อ เอฟ-35 เครื่องละ 2.7 พันล้าน เทคโนโลยีสูง เผยจังหวะดีราคาตก เชื่อทัวร์ไม่ลง
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๒๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๓๒, ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๔๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
  13. Ministry of Defence Singapore. Royal Thai Air Force Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 16 สิงหาคม 2565 สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
ก่อนหน้า นภาเดช ธูปะเตมีย์ ถัดไป
แอร์บูล สุทธิวรรณ    
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565)
  อลงกรณ์ วัณณรถ