ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์
ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 5 สมัย เป็นบุตรของ สง่า วัชราภรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ
ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน) |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ เป็นบุตรของนายสง่า วัชราภรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษหลายสมัย และเป็นน้องชายของนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์[1] อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
การทำงาน
แก้ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษสมัยแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคม คู่กับสง่า วัชราภรณ์ บิดา ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคมเช่นเดียวกัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 รวมทั้งในปี พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ จากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 5 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แต่ต่อมาถูกสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง)
ในปี 2561 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังพลเมืองไทย ของสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ และรับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค[2] แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[3] และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ พปชร.คึกคัก"ดนัยฤทธิ์-น้องนิสิต-พริตตี้"สมัครสมาชิก
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/D/070/T137.PDF
- ↑ อดีตส.ส.ศรีสะเกษ เตรียมสมัครสมาชิก พปชร.
- ↑ "เลือกตั้ง 62 | "ปาร์ตี้ลิสต์" จัดเต็ม 7 พรรค เปิดบัญชีรายชื่อ 56-150 คน ฉบับสมบูรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐