สุมิตร สุนทรเวช

สุมิตร สุนทรเวช (เกิด 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2480) เป็นนักการเมืองชาวไทย ประธานพรรคประชากรไทย[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และอดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย น้องชายของ สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 25

สุมิตร สุนทรเวช
หัวหน้าพรรคประชากรไทย
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2544 – 20 เมษายน พ.ศ. 2562
(18 ปี 27 วัน)
ก่อนหน้าสมัคร สุนทรเวช
ถัดไปคณิศร สมมะลวน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 (86 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2519—2522)
ประชากรไทย (2522—ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

สุมิตร สุนทรเวช เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร:2445-2524) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก

สุมิตรเป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้

การศึกษา

แก้

สุมิตร สุนทรเวช จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเทเวศน์ศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ชั้นเตรียมอุดมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นจึงได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (สาขารัฐศาสตร์) และเข้ารับการอบรมประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาการปกครองระบอบประชาธิปไตย (ปปร.) รุ่นที่ 1

ตำแหน่งทางการเมือง

แก้

สุมิตร สุนทรเวช เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชากรไทย เป็นกรรมการบริหารพรรค รองหัวหน้าพรรค และหัวหน้าพรรคประชากรไทย ในปี พ.ศ. 2544[2] โดยสุมิตร สุนทรเวช เป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2522 , 2526, 2531, 2538 และ พ.ศ. 2539 เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชากรไทย[3] แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ต่อมาด้วยอายุที่มากขึ้นและสุขภาพที่ไม่เอื้ออำนวยนายสุมิตรจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562 [4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. “พรรคประชากรไทย” กลับมาแล้ว “สุมิตร สุนทรเวช” ชู “สมัคร โมเดล” ทวงคะแนนนิยม
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชากรไทย
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชากรไทย)
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชากรไทย
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
ก่อนหน้า สุมิตร สุนทรเวช ถัดไป
สมัคร สุนทรเวช    
หัวหน้าพรรคประชากรไทย
(24 มีนาคม พ.ศ. 2544 - 20 เมษายน พ.ศ. 2562)
  คณิศร สมมะลวน