พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร)

ขุนนางชาวไทย

มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) (23 ตุลาคม พ.ศ. 2414 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2492) เป็นขุนนางชาวไทย อดีตองคมนตรี เป็นผู้มีฝีมือทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะด้านจิตรกรรม และการถ่ายภาพ จนได้เป็นช่างภาพประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยฉายพระบรมฉายาลักษณ์ และการเสด็จประพาสในวาระต่าง ๆ

พระยาอนุศาสน์จิตรกร
(จันทร์ จิตรกร)

เกิด23 ตุลาคม พ.ศ. 2414
ตำบลวัดราชบูรณะ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต10 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (77 ปี)
จังหวัดพระนคร
สัญชาติสยาม
อาชีพข้าราชการในพระราชสำนัก
มีชื่อเสียงจากจิตรกรและช่างภาพ

พระยาอนุศาสน์จิตรกรเป็นต้นสกุล "จิตรกร"[1]

ประวัติ แก้

พระยาอนุศาสน์จิตรกรเป็นต้นสกุล "จิตรกร" เป็นบิดาของคุณหญิงอำพัน บำรุงราชบริพาร มารดาของสมัคร สุนทรเวช

พระยาอนุศาสน์จิตรกรเกิดที่ตำบลวัดราชบูรณะ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2414 เข้าศึกษาวิชาการชั้นต้นที่ วัดสังเวชวิศยาราม สำนักพระอาจารย์เพชร และพระอาจารย์สังข์ และวิชาการอื่น ๆ จากครูพุด ยุวะพุกกะ

พระยาอนุศาสน์จิตรกรเข้ารับราชการครั้งแรกใน พ.ศ. 2436 โดยถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต่อมาได้รับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นที่ "หลวงบุรีนวราษฐ์" มีตำแหน่งราชการในกรมมหาดเล็ก ถือศักดินา 600 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2448[2]เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ในปี พ.ศ. 2454 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงบุรีนวราษฎร์ได้รับพระราชทานยศชั้นหัวหมื่นมหาดเล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาอนุศาสน์จิตรกร" ตำแหน่งจางวางกรมช่างมหาดเล็ก และได้รับพระราชทานเครื่องยศเป็น โต๊ะทองกาทอง ในงานสมโภชพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลและพระมหานาคชินะเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2455[3] และได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้ากรมช่างมหาดเล็กในปี พ.ศ. 2459

พระยาอนุศาสน์จิตรกรได้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีในองค์พระมหากษัตริย์ 2 รัชกาล โดยเป็นองคมนตรีรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2462 และองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2469

พระยาอนุศาสน์จิตรกรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เมื่ออายุได้ 78 ปี

ผลงาน แก้

 
จิตรกรรมฝาผนังพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตอนยุทธหัตถีที่หนองสาหร่าย ผลงานของพระยาอนุศาสน์จิตรกร ปัจจุบันอยู่ที่วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระยาอนุศาสตร์จิตรกรเป็นช่างฝีมือในทางศิลปหลายแขนง โดยเฉพาะการเขียนภาพ ทั้งภาพปก ภาพลายเส้นประกอบเรื่อง และภาพจิตรกรรมฝาผนัง เชี่ยวชาญทางเขียนภาพที่ใช้สีผสมน้ำปูนตามแบบโบราณ ภาพสีน้ำมัน ออกแบบเครื่องแต่งกาย สร้างฉากละครเรื่องต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดง ภาพวาดฝาผนังในสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระราชวังสนามจันทร์, วัดพระปฐมเจดีย์ (นครปฐม), ภาพเรื่องรามเกียรติ์ ในพระที่นั่งบรมพิมาน และระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม, ภาพเขียนสีน้ำมัน บนกุฏิสมเด็จฯ วัดเทพศิรินทราวาส, ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม (อยุธยา) และวัดสามแก้ว (ชุมพร) เป็นต้น

ผลงานชิ้นเอกที่คนไทยรู้จักมากที่สุด น่าจะเป็นภาพพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวิหารวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งใช้เวลาวาดเกือบสองปีเต็ม

ในทางการถ่ายภาพ ท่านยังเป็นช่างภาพที่มีฝีมือดี เคยเป็นผู้อำนวยการร้านถ่ายรูปฉายานรสิงห์ (อยู่ตรงข้ามศาลาเฉลิมกรุงในปัจจุบัน) ร้านถ่ายรูปหลวง ได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และภาพสถานที่ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสไว้เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้พระยาอนุศาสน์จิตรกรยังได้แต่งกวีนิพนธ์ไว้จำนวนหนึ่ง ตามความนิยมในแวดวงพระราชสำนักของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เช่น "นิราศตามเสด็จฯ" เมื่อคราวตามเสด็จการแปรพระราชฐาน ระหว่างเมษายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2467

ตำแหน่ง แก้

  • เจ้ากรมช่างมหาดเล็ก
  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 จางวางกรมช่างมหาดเล็ก[4]
  • 4 เมษายน พ.ศ. 2462 องคมนตรี[5]

บรรดาศักดิ์ แก้

  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2448 หลวงบุรีนวราษฐ์ ถือศักดินา 600
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 หลวงเดชนายเวร มหาดเล็กเวรเดช ถือศักดินา 800[6]
  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2454 พระยาอนุศาสน์จิตรกร จางวางกรมช่างมหาดเล็ก ถือศักดินา 1600[7]

ยศ แก้

ยศพลเรือน แก้

  • มหาเสวกตรี

ยศเสือป่า แก้

  • – นายหมู่ตรี
  • 4 มิถุนายน 2456 – นายหมู่โท[8]
  • 22 มิถุนายน พ.ศ. 2457 นายหมู่เอก[9]
  • 4 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - นายหมวดตรี[10]
  • – นายหมวดโท
  • 8 พฤศจิกายน 2458 – นายหมวดเอก[11]
  • นายกองตรี
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 นายกองโท[12]
  • 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 นายกองเอก[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญและเข็มต่างๆ ดังนี้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงมุรธาธร พระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 1" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30: 649. 26 มิถุนายน 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  3. พระราชทานเครื่องยศ โต๊ะทองกาทอง
  4. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  5. พระราชทานสัญญาบัตรตั้งองคมนตรี
  6. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  7. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  8. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  9. ตั้งตำแหน่งยศนายหมู่เสือป่า
  10. ประกาศเลื่อนยศเสือป่า (หน้า 1996)
  11. พระราชทานยศเสือป่า
  12. พระราชทานยศเสือป่า (หน้า 3326)
  13. พระราชทานยศนายเสือป่า
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๔, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๑๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๙๕, ๒๙ มกราคม ๒๔๖๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๘, ๒๖ มกราคม ๒๔๖๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้น ๆ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๘๘, ๙ มิถุนายน ๑๓๑
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๔๖๒, ๑๑ ตุลาคม ๑๒๒
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๘, ๒๖ มกราคม ๒๔๖๑
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๕, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๐๗, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม เก็บถาวร 2022-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๔, ๒๘ พฤษภาคม ๑๓๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • พระยาอนุศาสน์จิตรกร. นิราศตามเสด็จ เสด็จพระราชดำเนิรประพาสราชนิเวศน์มฤคทายวัน พระพุทธศักราช 2467. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ (ประมาณ พ.ศ. 2548).