การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มีขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 โดยเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง[1]
![]() | |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ลงทะเบียน | 980,863 | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||
|
สถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง
แก้นับตั้งแต่มีการควบรวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น กรุงเทพมหานคร (ในการรวมครั้งแรก ใช้ชื่อว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี[2] ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นปัจจุบันในปี 2515) ในปี 2514 สมัยรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร
ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะเป็นลักษณะการแต่งตั้งจาก กระทรวงมหาดไทย เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ของประเทศ ถึงแม้ กรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายเป็น เขตปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ก็ตาม
จนกระทั่งมีการตรา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518[3] ขึ้น โดยใน มาตรา 21 ของพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็ได้มีการจัดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้น ครั้งแรกใน การเลือกตั้ง ปี 2518 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2518 ซึ่งในครั้งนั้น เป็น ธรรมนูญ เทียนเงิน จาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งไป
แต่ในเวลาต่อมา ก็ได้มีการปลดผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2520 และกลับมาใช้การแต่งตั้งผู้ว่าแทน จนมีการตรา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[1] ซึ่งกำหนดให้ที่มาของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง และได้มี พระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 โดยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครพร้อมกันนี้ด้วย และ จัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 เป็นวันเลือกตั้ง[4]
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
แก้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งหมด 10 คนดังนี้[5]:
- อดิศร อิสี (กลุ่มนวพล) – นักจัดรายการวิทยุ (หมายเลข 1)
- สมิตร สมิทธินันท์ (กลุ่มปากหมาเพื่อประชาชน) – นักกิจกรรมทางการเมือง (หมายเลข 2)
- มงคล สิมะโรจน์ (กลุ่มกรุงเทพก้าวหน้า) – อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2518-2520)[6] (หมายเลข 3)
- ชนะ รุ่งแสง (พรรคประชาธิปัตย์) – รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย, สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2516 และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2519 (หมายเลข 4)
- ชิงชัย ต่อประดิษฐ์ (พรรคมวลชน) – อัยการพิเศษ กรมอัยการ (หมายเลข 5)
- อนันต์ ภักดิ์ประไพ (กลุ่มรัตนโกสินทร์ 28) – อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก 2512 และ 2518 (หมายเลข 6)
- หม่อมราชวงศ์ เจตจันทร์ ประวิตร (พรรคประชากรไทย) – อคีตผู้บังคับการตำรวจดับเพลิง (2516) และ ประธาน สโมสรกีฬาราชประชา (หมายเลข 7)
- พลตรี จำลอง ศรีเมือง (กลุ่มรวมพลัง) – อดีต เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (2513-2514) และ วุฒิสมาชิก ใน วุฒิสภาไทย ชุดที่ 5 (2522-2528) (หมายเลข 8)
- พันตำรวจเอก (พิเศษ) เขียน รัตนสุวรรณ (กลุ่มสยามก้าวหน้า) – ข้าราชการบำนาญตำรวจ (หมายเลข 9)
- สุนารี สันติธนารักษ์ (ผู้สมัครอิสระ) – นักธุรกิจ (หมายเลข 10)
ผลการเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[7][5] | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มรวมพลัง | พลตรี จำลอง ศรีเมือง (8) | 480,233 | 50.51 | – | |
ประชาธิปัตย์ | ชนะ รุ่งแสง (4) | 241,001 | 25.35 | – | |
ประชากรไทย | หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร (7) | 140,190 | 14.75 | – | |
กลุ่มกรุงเทพก้าวหน้า | มงคล สิมะโรจน์ (3) | 63,557 | 6.69 | – | |
มวลชน | ชิงชัย ต่อประดิษฐ์ (5) | 12,042 | 1.27 | – | |
กลุ่มนวพล | อดิศร อิสี (1) | 4,776 | 0.50 | – | |
กลุ่มปากหมาเพื่อประชาชน | สมิตร สมิทธินันท์ (2) | 3,707 | 0.39 | – | |
กลุ่มรัตนโกสินทร์ 28 | อนันต์ ภักดิ์ประไพ (6) | 2,024 | 0.21 | – | |
กลุ่มสยามก้าวหน้า | พันตำรวจเอก (พิเศษ) เขียน รัตนสุวรรณ (9) | 1,890 | 0.20 | – | |
อิสระ | สุนารี สันติธนารักษ์ (10) | 1,276 | 0.13 | – | |
ผลรวม | 950,696 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 950,696 | 96.89 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | - | - | – | ||
บัตรเสีย | 30,167 | 3.07 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 981,222 | 34.66 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 2,831,250 | 100.00 | — |
ปฏิกิริยาหลังจากการเลือกตั้ง
แก้ผลปรากฏว่า พล.ต.จำลอง ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย ถึง 480,232 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 34.65[8] จากทั้งหมด 24 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นสมัยแรก และต่อมาก็ได้มีการจัดเลี้ยงอาหารเจที่ท้องสนามหลวง เพื่อเป็นการฉลองชัยชนะด้วย[9]
สำหรับแนวทางการหาเสียงนั้น พล.ต.จำลอง นับว่าเป็นผู้สมัครที่โดดเด่นมาก ด้วยการมีภาพลักษณ์ของการเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน สวมเสื้อม่อฮ่อมเป็นเอกลักษณ์ และประหยัด สมถะในการหาเสียง โดยใช้ฝาเข่งในการทำป้ายหาเสียง และใบปลิวแนะนำตัวก็มีจำกัด ด้วยการขอร้องให้ผู้ที่ได้รับแจกช่วยอนุเคราะห์ส่งใบปลิวดังกล่าวต่อ ๆ ไปด้วย เพราะไม่มีงบประมาณในการหาเสียง ขณะที่มีผู้ประสงค์จะบริจาคเงินให้เป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงนับล้านบาท แต่ทาง พล.ต.จำลอง ได้ปฏิเสธ พร้อมกล่าวว่า ตนต้องการแค่คะแนนเสียงอย่างเดียว
ขณะเดียวกันก็ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ควบคู่ไปกันด้วย ผลปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกมากที่สุด คือ 35 ที่นั่ง จาก 54 ที่นั่ง โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้กล่าวว่า ไม่มีปัญหาใด ๆ ในการทำงานกับทางพรรคประชาธิปัตย์[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘, ฉบับพิเศษ, เล่ม 102, ตอนที่ 115, วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2528, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ เก็บถาวร 2011-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 88, ตอนที่ 144ก, วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514, หน้า 816-819
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘ เก็บถาวร 2015-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ฉบับพิเศษ, เล่ม 92, ตอนที่ 42, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘, ฉบับพิเศษ, เล่ม 102, ตอนที่ 135, วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2528, หน้า 1
- ↑ 5.0 5.1 ผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งหมด
- ↑ หน้า 103, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์ มติชน (สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2550) ISBN 974-323-889-1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้ง, ฉบับพิเศษ, เล่ม 102, ตอนที่ 173, วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528, หน้า 26
- ↑ "สถิติการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-07-01.
- ↑ มติชน, พาดหัวหน้าหนึ่ง: วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ปีที่ 8 ฉบับที่ 2812
- ↑ จำลองได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ หาเสียงง่ายๆ ได้ชัยชนะอย่างขาดลอย หน้า 195, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3