ชนะ รุ่งแสง อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตนักการเมืองสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และนักธุรกิจการธนาคารชาวไทย

ชนะ รุ่งแสง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2473 (94 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2511—ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

นายชนะเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2473 โดยเป็นทายาทตระกูลคหบดีชาวนาตำบลบางนา ซึ่งปัจจุบันคือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณถนนสุขุมวิท (ทางแยกบางนา), ถนนสุขุมวิท 103, ถนนสุขุมวิท 105, ถนนสรรพาวุธ, สองฝั่งคลองบางนา และบริเวณตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยเข้าสู่แวดวงธุรกิจด้วยการเป็นผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย โดยมีตำแหน่งสูงสุดเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่

จากนั้นในปี พ.ศ. 2511 ได้เข้าสู่แวดวงการเมือง ด้วยการลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร ในสังกัดของพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้ง รวมทั้งได้ดำรงตำแหน่งเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร อีกด้วย และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]

จากนั้นในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 นายชนะได้ลงรับสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในเขต 8 กรุงเทพมหานคร ก็ได้รับเลือกตั้งไป แต่ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 6 ตุลาคม ปีเดียวกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสนามหลวง และก็มีการรัฐประหารขึ้นในวันเดียวกัน

ต่อมา ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยได้หมายเลข 4 มีนโยบาย คือ "6 เป้าหมาย 4 แนวทางและ 10 มาตรการ" และใช้คำขวัญในการหาเสียง คือ "เลือกชนะ เพื่อชัยชนะของประชาชน"[3] แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้แก่ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้สมัครอิสระ หมายเลข 8 ไป โดยนายชนะได้ 241,002 คะแนน ขณะที่ พล.ต.จำลอง ได้ 408,233 คะแนน[4]

ปัจจุบัน นายชนะได้วางมือจากการเมืองแล้ว แต่ยังมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ และคณะทำงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศ.)[5] [6] และมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นนายกสภาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก[7] โดยมีหลานชาย คือ นายชนินทร์ รุ่งแสง เป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตบางกอกน้อย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. เมื่อนายแบงค์ อยากเป็นผู้ว่าฯ กทม.[ลิงก์เสีย]
  4. หน้า 103, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์ มติชน (สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2550) ISBN 974-323-889-1
  5. คกก.น้ำแห่งชาติ เตือนระวังน้ำล้นคันกั้นน้ำตะวันออก[ลิงก์เสีย]
  6. คณะทำงานงบประมาณ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
  7. "ประวัติและความเป็นมา วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2012-07-17.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๖๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2021-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๙, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๑, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๔๓๖๗, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒