ชนินทร์ รุ่งแสง
ชนินทร์ รุ่งแสง (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2509) รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร อดีตรองประธานสภากรุงเทพมหานคร 2 สมัย
ชนินทร์ รุ่งแสง | |
---|---|
ชนินทร์ ใน พ.ศ. 2554 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (2 ปี 159 วัน) | |
เขตเลือกตั้ง | เขตตลิ่งชัน และ เขตบางกอกน้อย (เฉพาะแขวงบ้านช่างหล่อ และ แขวงบางขุนศรี) |
คะแนนเสียง | 43,407 (49.53%) |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (3 ปี 138 วัน) | |
เขตเลือกตั้ง | เขตทวีวัฒนา เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และ เขตตลิ่งชัน |
คะแนนเสียง | 109,992 (54.27%) |
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2549 (3 ปี 356 วัน) | |
ประธานสภา | สามารถ มะลูลีม ธนา ชีรวินิจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 กันยายน พ.ศ. 2509 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2537–2545) ประชาธิปัตย์ (2545–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ภคนันท์ รุ่งแสง |
บุพการี |
|
ชื่อเล่น | แบง |
ประวัติ
แก้ชนินทร์ รุ่งแสง เกิดวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2509 ที่ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายชวลิต รุ่งแสง อดีตสมาชิกวุฒิสภา และนางสุวิมล รุ่งแสง และเป็นหลานของนายชนะ รุ่งแสง อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น 102 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านบริหารธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายชนินทร์ รุ่งแสง สมรสกับ นางภคนันท์ รุ่งแสง (สกุลเดิม "เสนาขันธ์" เป็นบุตรสาวของ พลตำรวจตรี อนันต์ เสนาขันธ์ กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนันท์ เสนาขันธ์)
การทำงาน
แก้นายชนินทร์ เริ่มเข้าสู่เวทีการเมืองท้องถิ่น ในสังกัด พรรคประชากรไทย โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายชวลิต รุ่งแสง อดีตวุฒิสมาชิกผู้เป็นบิดา ที่เป็นนักการเมืองสังกัดพรรคประชากรไทย นายชนินทร์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตบางกอกน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2537 ขณะมีอายุ 27 ปี
ต่อมานายชนินทร์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ก. ในพื้นที่เดิม ได้เป็น ส.ก. สังกัดพรรคประชากรไทย ติดต่อกัน 3 สมัย เคยเป็นประธานกรรมการเศรษฐกิจการคลัง สภา กทม. ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รองประธานสภา กทม. 2 วาระ คือปี พ.ศ. 2545-2547 และ 2547-2549 และได้รับความไว้วางใจจาก นายสมัคร สุนทรเวช อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย ขณะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ให้เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
นายชนินทร์ ทำงานในสภา กทม. นานถึง 12 ปี แม้จะอยู่พรรคประชากรไทย แต่ได้ร่วมทำงานกับ ส.ก. สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการทำงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ต่อมาเมื่อพรรคประชากรไทยลดบทบาททางการเมืองลง จึงได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ และได้ร่วมงานกับ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในตำแหน่ง โฆษกกรุงเทพมหานคร[1] และ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายชนินทร์ รุ่งแสง เข้าสู่การเมืองระดับประเทศ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 12 (บางกอกน้อย, บางพลัด, ตลิ่งชัน, ทวีวัฒนา) ร่วมทีมกับ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ และ ผศ.ดร.รัชดา ธนาดิเรก สามารถชนะเลือกตั้งยกทีม ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 จึงได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกหนึ่งสมัย
ในปี 2562 เขาลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 54 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ธุรกิจ
แก้นายชนินทร์ และภรรยา มีกิจการร้านหนังสือของครอบครัว คือ "ร้านบุ๊กมาร์ค"[2][3] (Bookmark) เป็นร้านหนังสือขนาดใหญ่ 2 ชั้น ตั้งอยู่ที่อาคาร The ThirdPlace Bangkok กลางซอยทองหล่อ ร้านหนังสือนี้บังเอิญชื่อพ้องกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" และนายชนินทร์ รุ่งแสง ยังมีตำแหน่งเป็น กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
รางวัลเกียรติยศ
แก้- ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปี พ.ศ. 2538
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ชนินทร์ รุ่งแสง OSK102 โฆษก กทม.คนใหม่
- ↑ บุ๊กมาร์ค ที่คั่นเวลา ชนินทร์ รุ่งแสง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""Bookmark" หนอนหนังสือในบ้านหลังใหญ่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๖๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒