การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 นับเป็น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งแรก โดยจัดการเลือกตั้งตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518[1] ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 10 สิงหาคม 2518
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลงทะเบียน | 253,434 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 13.86% | |||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง
แก้นับตั้งแต่มีการควบรวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น กรุงเทพมหานคร (ในการรวมครั้งแรก ใช้ชื่อว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี[2] ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นปัจจุบันในปี 2515) ในปี 2514 สมัยรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร
ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะเป็นลักษณะการแต่งตั้งจาก กระทรวงมหาดไทย เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ของประเทศ ถึงแม้ กรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายเป็น เขตปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ก็ตาม
จนกระทั่งมีการตรา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518[1] ขึ้น โดยใน มาตรา 21 ของพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็ได้มีการจัดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้น วันที่ 10 สิงหาคม 2518 โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งสภากรุงเทพมหานครไปพร้อม ๆ กันด้วย[3]
โดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งแบบเขตเดียว โดยเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 1 คน และ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อีก 4 คน เป็น 1 คณะผู้สมัคร โดยผู้สมัครใดได้คะแนนเสียงมากที่สุดจะได้ดำรงตำแหน่ง[4]
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
แก้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีคณะผู้สมัครทั้งหมด 5 คณะ ได้แก่[4]:
- พรรคประชาธิปัตย์ - นำโดย ธรรมนูญ เทียนเงิน
- พรรคพลังใหม่ - นำโดย อาทิตย์ อุไรรัตน์
- กลุ่มพัฒนากรุงเทพธนบุรี - นำโดย ชมพู อรรถจินดา
- อิสระ - นำโดย เทียมบุญ ทินนบุตรา
- อิสระ - นำโดย ไถง สุวรรณทัต
ผลการเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518[4] | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
ประชาธิปัตย์ | ธรรมนูญ เทียนเงิน | 99,247 | 39.21 | – | |
พลังใหม่ | อาทิตย์ อุไรรัตน์ | 91,678 | 36.22 | – | |
กลุ่มพัฒนากรุงเทพธนบุรี | ชมพู อรรถจินดา | 39,440 | 15.58 | – | |
อิสระ | เทียมบุญ ทินนบุตรา | 17,625 | 6.96 | – | |
อิสระ | ไถง สุวรรณทัต | 5,444 | 2.15 | – | |
ผลรวม | 253,134 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 253,134 | 99.88 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | – | ||||
บัตรเสีย | – | ||||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 253,434 | 13.35 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 1,898,518 | 100.00 | — |
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518
หัวหน้าคณะผู้สมัคร | สังกัด | คะแนนเสียง |
---|---|---|
ธรรมนูญ เทียนเงิน | พรรคประชาธิปัตย์ | 99,247 |
อาทิตย์ อุไรรัตน์ | พรรคพลังใหม่ | 91,678 |
ชมพู อรรถจินดา | กลุ่มพัฒนากรุงเทพธนบุรี | 39,440 |
เทียมบุญ ทินนบุตรา | อิสระ | 17,625 |
ไถง สุวรรณทัต | อิสระ | 5,444 |
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 1,898,518 | |
ผู้มาใช้สิทธิ | 253,434 | |
ข้อมูล: [4] |
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า นายธรรมนูญ เทียนเงิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งไป ด้วยคะแนน 99,247 คะแนน ส่วนผู้สมัครรายอื่น ๆ อาทิ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ จากพรรคพลังใหม่ ได้ 91,678 คะแนน และนายชมพู อรรถจินดา ผู้สมัครอิสระได้ 39,440 คะแนน แต่ทว่ามีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิคิดเป็นเพียงร้อยละ 13.86 เท่านั้น
แต่ทว่าหลังจากนั้น เมื่อนายธรรมนูญบริหารราชการในตำแหน่งไปได้เพียงปีเศษ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจนายกรัฐมนตรีขณะนั้น สั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2520 แล้วแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นทำหน้าที่แทน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 หรืออีก 10 ปีต่อมา จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นมาอีกครั้ง[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘ เก็บถาวร 2015-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ฉบับพิเศษ, เล่ม 92, ตอนที่ 42, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ เก็บถาวร 2011-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 88, ตอนที่ 144ก, วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514, หน้า 816-819
- ↑ "ประวัติกรุงเทพมหานคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-26. สืบค้นเมื่อ 2012-07-22.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 วิทยานิพนธ์เรื่อง "พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" โดย จุฑาทิพย์ สุขรังสรรค์ (คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- ↑ [ลิงก์เสีย] ประวัติการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จากเนชั่น แชนแนล