การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นครั้งที่ 3 สืบเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของจำลอง ศรีเมือง ที่มีมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2528 ครบวาระ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2533 โดยการเลือกตั้งกำหนดมีขึ้นในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2533

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533

← พ.ศ. 2528 7 มกราคม พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2535 →
ผู้ใช้สิทธิ60.00%
 
ผู้สมัคร จำลอง ศรีเมือง เดโช สวนานนท์ ประวิทย์ รุจิรวงศ์
พรรค พลังธรรม ประชากรไทย ประชาธิปัตย์
คะแนนเสียง 703,671 283,777 60,947
% 63.49% 25.61% 5.50%

ผู้ว่าราชการก่อนการเลือกตั้ง

จำลอง ศรีเมือง
รวมพลัง

ว่าที่ผู้ว่าราชการ

จำลอง ศรีเมือง
พลังธรรม

สถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง

แก้

สืบเนื่องจาก การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี 2528 และ พลตรี จำลอง ศรีเมือง จากกลุ่มรวมพลัง ได้รับการเลือกตั้ง บัดนี้ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง จึงเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสียใหม่ โดยกำหนดจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 7 มกราคม 2533

ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

แก้

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งหมด 16 คน ทั้งที่สังกัดพรรคการเมืองและไม่สังกัดพรรคการเมือง โดยมีผู้สมัครที่น่าสนใจ อาทิ:[1]

ผลการเลือกตั้ง

แก้
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533[3]
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
พลังธรรม พลตรี จำลอง ศรีเมือง (5) 703,671
ประชากรไทย เดโช สวนานนท์ (6) 283,777
ประชาธิปัตย์ ประวิทย์ รุจิรวงศ์ (2) 60,947
มวลชน นิยม ปุราคำ (4) 25,729
กลุ่มพิทักษ์ผลประโยชน์ประชาชน วรัญชัย โชคชนะ (1) 13,143
กลุ่มกระจายแสงประชาธิปไตย ดำริห์ รินวงษ์ (3) 7,921
อิสระ ร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ (9) 5,280
กลุ่มผู้ใช้ถนน สมิตร สมิทธินันท์ (7) 3,721
คณะเทอดไทยเพื่อกรุงเทพมหานคร พันตำรวจตรี อนันต์ เสนาขันธ์ (16) 1,411
กลุ่มขบวนการรัฐบุรุษ ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชร (8) 843
กลุ่มศูนย์ส่งเสริมคนกล้ากรุงเทพมหานคร นคร วารณา (15) 483
อิสระ ประมูล แสนสุภา (12) 361
ชมรมวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์สุข ไอศูรย์ หมั่นรักเรียน (14) 299
อิสระ เสวก จามรจันทร์ (11) 251
กลุ่มหาบเร่แผงลอยกรุงเทพมหานคร ประสาน ภู่ปั้น (10) 248
อิสระ ฉัตรชัย จรุงเกียรติ (13) 189
ผลรวม 1,108,274 100.00
บัตรดี 1,108,274
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
บัตรเสีย
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 60.00
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 100.00
พลังธรรม รักษาที่นั่ง

ปฏิกิริยาหลังจากการเลือกตั้ง

แก้

ผลการออก ปรากฏว่า พล.ต.จำลอง ได้รับเลือกอีกครั้ง ด้วยคะแนน 703,671 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 35.85[4] ถือว่ามากกว่าการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว จากจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ 60 จากทั้งหมด 36 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นสมัยที่สอง

ขณะที่การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ที่มีขึ้นพร้อมกัน ก็ปรากฏว่าพรรคพลังธรรมได้รับเลือกมากที่สุดถึง 50 ที่นั่ง จากทั้งหมด 57 ที่นั่ง นับว่ามากกว่าสองสมัยเป็นระยะเวลา 6 ปี[5] [6]

อ้างอิง

แก้
  1. "ผู้สมัครรับเลือกตั้ง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
  2. ผู้สมัครลงรับเลือกตั้งพรรคมวลชน
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ฉบับพิเศษ, เล่ม 107, ตอนที่ 14, วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533, หน้า 1
  4. สถิติการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จาก เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนผู้จัดการออนไลน์
  5. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, มีนาคม 2555: หน้า 214
  6. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, มีนาคม 2555: หน้า 222

บรรณานุกรม

แก้
  • เกษตรศิริ, ชาญวิทย์ (March 2012). กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2545. โพสต์บุ๊กส์. ISBN 974-228-070-3.